พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยตัวแทน และการพิสูจน์ฐานะบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ
ต้นฉบับเอกสารอันแท้จริงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ส่วนข้อความในเอกสารจะถูกต้องตรงกับความจริงหรือไม่ เป็นข้อที่ศาลจะได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนอีกชั้นหนึ่ง
ข้อความในเอกสารซึ่งแสดงว่าบริษัทโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ทำนิติกรรมมอบอำนาจได้ในนามของบริษัทโจทก์ โดยทำต่อเจ้าหน้าที่เป็นทางการ เป็นการเพียงพอที่จะฟังได้ว่าโจทก์มีฐานะที่จะฟ้องคดีได้ในนามของตนเอง
การพิสูจน์ฐานะบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่จำต้องพิสูจน์โดยวิจักขณ์พยานผู้รู้กฎหมายต่างประเทศโดยตรงแต่ทางเดียวพฤติการณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงการมีฐานะใช้สิทธิได้ตามกฎหมายดุจบุคคลทั่วไป ก็เป็นข้อเท็จจริงให้ศาลวินิจฉัยเช่นนั้นได้
ตามคำฟ้องปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีโดยการมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องคดีนี้เป็นส่วนตัวไม่ได้ แต่จะยกฟ้อง เลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ที่ฟ้องโดยโจทก์ที่ 2 รับมอบอำนาจด้วยไม่ได้
ข้อความในเอกสารซึ่งแสดงว่าบริษัทโจทก์มีสิทธิและหน้าที่ทำนิติกรรมมอบอำนาจได้ในนามของบริษัทโจทก์ โดยทำต่อเจ้าหน้าที่เป็นทางการ เป็นการเพียงพอที่จะฟังได้ว่าโจทก์มีฐานะที่จะฟ้องคดีได้ในนามของตนเอง
การพิสูจน์ฐานะบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ไม่จำต้องพิสูจน์โดยวิจักขณ์พยานผู้รู้กฎหมายต่างประเทศโดยตรงแต่ทางเดียวพฤติการณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงการมีฐานะใช้สิทธิได้ตามกฎหมายดุจบุคคลทั่วไป ก็เป็นข้อเท็จจริงให้ศาลวินิจฉัยเช่นนั้นได้
ตามคำฟ้องปรากฏว่า โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีโดยการมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องคดีนี้เป็นส่วนตัวไม่ได้ แต่จะยกฟ้อง เลยไปถึงโจทก์ที่ 1 ที่ฟ้องโดยโจทก์ที่ 2 รับมอบอำนาจด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย และการฟ้องผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า "ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน" ในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 8(9) หมายความว่าในระหว่างการทวงถามครั้งแรกกับครั้งที่สองต้องมีระยะเวลาสามสิบวันเท่านั้น
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 89 ก่อน
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 89 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาทวงหนี้ตาม พรบ.ล้มละลาย และการฟ้องผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า "ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน" ในพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 8(9) หมายความว่าในระหว่างการทวงถามครั้งแรกกับครั้งที่สองต้องมีระยะเวลาสามสิบวันเท่านั้น
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 89 ก่อน
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 89 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลคำพิพากษาต้องพิจารณาข้อวินิจฉัยทั้งหมด แม้ไม่ได้ระบุขับไล่ชัดเจน หากวินิจฉัยว่าอยู่โดยไม่มีสิทธิ ก็ย่อมมีหน้าที่ส่งมอบคืน
โจทก์ฟ้องเรื่องละเมิด ขับไล่ ขอให้จำเลยออกจากห้องพิพาท และส่งมอบห้องพิพาทให้โจทก์ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้อง กับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องและนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้คำพิพากษาจะไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งให้ขับไล่จำเลย หรือให้จำเลยส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ก็ตามแต่การแปลคำพิพากษาต้องพิเคราะห์เกี่ยวกับข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาได้วินิจฉัยว่าจำเลยอยู่ในห้องพิพาท โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ และพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพิพาท จึงมีความหมายอยู่ในตัวว่า คำพิพากษามุ่งประสงค์ให้จำเลยออกจากห้องพิพาทและส่งมอบห้องพิพาทตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลคำพิพากษาต้องพิจารณาข้อวินิจฉัยทั้งหมด แม้ไม่ได้ระบุขับไล่โดยชัดแจ้ง หากพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบทรัพย์สิน ย่อมหมายถึงการสั่งให้ส่งมอบ
โจทก์ฟ้องเรื่องละเมิด ขับไล่ ขอให้จำเลยออกจากห้องพิพาท และส่งมอบห้องพิพาทให้โจทก์ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้อง กับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องและนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้คำพิพากษาจะไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งให้ขับไล่จำเลย หรือให้จำเลยส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การแปลคำพิพากษาต้องพิเคราะห์เกี่ยวกับข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาได้วินิจฉัยว่าจำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยไม่มีสิทธิ์จะอ้างได้ และพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพิพาท จึงมีความหมายอยู่ในตัวว่า คำพิพากษามุ่งประสงค์ให้จำเลยออกจากห้องพิพาทและส่งมอบห้องพิพากษาตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา: ศาลต้องพิจารณายกคำร้องหากอุทธรณ์มีปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นนัดไต่สวนอนาถา ครั้นถึงวันนัดได้สั่งงดไต่สวนเสีย โดยว่าไม่จำเป็นและมีคำสั่งว่า ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ยังคลาดเคลื่อนอยู่ เพราะเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ก็พึงยกคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม หาควรที่จะก้าวล่วงไปสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เสียทีเดียวไม่ จึงพิพากษายกคำสั่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสาม ค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ฎีกาให้คืนจำเลยไป (คดีนี้จำเลยฎีกาได้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการพิจารณาคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา: ศาลต้องพิจารณายกคำร้องก่อน หากเห็นว่าอุทธรณ์ต้องห้าม
จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนอนาถา ครั้นถึงวันนัดได้สั่งงดไต่สวนเสีย โดยว่าไม่จำเป็นและมีคำสั่งว่า ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ยังคลาดเคลื่อนอยู่ เพราะเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ก็พึงยกคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรค 3 หาควรที่จะก้าวล่วงไปสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวไม่ จึงพิพากษายกคำสั่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรค 3 ค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ฎีกาให้คืนจำเลยไป (คดีนี้จำเลยฎีกาได้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้
บทบัญญัติมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า"บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้ ฯลฯ" เป็นบทบัญญัติที่เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ให้แก่ตนเท่านั้น มิได้หมายความเลยไปถึงว่า หากไม่มีหลักฐานเช่นที่บัญญัติไว้นั้นแล้ว ผู้ชำระหนี้จะพิสูจน์ถึงการชำระหนี้ไม่ได้
เมื่อการชำระหนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ศาลก็ย่อมรับฟังคำพยานบุคคลที่ผู้ชำระหนี้นำสืบถึงการชำระหนี้นั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามอบอำนาจให้ภริยารับเงินจากศาลแทนตัวได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้นั้นต่อภริยาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315
เมื่อการชำระหนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ศาลก็ย่อมรับฟังคำพยานบุคคลที่ผู้ชำระหนี้นำสืบถึงการชำระหนี้นั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามอบอำนาจให้ภริยารับเงินจากศาลแทนตัวได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้นั้นต่อภริยาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยผู้รับมอบอำนาจ และการพิสูจน์การชำระหนี้โดยพยานบุคคล
บทบัญญัติมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่า "บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้ ฯลฯ" เป็นบทบัญญัติที่เพียงแต่ให้สิทธิ์แก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ให้แก่ตนเท่านั้น มิได้หมายความเลยไปถึงว่า หากไม่มีหลักฐานเช่นที่บัญญัติไว้นั้นแล้ว ผู้ชำระหนี้จะพิสูจน์ถึงการชำระหนี้ไม่ได้
เมื่อการชำระหนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ศาลก็ย่อมรับฟังคำพยานบุคคลที่ผู้ชำระหนี้นำสืบถึงการชำระหนี้นั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามอบอำนาจให้ภริยารับเงินจากศาลแทนตัวได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้นั้นต่อภริยาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 315
เมื่อการชำระหนี้ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ศาลก็ย่อมรับฟังคำพยานบุคคลที่ผู้ชำระหนี้นำสืบถึงการชำระหนี้นั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามอบอำนาจให้ภริยารับเงินจากศาลแทนตัวได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาชำระหนี้นั้นต่อภริยาเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จึงชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 315
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนโดยไม่ชำระภาษีค้างจ่าย ศาลไม่รับฟ้องตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 39 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงยกขึ้นปรับคดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)