คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิคม ชัยอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640-654/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าภาคหลวงไม้เมื่อไม้สูญหาย: สิทธิเรียกเก็บและคืนเงินมัดจำ
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 14 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2494 ที่บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ ให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์จะเรียกเก็บค่าภาคหลวงตามมาตรา 14(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีไม้อยู่ในเวลาที่เรียกเก็บค่าภาคหลวงมิฉะนั้นเมื่อผู้รับอนุญาตไม่ชำระ ก็ไม่มีไม้ตกเป็นของแผ่นดิน
โจทก์มีหนังสือเรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ซึ่งมีรอยตราค่าภาคหลวงสูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่จึงเป็นการเรียกเก็บค่าภาคหลวงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะเอาเงินมัดจำการตรวจตีตราค่าภาคหลวงจำนวน 30,000บาท นั้นไปหักชำระเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าภาคหลวงไม่ได้ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าภาคหลวงที่โจทก์ยังอ้างว่ายังขาดอยู่นั้นอีกด้วย โจทก์ชอบที่จะคืนเงิน 30,000 บาท ให้แก่จำเลยแต่ละรายตามส่วนการทำไม้ของจำเลย
โจทก์เรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ที่มีตราค่าภาคหลวงทั้ง 1,021 ท่อนนั้นได้สูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่ จึงไม่มีไม้ที่ทำออกซึ่งจะต้องเสียค่าภาคหลวง โจทก์จึงเอาเงิน 30,000 บาทมาหักกลบลบกับค่าภาคหลวง ซึ่งจำเลยจะต้องชำระตามที่โจทก์อ้างหาได้ไม่ จำเลยแต่ละรายมีสิทธิที่จะได้รับค่าภาคหลวงล่วงหน้าตามใบอนุญาตของตนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640-654/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บค่าภาคหลวงไม้หลังไม้สูญหาย ไม่มีสิทธิเรียกเก็บและหักเงินมัดจำ
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 14 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2494 ที่บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้. ให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดินนั้น. แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์จะเรียกเก็บค่าภาคหลวงตามมาตรา 14(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีไม้อยู่ในเวลาที่เรียกเก็บค่าภาคหลวง.มิฉะนั้นเมื่อผู้รับอนุญาตไม่ชำระ ก็ไม่มีไม้ตกเป็นของแผ่นดิน.
โจทก์มีหนังสือเรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ซึ่งมีรอยตราค่าภาคหลวงสูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่.จึงเป็นการเรียกเก็บค่าภาคหลวงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. ซึ่งโจทก์จะเอาเงินมัดจำการตรวจตีตราค่าภาคหลวงจำนวน 30,000บาท นั้นไปหักชำระเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าภาคหลวงไม่ได้.ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าภาคหลวงที่โจทก์ยังอ้างว่ายังขาดอยู่นั้นอีกด้วย. โจทก์ชอบที่จะคืนเงิน30,000 บาท ให้แก่จำเลยแต่ละรายตามส่วนการทำไม้ของจำเลย.
โจทก์เรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ที่มีตราค่าภาคหลวงทั้ง 1,021 ท่อนนั้นได้สูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่. จึงไม่มีไม้ที่ทำออกซึ่งจะต้องเสียค่าภาคหลวง. โจทก์จึงเอาเงิน 30,000 บาทมาหักกลบลบกับค่าภาคหลวง ซึ่งจำเลยจะต้องชำระตามที่โจทก์อ้างหาได้ไม่. จำเลยแต่ละรายมีสิทธิที่จะได้รับค่าภาคหลวงล่วงหน้าตามใบอนุญาตของตนคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640-654/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าภาคหลวงไม้: การเรียกเก็บหลังไม้สูญหายเป็นโมฆะ และสิทธิในการรับเงินค่าภาคหลวงล่วงหน้าคืน
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 14 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2494 ที่บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์จะเรียกเก็บค่าภาคหลวงตามมาตรา 14(2) ได้ก็ต่อเมื่อมีไม้อยู่ในเวลาที่เรียกเก็บค่าภาคหลวงมิฉะนั้นเมื่อผู้รับอนุญาตไม่ชำระ ก็ไม่มีไม้ตกเป็นของแผ่นดิน
โจทก์มีหนังสือเรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ซึ่งมีรอยตราค่าภาคหลวงสูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่จึงเป็นการเรียกเก็บค่าภาคหลวงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะเอาเงินมัดจำการตรวจตีตราค่าภาคหลวงจำนวน 30,000บาท นั้นไปหักชำระเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าภาคหลวงไม่ได้ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าภาคหลวงที่โจทก์ยังอ้างว่ายังขาดอยู่นั้นอีกด้วย โจทก์ชอบที่จะคืนเงิน 30,000 บาท ให้แก่จำเลยแต่ละรายตามส่วนการทำไม้ของจำเลย
โจทก์เรียกเก็บค่าภาคหลวงจากจำเลยภายหลังที่ไม้ที่มีตราค่าภาคหลวงทั้ง 1,021 ท่อนนั้นได้สูญหายไปหมด ไม่มีไม้เหลืออยู่จึงไม่มีไม้ที่ทำออกซึ่งจะต้องเสียค่าภาคหลวงโจทก์จึงเอาเงิน 30,000 บาทมาหักกลบลบกับค่าภาคหลวง ซึ่งจำเลยจะต้องชำระตามที่โจทก์อ้างหาได้ไม่ จำเลยแต่ละรายมีสิทธิที่จะได้รับค่าภาคหลวงล่วงหน้าตามใบอนุญาตของตนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313-1319/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นอำนาจของนายอำเภอ ไม่ใช่เทศบาล
อำนาจที่จะดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันหรือนัยหนึ่งที่สาธารณประโยชน์ เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม อำนาจฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่นายอำเภอ
ความในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้เป็นอำนาจของอธิบดีที่จะดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกัน และให้รัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการใดเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเช่น ที่ชายตลิ่งซึ่งราษฎรทั่วไปใช้จอดเรือขึ้นสู่ถนนได้มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแล้วคือให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ และต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมายให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ภายในเขตเทศบาลจึงหาได้ครอบคลุมไปถึงที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามที่เป็นอำนาจหน้าที่ดูแลจัดการของนายอำเภออยู่แล้วไม่
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ให้การต่อสู้ไว้แต่แรก ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) (อ้างฎีกาที่ 153/2498, 1277/2503, 227-229/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313-1319/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นอำนาจของนายอำเภอ เทศบาลไม่มีอำนาจฟ้อง
อำนาจที่จะดูแลรักษาทีสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันหรือนัยหนึ่งที่สาธารณประโยชน์ เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรค 3 อำนาจฟ้องคดีจึงตกอยุ่แก่นายอำเภอ
ความในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 หมายถึงที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้เป็นอำนาจของอธิบดีที่จะดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกัน และให้รัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้ทะบวงการใดเป็นฝู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้ แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เช่น ที่ชายตลิ่งซึ่งราษฎรทั่วไปใช้จอดเรือขึ้นสู่ถนน ได้มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122 บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว คือ ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ และต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรค 3 จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมายให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ภายในเขตเทศบาล จึงหาได้เคลือบคลุมไปถึงที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามที่เป็นอำนาจหน้าที่ดูแลจัดการของนายอำเภออยู่แล้วไม่
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ให้การต่อสู้ไว้แต่แรก ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) (อ้างฎีกาที่ 153/2498, 1277/2503, 227-229/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุกรุก: ศาลฎีกายกประเด็นนอกเหนือการต่อสู้ในชั้นต้น-ให้สืบเพิ่มเติม
โจทก์ไม่สามารถยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นนำสืบในข้อนี้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอ้างอิงปัญหานี้ขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม, 240(3)ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์ไม่สามารถยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ และศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นนำสืบในข้อนี้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอ้างอิงปัญหานี้ขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรค 2
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 3, 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาทเลินเล่อ ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูง ขับผิดทางจราจร จนเป็นเหตุให้ชนรถคันอื่นที่เขาอยู่ในเส้นทางแล้ว เช่นนี้ ฟังได้ว่า เหตุทั้งนี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และการรับผิดร่วมของบริษัท
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูง ขับผิดทางจราจร จนเป็นเหตุให้ชนรถคันอื่นที่เขาอยู่ในเส้นทางแล้ว เช่นนี้ ฟังได้ว่า เหตุทั้งนี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างและการหักกลบลบหนี้จากสัญญาจ้างทำของ
ศาลชั้นต้นกะประเด็นไว้ โจทก์จำเลยมิได้คัดค้านว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด ไม่ถูกต้องแต่ประการใด จึงต้องเป็นไปตามนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่บัญญัติว่าเมื่อมีการชำระหนี้กัน ผู้ชำระหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับโดยเด็ดขาดว่า เมื่อชำระหนี้กันแล้วจะต้องออกใบเสร็จให้ทุกกรณีจึงจะรับฟังเป็นหลักฐานได้เสมอไปไม่
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ได้ชำระค่าวัสดุที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้แก่โจทก์โดยรวมอยู่กับจำนวนเงินที่ได้จ่ายให้โจทก์รับไปแล้วนั้น และจำเลยได้จ่ายเงินเกินกว่าค่าวัสดุที่โจทก์เรียกร้อง ดังนี้ จึงเป็นประเด็นที่ศาลจะพิพากษาคิดหักเงินให้จำเลยได้
of 17