คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1164

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัท: ผู้จัดการ vs. กรรมการที่ไม่ใช่ผู้จัดการในคดีล้มละลาย
กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้จัดการ ไม่มีหน้าที่จัดธุรกิจของบริษัท คงเป็นแต่ผู้แทนของบริษัทในฐานะที่บริษัทเป็นนิติบุคคล และมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการประชุมกรรมการแก่ผู้จัดการเท่านั้น ปรากฏว่าการจัดธุรกิจของบริษัทซึ่งอยู่ในความรับผิดของผู้จัดการ ได้ทำให้ต้องเสียหาย ดังนี้ หากกระทำนั้นมิได้อยู่ในข้อหนึ่งข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1168 ซึ่งกรรมการของบริษัทจะต้องรับผิดชอบร่วมกันแล้ว กรรมการที่ไม่ใช่ผู้จัดการก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การที่กรรมการบริษัทละเลยไม่เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบว่าบริษัทขาดทุนตลอดมาทุกปี และเมื่อบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุน กรรมการก็ไม่เคยเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการขาดทุนนั้น เป็นข้อที่น่าตำหนิ แต่ก็มิใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้บริษัทเสียหาย กรรมการบริษัทจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกู้ยืมเงินบริษัท: การสัตยาบันโดยปริยายจากประโยชน์ที่ได้รับ
ผู้จัดการของบริษัทจะมีอำนาจที่จะกู้ยืมเงินได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากการยืมเงินรายนี้โดยตรง ก็ย่อมถือได้ว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันแก่การกู้ยืมเงินรายนี้โดยปริยายแล้ว บริษัทต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกู้ยืมเงินของบริษัท: การสัตยาบันโดยปริยายและการรับผิด
ผู้จัดการของบริษัทจะมีอำนาจที่จะกู้ยืมเงินได้โดยสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทได้รับประโยชน์จากการยืมเงินรายนี้โดยตรงก็ย่อมถือได้ว่าบริษัทได้ให้สัตยาบันแก่การกู้ยืมเงินรายนี้โดยปริยายแล้วบริษัทต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัท: ผู้จัดการต้องได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการก่อนจึงจะฟ้องแทนบริษัทได้
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า 'คณะกรรมการมีอำนาจตั้งตัวแทนกำหนดอำนาจตัวแทนได้ตามที่เห็นสมควรและให้คณะกรรมการเป็นโจทก์จำเลยในคดีแพ่งหรืออาญาโดยกรรมการ 2 นายมีอำนาจลงนามและประทับตราและให้คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการของบริษัทโดยความควบคุมของที่ประชุมใหญ่' ดังนี้เมื่อคณะกรรมการยังไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการฟ้องคดีผู้จัดการจะอ้างนามบริษัทฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนบริษัท: คณะกรรมการต้องมอบอำนาจก่อน
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "คณะกรรมการมีอำนาจตั้งตัวแทน กำหนดอำนาจตัวแทนได้ตามที่เห็นสมควรและให้คณะกรรมการเป็นโจทก์จำเลยในคดีแพ่งหรืออาญา โดยกรรมการ 2 นายมีอำนาจลงนามและประทับตราและให้คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการของบริษัท โดยความควบคุมของที่ประชุมใหญ่" ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการยังไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการฟ้องคดีผู้จัดการจะอ้างนามบริษัทฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการบริษัทและการลงนามในเอกสารตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริสัทชข้อ 42 ไห้อำนาดกัมการตั้งกัมการคนเดียวเปนผู้จัดการได้ แม้ข้อ 44 จะมีความว่าเอกสารที่ทำไนนามของบริสัทต้องลงชื่อกัมการสองคนก็ตาม ผู้จัดการก็ลงชื่อไนเอกสารคนเดียวได้ตาม ข้อ 42 ส่วนข้อ 44 ไช้ได้ฉเพาะกรนีที่กัมการเปนผู้ทำ
การตั้งผู้จัดการจะเปนการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงสาลก็ไม่ต้องวินิฉัย เพราะนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการและข้อยกเว้นลายมือชื่อกรรมการในเอกสารบริษัท
ข้อบังคับของบริษัท ข้อ 42 ให้อำนาจกรรมการตั้งกรรมการคนเดียวเป็นผู้จัดการได้ แม้ข้อ 44 จะมีความว่าเอกสารที่ทำในนามของบริษัทต้องลงชื่อกรรมการสองคนก็ตาม ผู้จัดการก็ลงชื่อในเอกสารคนเดียวได้ตามข้อ 42 ส่วนข้อ44 ใช้ได้เฉพาะกรณีที่กรรมการเป็นผู้ทำ การตั้งผู้จัดการจะเป็นการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงศาลก็ไม่ต้องวินิจฉัย เพราะนอกประเด็น
of 2