คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ลออง จุลกะเศียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย: การรับรองบุตรและการเป็นทายาทตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตายทะเบียนโรงเรียนทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดกแต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1627 เป็นบทบัญญัติวาง ข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดกฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่าให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมาย การรับรองบุตร และฐานะทางกฎหมายของบิดา-บุตร
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตาย ทะเบียนโรงเรียน ทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่า เจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดก แต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 เป็นบทบัญญัติวางข้อข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่า ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยบริษัทที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ แม้ผิดกฎหมายเดิม แต่เมื่อกฎหมายแก้ไขแล้ว โจทก์มีสิทธิในที่ดินได้
จำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งมาโดยชัดแจ้งว่าที่ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ว่า ส. และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการลงชื่อซื้อที่ดินพิพาทนั้น และความจริง ส. และจำเลยที่ 1 มิได้ลงชื่อในโฉนดในฐานะตัวแทนของโจทก์ดังที่ศาลล่างฟังมา ดังนี้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะฟังเป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์ นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทนเพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะเพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้อง ทำเป็นหนังสือเป็นข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า 'กรรมการ' มิได้ใช้คำว่า 'คณะกรรมการ' ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าวโจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่าบรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนี้เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) ได้ยกเลิกไปแล้วโดยที่อธิบดีก็มิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยนิติบุคคลที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ และผลของการละเมิดกฎหมายที่ดิน
จำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งมาโดยชัดแจ้งว่าที่ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยายบุคคลและพยานเอกสารของโจทก์ว่า ส. และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในการลงชื่อซื้อที่ดินพิพาทนั้น และความจริง ส. และจำเลยที่ 1 มิได้ลงชื่อในโฉนดในฐานะตัวแทนของโจทก์ดังที่ศาลล่างฟังมา ดังนี้ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะฟังเป็นอย่างอื่น
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์นั้น หาได้นำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
ถ้าหากเป็นคดีมีข้อพิพาทในหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี ก็อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 ที่จะต้องมีหนังสือตั้งตัวแทน เพราะสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 มิได้ใช้บังคับในกรณีที่ตัวการตัวแทนพิพาทกันตามสัญญาตัวแทนโดยเฉพาะ เพราะตัวการตัวแทนผูกพันกันตามสัญญาตัวแทนอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้อาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องทำเป็นหนังสือข้อผูกพันอันเป็นมูลฟ้องแต่ประการใดเลย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97(5) กฎหมายใช้คำว่า "กรรมการ" มิได้ใช้คำว่า "คณะกรรมการ" ดังนั้น เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีคนต่างด้าวคนหนึ่งเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย จึงย่อมหมายถึงกรรมการคนใดคนหนึ่ง ไม่หมายความว่ากรรมการทุกคนต้องเป็นคนต่างด้าว โจทก์จึงอยู่ในข่ายที่จะมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าว ตามประมวลกฎหมายทีดิน มาตรา 86
แม้การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 ผลของข้อห้ามนี้มีอย่างไรนั้น ยังมีบทบัญญัติต่อไปในมาตรา 94 ว่า บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาตให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ฯลฯ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนี้ เป็นที่เห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ถือว่าการได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยการซื้อขายนั้น ไม่มีผลใด ๆ เสียเลย แม้คนต่างด้าวจะไม่สามารถถือและใช้สิทธิในที่ดินนั้นได้อย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็ยังบัญญัติให้จำหน่ายที่ดินนั้นเสียตามกำหนดเวลาที่อธิบดีมีคำสั่ง มิฉะนั้นอธิบดีจะจัดการจำหน่ายเองตามวิธีการที่กฎหมายบังคับไว้ (อ้างฎีกาที่ 499/2500) ซึ่งคนต่างด้าวจะได้รับค่าที่ดินคืนไป เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97 (5) ได้ยกเลิกไปแล้ว โดยที่อธิบดีมิได้สั่งให้โจทก์จำหน่ายที่ดินซึ่งมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนเกิดในไทยถือใบสำคัญคนต่างด้าวขาดต่ออายุ ไม่ผิด พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว
คำว่าผู้ใดในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 20 และพระราชบัญญัติชื่อเดียวกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495 มาตรา 4 หมายความถึงคนต่างด้าวเท่านั้น คนที่เกิดในประเทศไทย แต่ถือใบสำคัญประจำคนต่างด้าว เมื่อขาดต่ออายุใบสำคัญนี้จึงไม่มีความผิดตามมาตราทั้งสองข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนเกิดในไทยถือใบสำคัญคนต่างด้าวขาดอายุ ไม่ผิดกฎหมายคนต่างด้าว
คำว่าผู้ใดในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493มาตรา 20 และพระราชบัญญัติชื่อเดียวกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495 มาตรา 4 หมายความถึงคนต่างด้าวเท่านั้นคนที่เกิดในประเทศไทย แต่ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเมื่อขาดต่ออายุใบสำคัญนี้ จึงไม่มีความผิดตามมาตราทั้งสองข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายและการเป็นผู้สืบสันดานต้องพิสูจน์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลเสมือน ไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแต่คำของผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่รับรองว่าได้จดทะเบียนผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนยังโต้เถียงกันเช่นนี้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานจึงยังคลาดเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายต้องมีการจดทะเบียน หากยังโต้เถียงเรื่องการจดทะเบียน สิทธิในฐานะบุตรบุญธรรมยังไม่สมบูรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่คำของผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่รับรองว่าได้จดทะเบียนผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนยังโต้เถียงกันเช่นนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน จึงยังคลาดเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586 วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบอกเล่าของผู้ถูกยิงก่อนตายเป็นพยานหลักฐานสำคัญบ่งชี้ตัวผู้กระทำผิดได้ หากปราศจากความสับสนหรือสำคัญผิด
ในกรณีที่ผู้ตายคิดว่าตนจะไม่ตาย ได้บอกกำนันระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ยิงตน โดยไม่ปรากฏว่า ขณะนั้นผู้ตายมีสติฟั่นเฟือนเพราะความเจ็บปวด หรือสำคัญผิดในตัวคนร้ายหรือคาดคะเนคนร้ายโดยพลการแต่ประการใด คำบอกเล่าเช่นนี้รับฟังได้ในฐานะที่เป็นคำระบุบอกกล่าวในเวลาใกล้ชิดกับเหตุ อันไม่มีโอกาสที่ผู้บอกกล่าวจะคิดใส่ความได้ทัน เป็นพฤติการณ์ประกอบพยานหลักฐานโจทก์ อันนำไปสู่การติดตามรู้ถึงตัวผู้กระทำผิด และได้พยานหลักฐานอื่นในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำบอกเล่าผู้ตายก่อนเสียชีวิตเป็นพยานหลักฐานสำคัญ ระบุตัวผู้กระทำผิดได้ เชื่อถือได้หากปราศจากความสับสน
ในกรณีที่ผู้ตายคิดว่าตนจะไม่ตาย ได้บอกกำนันระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายที่ยิงตน โดยไม่ปรากฏว่า ขณะนั้นผู้ตายมีสติฟั่นเฟือนเพราะความเจ็บปวด หรือสำคัญผิดในตัวคนร้ายหรือคาดคะเนคนร้ายโดยพลการแต่ประการใด คำบอกเล่าเช่นนี้รับฟังได้ในฐานะที่เป็นคำระบุบอกกล่าวในเวลาใกล้ชิดกับเหตุอันไม่มีโอกาสที่ผู้บอกกล่าวจะคิดใส่ความได้ทันเป็นพฤติการณ์ประกอบพยานหลักฐานโจทก์อันนำไปสู่การติดตามรู้ถึงตัวผู้กระทำผิด และได้พยานหลักฐานอื่นในคดี
of 31