คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ลออง จุลกะเศียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องแสดงการชำระภาษีตามกฎหมาย หากไม่ชำระ ศาลไม่รับฟ้อง
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงยกขึ้นปรับคดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบมูลเหตุการกู้เงิน และการฟ้องภริยาต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปทำการค้าค้างดอกเบี้ย โจทก์จึงเอาดอกเบี้ยและต้นเงินรวมกันทำสัญญากู้ไว้ ดังนี้ เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่นำมาสู่การทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ตามฟ้องจริง และได้มีการตกลงกันให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินแล้วอย่างไร ดังนี้ ย่อมสืบได้หาเป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ทั้งโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องกล่าวอ้างตั้งประเด็นเรื่องที่นำสืบนั้นมาในฟ้องด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นหนี้ก่อขึ้นระหว่างสมรส เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้หนี้โจทก์ด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เป็นหนี้ร่วม" ก็หมายถึงหนี้ดังระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (1) (2) (3) (4) ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม ส่วนจะเป็นหนี้ร่วมชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบถึงมูลเหตุการกู้เงินและการระบุหนี้ร่วมในฟ้อง ไม่เคลือบคลุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปทำการค้าค้างดอกเบี้ย โจทก์จึงเอาดอกเบี้ยและต้นเงินรวมกันทำสัญญากู้ไว้ ดังนี้ เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่นำมาสู่การทำสัญญากู้เงินเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ตามฟ้องจริง และได้มีการตกลงกันให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินแล้วอย่างไร ดังนี้ ย่อมสืบได้หาเป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ทั้งโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องกล่าวอ้างตั้งประเด็นเรื่องที่นำสืบนั้นมาในฟ้องด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นหนี้ก่อขึ้นระหว่างสมรส เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้หนี้โจทก์ด้วยดังนี้ เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เป็นหนี้ร่วม" ก็หมายถึงหนี้ดังระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482(1)(2)(3)(4)ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม ส่วนจะเป็นหนี้ร่วมชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641-644/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานแจ้งความเท็จและสมคบกันทำผิดอาญา ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
จำเลยหลายคนสมคบกันใช้ให้จำเลยคนหนึ่งไปแจ้งข้อความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ผู้เสียหายได้ใช้กำลังประทุษร้ายกระทำอนาจารแก่จำเลยผู้แจ้ง เพื่อแกล้งให้ผู้เสียหายต้องรับโทษทางอาญา ดังนี้ จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 และมาตรา 174 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนัก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยจากการประสบเหตุฉุกเฉินขณะปฏิบัติหน้าที่: การใช้ความระมัดระวังตามสมควรและการเกิดเหตุบังเอิญ
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรนเพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควรกระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตามสมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จาก บุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขับรถฉุกเฉิน: การประเมินความเร็วและความระมัดระวังเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรนเพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควรกระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตามสมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควร ตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นกาประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลังรถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญมิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้ เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการสืบพยานในคดีครอบครัว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี เหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไป หาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียวจำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยานอีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่งตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการสืบพยานประเด็นข้อตกลงการดูแลบุตร
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามีเหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไปหาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียว จำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยาน อีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่ง ตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรที่เกิดจากการสมรสภายหลังและไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า 'ฯลฯสมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ได้จดทะเบียนสมรส' ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่นนำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ1529(5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิมนางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629(1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้นก็แถลงไปตามเหตุที่ว่านายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเองหาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความตามนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาที่จดทะเบียนสมรส การนำสืบสถานะทางกฎหมาย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์ เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า "ฯลฯ สมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ได้จดทะเบียนสมรส" ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่น นำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ 1529 (5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกนายฉิม นางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629 (1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้น ก็แถลงไปตามเหตุที่ว่า นายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเอง หาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ตามความนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่
of 31