คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1237

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3192/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งเลิกบริษัท เหตุประกอบกิจการขาดทุนต่อเนื่อง และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
บริษัทจำกัดถูกจัดการโดยกรรมการของบริษัท มีผู้ถือหุ้นของบริษัทครอบงำการจัดการ ส่วนเจ้าหนี้ของบริษัทจะใช้สิทธิเรียกร้องได้เฉพาะกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่กรณีการเลิกบริษัทจำกัดหากมีเหตุให้เลิกบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 หรือมาตรา 1237 ไม่มีบทมาตราใดในหมวด 4 บริษัทจำกัด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เลิกบริษัทได้ คงมีแต่กรณีที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลเนื่องจากบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนให้กลับคืนสู่ทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1273/4 แม้ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 26 ถูกผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงให้ลงทุนและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 26 ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อาจจะยื่นคำร้องขอให้เลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 26 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 247 (ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้องคดีนี้) ส่วนผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้
พยานหลักฐานของผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 ฟังได้ว่า บริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการไปมีแต่จะขาดทุนอย่างเดียวและหยุดกิจการเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ตามที่ผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 กล่าวอ้าง อันเป็นเหตุในการที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1237 (2) ที่บัญญัติว่า ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำการภายในปีหนึ่งนับแต่วันจดทะเบียน หรือหยุดทำการถึงปีหนึ่งเต็ม และ (3) ที่บัญญัติว่า ถ้าการค้าของบริษัททำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงชอบแล้ว
ส่วนการตั้งผู้ชำระบัญชีนั้น ส่วนหนึ่งที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องหยุดประกอบกิจการเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้ร้องทั้งยี่สิบแปดกับผู้คัดค้านทั้งสาม หากตั้งกรรมการของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมจะเกิดปัญหาและอุปสรรคแก่การชำระบัญชี ประกอบกับ ส. หนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ถูกดำเนินคดีอาญาและถูกออกหมายจับ การที่จะตั้งกรรมการของผู้คัดค้านที่ 1 และ ที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีอาจจะเกิดความไม่โปร่งใสและไม่เป็นกลางได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคนกลางในการเข้าบริหารจัดการทรัพย์สินของบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัดจากเหตุผลขาดทุนและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1237 นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอ โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1โดยทำเป็นคำฟ้องได้ และตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 เนื่องจากบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2531 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 21,273,670.10 บาท และไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปีและไม่มีทางหวังจะฟื้นตัวได้หรือไม่ ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่า เป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้น เป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้น ไม่ใช่เป็นประเด็นโดยตรง ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ร่วมกับฝ่ายจำเลย กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีเศษนั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า บริษัทจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท การที่บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง 26 ล้านบาทเศษ น่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้ และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตลอดเวลานั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่ 1 แล้ว กลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับฟื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1
ป.พ.พ.มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่ เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ และถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 1251 นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชี ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา 1251 ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใด ๆ ได้
กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกัน ไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 วรรคสอง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัดเนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องและไม่มีทางฟื้นตัว รวมถึงการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1เนื่องจากบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตั้งแต่ปี2528จนถึงปี2531รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ21,273,670.10บาทและไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่1ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า1ปีและไม่มีทางหวังจะพื้นตัวได้หรือไม่ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่าเป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่1ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้นเป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้นไม่ใช้เป็นประเด็นโดยตรงดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่1ร่วมกับฝ่ายจำเลยกิจการของบริษัทจำเลยที่1คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา4ปีเศษนั้นจึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น จำเลยที่1ที่3ที่4ที่6และที่7ฎีกาว่าบริษัทจำเลยที่1มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า1,000ล้านบาทการที่บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง26ล้านบาทเศษน่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถแต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่1แล้วยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่1ขาดทุนตอลดเวลานั้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่1แล้วกลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับพื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา1251ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใดๆได้ กรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฎว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัด ขาดทุนต่อเนื่อง และการตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1237นั้นมิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอโจทก์ทั้งเจ็ดจึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1โดยทำเป็นคำฟ้องได้และตามคำฟ้องจำเลยที่2ถึงที่4และที่6เป็นกรรมการจำเลยที่2ถึงที่7ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่1มากกว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้บริหารบริษัทจำเลยที่1ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะฟื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251มิได้มุ่งหมายให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้นๆและหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆและข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา1251คือไม่มีผู้ชำระบัญชีผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้มิฉะนั้นบทบัญญัติมาตรา1251ย่อมไร้ผลเมื่อกรรมการของบริษัทจำเลยที่1ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่1กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกบริษัทจำกัด: เหตุขาดทุนต่อเนื่องและไม่มีทางฟื้นตัว, การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
การขอให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 นั้น มิได้กำหนดไว้ให้ต้องทำเป็นคำร้องขอ โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 โดยทำเป็นคำฟ้องได้ และตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 7 ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 มากกว่าโจทก์ได้บริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนจนไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดว่าเหตุแห่งการขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 เนื่องจากบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2531 รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ21,273,670.10 บาท และไม่มีทางหวังว่าจะพื้นตัวได้ประเด็นในคดีจึงมีว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี และไม่มีทางหวังจะพื้นตัวได้หรือไม่ ส่วนที่อ้างมาในคำฟ้องตอนแรกว่า เป็นเพราะกรรมการฝ่ายจำเลยบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 ปราศจากความระมัดระวังไม่รอบคอบและไม่สุจริตนั้น เป็นเพียงเหตุผลประกอบเท่านั้น ไม่ใช้เป็นประเด็นโดยตรง ดังนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า น่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ร่วมกับฝ่ายจำเลย กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 คงไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จึงทำให้กิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปีเศษนั้น จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้องและนอกประเด็น จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า บริษัทจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทการที่บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนอยู่เป็นเงินเพียง 26 ล้านบาทเศษน่าจะแก้ไขได้หากได้รับความร่วมมือจากกรรมการฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ แต่กรรมการและผู้ถือหุ้นฝ่ายโจทก์นอกจากจะไม่ยอมใช้ความรู้ความสามารถเข้าช่วยเหลือบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพยายามขัดขวางมิให้ฝ่ายจำเลยแก้ไขปัญหาได้ และกลับปล่อยให้บริษัทจำเลยที่ 1 ขาดทุนตอลดเวลานั้น ฎีกาของจำเลยดังกล่าวนอกจากจะไม่ได้เสนอหนทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาขาดทุนของจำเลยที่ 1แล้ว กลับเป็นการแสดงให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะกลับพื้นตัวให้มีกำไรหรือระงับการขาดทุนต่อไปได้ดังนี้จึงสมควรให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ที่เป็นกรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเสมอไปไม่ เพราะมีข้อยกเว้นไว้ว่าถ้าหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ชำระบัญชีของบริษัทก็จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับนั้น ๆ และถ้าหากกรรมการของบริษัทไม่อาจเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ และข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ กรณีย่อมต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 1251 นี้คือไม่มีผู้ชำระบัญชี ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลผู้ชำระบัญชีได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติของมาตรา 1251ย่อมไร้ผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีใด ๆ ได้ กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยมีเหตุไม่ลงรอยกัน ไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฎว่ามีข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและผู้จัดการมรดกของผู้ถือหุ้นจึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1251 วรรคสอง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทจำกัด: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลประกอบการค้า, การถือหุ้น, และผลขาดทุน
การที่บริษัทจำกัดทำผิดวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็ไม่ใช่เหตุที่จะปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1237 ที่จะให้ศาลสั่งเลิกบริษัทได้ และแม้บริษัทจะเริ่มประกอบการค้าเกิน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทก็ตามแต่มาตรา 1237 มิได้เป็นบทบังคับให้ศาลสั่งเลิกบริษัท เพียงแต่บัญยัติให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าสมควรสั่งให้เลิกบริษัทหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นชำระให้บริษัทจำเลยด้วยเงินสดและเช็คส่วนใหญ่ โจทก์ที่ 8ซึ่งเป็นกรรมการรักษาเงินเป็นคนเก็บรักษาและไม่ยอมมอบให้บริษัทจำเลยดังนั้น ที่บริษัทจำเลยไม่เริ่มทำการค้าภายใน 1 ปี อาจเป็นเพราะบริษัทจำเลยไม่มีทุนดำเนินการค้า จึงยังไม่สมควรที่จะสั่งเลิกบริษัทจำเลย
แม้บริษัทจำเลยจะขาดทุนมาทุกปะ แต่เมื่อรวมยอดขาดทุนแล้วก็เพียงร้อยละ 12 ขแงจำนวนทุนทั้งหมด และเหตุที่ขาดทุนเป็นเพราะโจทก์ที่ 8 กับบริษัทจำเลยมีข้อพิพาทฟ้องร้องกัน และเงินค่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ที่โจทก์ที่ 8ซึ่งไม่ให้ความร่วมมือโดยกักเงินค่าหุ้นไว้ เมื่อบริษัทจำเลยเรียกให้ชำระค่าหุ้นฝ่ายโจทก์ก็ไม่ยอมชำระ บริษัทจำเลยจึงไม่มีทุนดำเนินการค้าได้เต็มที่ อย่างไรก็ดีบริษัทจำเลยได้ซื้อหุ้นของบริษัทอื่นเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแสดงว่าบริษัทจำเลยยังมุ่งประกอบการค้าเพื่อให้ได้ผลกำไรอยู่ และมีลุ่ทางจะทำกำไรได้จึงย่อมไม่สมควรจะเลิกบริษัทจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเลิกบริษัท: นิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ของตนเอง สัญญาประนีประนอมไม่ผูกพันบริษัท
โจทก์ที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ 2กับ ส. และพวกทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันจะก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่อีกบริษัทหนึ่งเพื่อประกอบกิจการการเดินรถแทนบริษัทโจทก์ที่ 2ต่อมา ส. กับพวกได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่เป็นบริษัทจำเลยโดยโจทก์มิได้ร่วมก่อตั้งด้วย ดังนี้ บริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายมีสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่างหากจากผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท และมิได้เป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเพื่อขอให้เลิกบริษัทโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญาฉบับนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นบริษัทที่ไม่ได้ออกใบหุ้น การโอนทำได้โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และชื่อในทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน
บริษัทจำกัดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งไว้แล้วแต่ไม่ได้ออกใบหุ้นเลยนั้นการโอนขายหุ้นให้แก่กันในระหว่างผู้ถือหุ้นจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นบริษัทจำกัดที่ไม่ได้ออกใบหุ้น: สิทธิผู้ถือหุ้นและการมีอำนาจฟ้อง
บริษัทจำกัดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งไว้แล้ว แต่ไม่ได้ออกใบหุ้นเลยนั้น การโอนขายหุ้นให้แก่กันในระหว่างผู้ถือหุ้นจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทเนื่องจากจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ครบ และการฟ้องคดีโดยกรรมการในฐานะผู้ถือหุ้น
ผู้จัดการบริษัทในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการด้วยกัน ขอให้เลิกบริษัทได้ไม่จำเป็นต้องให้กรรมการของบริษัททั้งหมดมอบอำนาจก่อนเพราะไม่ใช่ฟ้องในฐานะตัวแทนของบริษัท
เมื่อผู้ถือหุ้นตายลง การโอนหุ้นเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทจัดทำ
ศาลพิพากษาให้เลิกบริษัทโดยชี้ขาดว่า ผู้ถือหุ้นไม่ครบจำนวนและบริษัททำไปมีแต่ขาดทุนแม้จำเลยจะสืบพยานได้ว่าบริษัทอาจมีหวังฟื้นตัวได้ก็ไม่อาจชนะคดีได้
of 2