คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำซ้อนและสิทธิในการฟ้องคดีของผู้นำเสียภาษี โดยไม่ต้องรอการอุทธรณ์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2524 และชำระภาษีเงินได้บางส่วนแล้วก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีก 2 เท่าตามมาตรา 26 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เต็มจำนวนโดยมิได้หักภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระไว้แล้วออกเสียก่อน ทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ซ้ำซ้อน โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตามภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523, 2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523 และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำซ้อนและการมีอำนาจฟ้องคดีภาษี เมื่อการประเมินถูกต้องตามกฎหมายและไม่อุทธรณ์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2524และชำระภาษีเงินได้บางส่วนแล้วก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน โจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีก 2 เท่าตามมาตรา 26 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เต็มจำนวนโดยมิได้หักภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระเงินไว้แล้วออกเสียก่อน ทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ซ้ำซ้อนโจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตาม ภายใน5 ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523,2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการมีอำนาจในการฟ้องคดีของผู้นำเสียภาษี
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2524 และชำระภาษีเงินได้บางส่วนแล้วก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีก 2 เท่าตามมาตรา 26 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เต็มจำนวนโดยมิได้หักภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระไว้แล้วออกเสียก่อน ทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ซ้ำซ้อน โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตามภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523,2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523 และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าต้องเป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ไม่ใช่ตามมติที่ประชุม
การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าจะต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่ง ป.รัษฎากร แม้ในการประชุมพิจารณาการบริหารงานของสรรพากรเขตพื้นที่ครั้งที่ 6 จะมีมติว่าสำหรับผู้ประกอบการค้าที่เคยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เดิม ไม่เกินวันละ 10,000 บาท ซึ่งไม่ส่งแบบ ภ.ค.45คืน ให้กำหนดรายรับขั้นต่ำโดยวิธีคำนวณเพิ่มยอด รายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 ก็ตาม แต่มติของที่ประชุมดังกล่าวเป็นระเบียบหรือข้อปฏิบัติภายในที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 38) ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมติที่ประชุมได้แล้ว การที่พนักงานของจำเลยกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ โดยคำนวณเพิ่มจากรายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 นั้น จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวและไม่ชอบด้วยมาตรา 86 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 23 และ มาตรา 25 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีเงินได้มาไต่สวนและสั่งให้ผู้นั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงเฉพาะ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเท่านั้น หากผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ แต่เรื่องการกำหนดรายรับขั้นต่ำเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับของผู้ประกอบการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจ มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้โดยเฉพาะ แล้วจึงไม่อาจนำมาตรา 23 และ 25 มาใช้บังคับในกรณีนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าและเงินได้นิติบุคคลจากรายรับค่าถนน การประเมินที่ถูกต้องและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินขาย โจทก์ให้ผู้ซื้อที่ดินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำถนนเองโดยโจทก์รับเป็นตัวแทนหาผู้รับเหมามาจัดทำถนนในที่ดินของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้ถนนดังกล่าวต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแต่ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ดังนั้นถนนที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า อันเป็นรายรับซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 และเป็นเงินได้อันจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39, 65 และรายรับดังกล่าวไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของผู้ซื้อที่ดินตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 10 แต่เป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 และต้องถือราคาของถนนตามจำนวนเงินที่ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายจัดทำเป็นรายรับของโจทก์
เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 23, 87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้วโจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่
กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลงกรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) นั้นเมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคล: การประเมินรายรับค่าถนนและผลกระทบจากการคืนเงินผู้ซื้อ
โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินขาย โจทก์ให้ผู้ซื้อที่ดินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำถนนเองโดยโจทก์รับเป็นตัวแทนหาผู้รับเหมามาจัดทำถนนในที่ดินของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้ถนนดังกล่าวต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแต่ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ดังนั้นถนนที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า อันเป็นรายรับซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และเป็นเงินได้อันจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39,65 และรายรับดังกล่าวไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของผู้ซื้อที่ดินตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 10 แต่เป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 และต้องถือราคาของถนนตามจำนวนเงินที่ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายจัดทำเป็นรายรับของโจทก์ เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23,87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้ แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้ว โจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่ กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลง กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา89(3) นั้น เมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้อง ถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยไม่ส่งมอบเอกสารและการโต้แย้งสิทธิโดยไม่ต้องอุทธรณ์
หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ ประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินทั้งนี้โดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนและมิได้ให้ถ้อยคำชี้แจงประกอบการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกซึ่งออกตามมาตรา 19 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งเป็นคดีต่อศาล เพราะการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นอันยุติไปแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า โจทก์หาได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 แต่อย่างใดไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรย่อมเป็นการไม่ชอบโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ได้ ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ยุติโดยโจทก์จำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ ชอบที่จะฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร และสิทธิในการโต้แย้งการประเมิน
หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ ประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินทั้งนี้โดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้ส่งมอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนและมิได้ให้ถ้อยคำชี้แจงประกอบการตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกซึ่งออกตามมาตรา 19 โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งเป็นคดีต่อศาล เพราะการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นอันยุติไปแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องโดยชัดแจ้งว่า โจทก์หาได้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19 แต่อย่างใดไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 และ 71(1) แห่งประมวลรัษฎากรย่อมเป็นการไม่ชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ได้ ในกรณีเช่นนี้โจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ยุติโดยโจทก์จำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ ชอบที่จะฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989-993/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลยพินิจในการประเมินภาษีเพิ่มเติม กรณีผู้เสียภาษีแสดงรายการไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นรายการ
คำว่า "อาจต้องรับผิดเสียเงินอีก ฯลฯ " ตามความใน ม.23 ,26 แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเป็นเรื่องที่ ก.ม.กำหนดให้ใช้ดุลยพินิจหนักเบาตามควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไม่ว่าควรเรียกภาษีเพิ่มถึงเต็มพิกัดหรือลดหย่อนลงเพียงใดเมื่อปรากฎว่าเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวนเกินสมควรแก่พฤติการณ์ที่ผู้เสียควรต้องรับผิดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดลงให้ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989-993/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานประเมินภาษีและการลดหย่อนเงินเพิ่มตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี
คำว่า "อาจต้องรับผิดเสียเงินอีก ฯลฯ" ตามความใน มาตรา 23,26 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เป็นเรื่องที่กฎหมาย กำหนดให้ใช้ดุลพินิจหนักเบาตามควรแก่กรณีเป็นเรื่องๆไม่ว่าควรเรียกภาษีเพิ่มถึงเต็มพิกัดหรือลดหย่อนลงเพียงใด เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวนเกินสมควรแก่พฤติการณ์ที่ผู้เสียควรต้องรับผิดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดลดให้ตามที่เห็นสมควรได้
of 3