คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองคำ จารุเหติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 349 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมิได้ระบุว่าลงแทนผู้อื่น ย่อมเป็นผู้รับผิดตามตั๋วเงินนั้น
เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อของตนโดยมิได้เขียนแถลงว่า กระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยจะอ้างว่าตนกระทำแทนบุคคลอื่นและขอนำพยานเข้าสืบประกอบข้ออ้างของตนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ: การใช้กำลังตอบโต้การถูกทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย
จำเลยเพียงไปต่อว่าผู้ตายด้วยเรื่องที่ผู้ตายกระทำลวนลามภริยาของจำเลย ผู้ตายกลับใช้มือค้ำคอและบีบคอจำเลยล้มลงจำเลยจึงหยิบมีดโต้ฟันส่ง ๆ ไปหลายทีถูกผู้ตายเกิดบาดแผล 9 แผลถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเกินสมควรแก่เหตุ กรณีถูกทำร้ายก่อน และใช้กำลังเกินความจำเป็น
จำเลยเพียงไปต่อว่าผู้ตายด้วยเรื่องที่ผู้ตายกระทำลวนลามภริยาของจำเลย ผู้ตายกลับใช้มือค้ำคอและบีบคอจำเลยล้มลงจำเลยจึงหยิบมีดโต้ฟันส่ง ๆ ไปหลายทีถูกผู้ตายเกิดบาดแผล 9 แผลถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดูหมิ่นซึ่งหน้าต้องรู้ว่าผู้ถูกดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้น การด่าโดยไม่รู้ว่าผู้เสียหายอยู่ใกล้เคียงไม่เป็นความผิด
ดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ถูกดูหมิ่นไม่จำต้องอยู่ต่อหน้าผู้กล่าวดูหมิ่น ถ้าผู้กล่าวคำดูหมิ่นรู้อยู่ว่าผู้ที่ตนจะด่าดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้นพอที่จะได้ยินคำด่าดูหมิ่นได้ ก็ย่อมเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตาม มาตรา 393 ได้
จำเลยด่าดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งอยู่ในสวนห่างออกไป 10 วาโดยจำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายแอบอยู่ในสวน เช่นนี้ ย่อมยังไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดูหมิ่นซึ่งหน้าต้องรู้ว่าผู้ถูกดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้น การด่าโดยไม่รู้ว่ามีคนอยู่ฟัง ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
ดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ถูกดูหมิ่นไม่จำต้องอยู่ต่อหน้าผู้กล่าวดูหมิ่น ถ้าผู้กล่าวคำดูหมิ่นรู้อยู่ว่าผู้ที่ตนจะด่าดูหมิ่นอยู่ในบริเวณนั้นพอที่จะได้ยินคำด่าดูหมิ่นได้ ก็ย่อมเป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าตาม มาตรา 393 ได้
จำเลยด่าดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งอยู่ในสวนห่างออกไป 10 วา โดยจำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายแอบอยู่ในสวน เช่นนี้ ย่อมยังไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กระบือและเกวียน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูป
จำเลยมีความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองและข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนชักลากไม้จากป่านำไปเก็บไว้ที่บ้าน ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด จึงเป็นของต้องริบ (เทียบฎีกาที่ 784/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กระบือและเกวียน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูป
จำเลยมีความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนชักลากไม้จากป่านำไปเก็บไว้ที่บ้าน ดังนี้ถือว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียน เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดจึงเป็นของต้องริบ
(เทียบฎีกาที่ 784/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมัสยิด: การครอบครองปรปักษ์ต้องนับจากวันที่เป็นนิติบุคคล
มัสยิดอาจได้กรรมสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นนิติบุคคลซึ่งหมายความว่าให้เป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป แต่ปรากฏว่ามัสยิดจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2499 การที่จะถือว่าอ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะการให้ต้องมีผู้รับ แม้จะฟังว่าจำเลยร่วมครอบครองปรปักษ์ต่อมาหลังจากการยกให้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องนับการครอบครองแต่วันเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป แต่ถ้านับตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2499จนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง คือ วันที่ 15 กรกฎาคม 2509 แล้ว ก็เห็นได้ว่ายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 138

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมัสยิด: การครอบครองปรปักษ์ต้องนับจากวันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
มัสยิดอาจได้กรรมสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นนิติบุคคล ซึ่งหมายความว่า ให้เป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป แต่ปรากฏว่ามัสยิดจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2499 การที่จะถือว่า อ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะการให้ต้องมีผู้รับ แม้จะฟังว่าจำเลยร่วมครอบครองปรปักษ์ต่อมาหลังจากการยกให้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องนับการครอบครองแต่วันเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป แต่ถ้านับตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2499 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง คือ วันที่ 15 กรกฎาคม 2509 แล้ว ก็เห็นได้ว่ายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา, การอยู่โดยละเมิด, และความรับผิดของบุคคลที่ไม่ใช่คู่สัญญา
ตามหนังสือสัญญาเช่าตึกพิพาท ปรากฏว่าผู้เช่าคือจำเลยที่ 1 เท่านั้น และค่าเช่าเพียงเดือนละ 60 บาท โจทก์ผู้ให้เช่าจะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าด้วย และค่าเช่าเดือนละ 445.42 บาท ดังนี้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ครบกำหนดสัญญาเช่าตึกและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผู้เช่าไม่ส่งมอบตึกและจำเลยที่ 2 ทำการค้าอยู่ในตึกพิพาทต่อมาการอยู่ต่อมาของจำเลยที่ 2 เป็นการอยู่โดยละเมิดจริงดังฟ้อง แม้โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าด้วยแต่ศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว ดังนี้ ก็ต้องพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ด้วย และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหาย กับร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
of 35