คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ลออง จุลกะเศียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตหวงห้าม: การครอบครองภายหลังมีกฎหมายหวงห้ามไม่มีสิทธิฟ้อง
ที่ดินพิพาทอยู่ภายในเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ. 2479 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดูแลรักษาและหวงห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาจับจองครอบครองหักล้างเข้าจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนี้ คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์บรรพบุรุษของโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่ที่ดินอยู่ในความคุ้มครองหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ.2479 ขอห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องที่ดินพิพาทต่อไปฟ้องและคำขอบังคับคดีของโจทก์จึงมีผลกระทบไปถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีย่อมจะใช้สิทธิเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้เพื่อต่อสู้คดีโจทก์ หรือใช้สิทธิฟ้องโจทก์เกี่ยวกับทีดินพิพาทได้ตามลำพัง ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ.2479 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้โจทก์ควรจะฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามมาตรา 57 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้หมายเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรียอมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยดี มิได้คัดค้านประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกันให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้จึงเป็นการชอบ ที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราขการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยมิได้ฟังคำคัดค้านของโจทก์เป็นการไม่ชอบ นั้น เห็นว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยเห็นสมควรโดยถือเอาคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นมูลฐานพิจารณาสั่งตามอำนาจของศาล จึงไม่จำเป็นฟังคำคัดค้านของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อมรถจ้างทำของ: ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดต่อการละเมิดของช่างซ่อม
เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถแล้วเจ้าของรถยนต์วานให้ช่างซ่อมรถขับรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอู่ไปเกิดชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายระหว่างทาง ดังนี้ ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนั้น
สัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 นั้น ผู้รับจ้างตกลงจะทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุมบังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงานหรือบงการแก่ผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากการละเมิดของช่างซ่อมรถ: ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดหากช่างไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้าง
เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถแล้วเจ้าของรถยนต์วานให้ช่างซ่อมรถขับรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอู่ไปเกิดชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายระหว่างทางดังนี้ ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนั้น
สัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587นั้น ผู้รับจ้างตกลงจะทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุมบังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงานหรือบงการแก่ผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบำเหน็จข้าราชการสามารถโอนให้ผู้รับพินัยกรรมได้หลังผู้รับบำนาญเสียชีวิต แม้มีข้อจำกัดการโอนในขณะยังมีชีวิตอยู่
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า "สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้" นั้นหมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จ ให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้วเมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมโอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จข้าราชการเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก สามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า 'สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไม่ได้' นั้น หมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้นหาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้ว เมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำเหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรม โอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบุคคลการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นด้วยเช็ค แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้ (อ้างฎีกาที่ 243/2503)
การชำระหนี้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้ด้วยการออกตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ย่อมถือได้ ว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่การชำระหนี้ด้วยเงิน ฉะนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ก็ย่อมรับฟังพยานบุคคลที่นำมาสืบในเรื่องการชำระหนี้ได้ (อ้างฎีกาที่ 767/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบุคคลเรื่องการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้น แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือ
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2 จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้ (อ้างฎีกาที่ 243/2503)
การชำระหนี้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้ด้วยการออกตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรค 3 ย่อมถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่การชำระหนี้ด้วยเงิน ฉะนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ก็ย่อมรับฟังพยานบุคคลที่นำมาสืบในเรื่องการชำระหนี้ได้ (อ้างฎีกาที่ 767/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ กรณีถูกทำร้ายด้วยอาวุธร้ายแรง
จำเลยถามผู้ตายเรื่องชำเราเด็กและทวงเงิน ผู้ตายใช้มีดจะแทงจำเลยจำเลยใช้ไม้ตีไปที่หน้าผู้ตาย 1 ที ผู้ตายล้มลงแล้วโงนเงนขึ้นมาจะแทงจำเลยอีก จำเลยจึงตีถูกที่หน้าผู้ตายอีก 1 ที ผู้ตายล้มลงศีรษะฟาดกับหินถึงแก่ความตาย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: กรณีถูกทำร้ายด้วยอาวุธร้ายแรงกว่า
จำเลยถามผู้ตายเรื่องชำเราเด็กและทวงเงิน ผู้ตายใช้มีดจะแทงจำเลย จำเลยใช้ไม้ตีไปที่หน้าผู้ตาย 1 ที ผู้ตายล้มลงแล้วโงเงขึ้นมาจะแทงจำเลยอีก จำเลยจึงตีถูกที่หน้าผู้ตายอีก 1 ที ผู้ตายล้มลงศรีษะฟาดกับหินถึงแก่ความตาย เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องยักยอกเงินภาษีไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดทรัพย์สิน และความรับผิดของโจทก์จากการลงชื่อรับรองเอกสาร
ฟ้องคดีอาญาที่มิได้บรรยายให้ได้ความชัดว่าจำเลยยักยอกเงินที่พวกโจทก์มอบให้จำเลยไปเสียภาษีเท่าใด คงกล่าวไว้มีใจความสำคัญแต่เพียงจำนวนเงินที่มอบให้จำเลยไป จำนวนที่ต้องเสียภาษีรายเดือน จำนวนเงินเหลือรายเดือน จำนวนที่เหลือนี้ได้ตกลงให้จำเลยเก็บรักษาไว้เสียภาษีปลายปี เมื่อโจทก์ถูกสรรพากรเรียกไปพบหาว่าเสียภาษีไม่ครบจึงทราบว่าจำเลยยักยอกเงินที่มอบไป โดยเสียภาษีไม่ครบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกียวกับทรัพย์หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับข้อหาว่าจำเลยเบียดบังยักยอกไปอันเป็นสารสำคัญ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
โจทก์ได้เห็นและทราบรายการที่ได้กรอกไว้ในแบบ ภ.ค.4 เพื่อชำระภาษีการค้าที่จำเลยนำมาให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นผู้ยื่น โจทก์ได้เซ็นชื่อลงไป จึงต้องรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงของข้อความตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นการกระทำของโจทก์เอง
of 31