คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ลออง จุลกะเศียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินทางอาญาและการกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: เกณฑ์การพิพากษาและการนับโทษ
จำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 3 ครั้ง แต่ปรากฏว่าสองคดีก่อน จำเลยพ้นโทษไปก่อนวันใช้พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ จำเลยจึงได้รับการล้างมลทินหมดไปแล้วตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ พ.ศ. 2499 จะถือว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งไม่ได้ ดังนี้ ศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาให้กักกันจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินและผลต่อการเพิ่มโทษกักกัน จำเลยเคยต้องโทษแต่ได้รับการล้างมลทินบางส่วน จึงไม่ครบเกณฑ์กักกัน
จำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 3 ครั้งแต่ปรากฏว่าสองคดีก่อน จำเลยพ้นโทษไปก่อนวันใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ จำเลยจึงได้รับการล้างมลทินหมดไปแล้วตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯพ.ศ.2499 จะถือว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งไม่ได้ ดังนี้ ศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาให้กักกันจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดชอบค่าเสียหายจากการละเมิดของลูกจ้าง ซึ่งรวมถึงค่าเสียโอกาสในการประกอบธุรกิจ
รถยนต์บรรทุกของโจทก์ให้เช่าไม่ได้ เพราะการละเมิดของลูกจ้างจำเลยทำให้โจทก์ขาดผลกำไรจากการให้เช่าที่เคยได้รับ อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากผลแห่งการที่ลูกจ้างจำเลยได้ละเมิดแก่โจทก์ ไม่ใช่ค่าเสียหายพิเศษ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดต่อค่าเสียหายจากการละเมิดของลูกจ้าง รวมถึงค่าเสียโอกาสในการทำกำไรจากการให้เช่า
รถยนต์บรรทุกของโจทก์ให้เช่าไม่ได้ เพราะการละเมิดของลูกจ้างจำเลยทำให้โจทก์ขาดผลกำไรจากการให้เช่าที่เคยได้รับ อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากผลแห่งการที่ลูกจ้างจำเลยได้ละเมิดแก่โจทก์ ไม่ใช่ค่าเสียหายพิเศษจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดอาญา แม้ผู้กระทำผิดไม่รู้ตัว การช่วยเหลือต้องเข้าข่ายสนับสนุน
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2, 3 ไม่ได้ทำร้ายและไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการทำร้ายมาก่อน แต่ได้จ้องปืนมาทางพยานโจทก์พูดห้ามไม่ให้คนอื่นเกี่ยวข้องในการที่จำเลยที่ 1, 4 ทำร้ายผู้ตายจึงเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1, 4 แม้จำเลยที่ 1, 4 จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม จำเลยที่ 2, 3ก็เป็นผู้สนับสนุน แต่ไม่ใช่ตัวการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น แม้ไม่ได้ร่วมลงมือหรือรู้เห็นโดยตรง
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2, 3 ไม่ได้ทำร้ายและไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการทำร้ายมาก่อน แต่ได้จ้องปืนมาทางพยานโจทก์พูดห้ามไม่ให้คนอื่นเกี่ยวข้องในการที่จำเลยที่ 1,4 ทำร้ายผู้ตาย จึงเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1,4 แม้จำเลยที่ 1,4 จะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือให้ความสะดวกนั้นก็ตามจำเลยที่ 2,3 ก็เป็นผู้สนับสนุน แต่ไม่ใช่ตัวการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองผู้เช่าในที่ดินควบคุมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยได้เช่าที่พิพาทซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ฉะนั้นที่พิพาทจึงเป็น 'ที่ดินควบคุม' ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยและบริวาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองผู้เช่าตามกฎหมายควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยได้เช่าที่พิพาทซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ พ.ศ.2502 ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเช่าในภาวะคับขันซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ฉะนั้นที่พิพาทจึงเป็น "ที่ดินควบคุม" ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยและบริวาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1395/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่อค้า vs. ที่อยู่อาศัย, การงดสืบพยาน, และคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กำหนด 15 วันตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 1 ของมาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น หมายความเฉพาะในชั้นยื่นฟ้องและขอหมายเรียกให้จำเลยแก้คดีเท่านั้นจะนำมาใช้ในชั้นฎีกาไม่ได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บัญญัติว่า'เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ฯลฯ' นั้น ย่อมหมายความรวมถึงการที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย เพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
คำว่า 'เคหะ' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ฯลฯ แต่ห้องพิพาทจำเลยเช่าเพื่อประกอบการค้าจึงมิใช่เคหะตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 17 โจทก์บอกเลิกการเช่าได้
ถ้าศาลเห็นว่าพยานประเด็นที่จำเลยขอให้ส่งประเด็นไปสืบนั้นเป็นพยานหลักฐานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเหล่านั้นเสียได้ ตามนัยมาตรา 86 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณานั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ถ้าจำเลยจะโต้แย้งคำสั่งนั้นอย่างใดก็ชอบที่จะแถลงข้อโต้แย้งให้ศาลชั้นต้นจดลงไว้ในรายงานหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของใหม่หลังการซื้อฝาก และหน้าที่การชำระค่าเช่าของผู้เช่าต่อเจ้าของใหม่
โจทก์รับซื้อฝากโรงเรือนพิพาทจากเจ้าของโรงเรือน แล้วผู้ขายฝากไม่ซื้อคืนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในโรงเรือนนั้นจึงตกไปเป็นของโจทก์โดยเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 และจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าโรงเรือนพิพาทนั้นก็ทราบแล้ว แต่จำเลยก็ไม่เคยเอาค่าเช่าไปชำระให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามก็ไม่ชำระ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยขอให้ศาลเรียกสำนวนคดีดำคดีแดงในศาลนั้นมาประกอบการพิจารณาศาลอนุญาตแล้ว ส่วนการที่ศาลจะรับฟังหรือไม่ ศาลมีอำนาจที่จะกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86,87
เมื่อเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแล้ว จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าเกินกว่าสองคราวติด ๆ กัน จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 17(1)
of 31