คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกและคำสั่งเจ้าพนักงานประเมิน ทำให้ไม่สามารถอุทธรณ์การประเมินภาษีได้
การที่โจทก์ไม่นำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียก และไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือเชิญพบหลายครั้ง ถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้นำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันเป็นพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงตาม ป. รัษฎากร มาตรา 23 เนื่องจากใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใดและยื่นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะใบเสร็จรับเงินจะระบุวัน เดือน ปี ที่ยื่นแบบแสดงรายการ รวมทั้งประเภทของแบบแสดงรายการที่ยื่น หากในใบเสร็จรับเงินระบุว่า ภ.ง.ด. 91 ก็แสดงว่าโจทก์มิได้นำเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มารวมคำนวณกับเงินได้อื่น ส่วนเอกสารที่บริษัท ท. กับบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของส่งให้แก่เจ้าพนักงานประเมินก็เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ว. คนขับรถยนต์ของโจทก์กับบริษัทดังกล่าว มิใช่หลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ว. นอกจากนี้หากใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ในปีพิพาทสูญหาย โจทก์ควรให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนของทางราชการ แต่โจทก์มิได้ให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนของทางราชการแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์โดยอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 25 นั้น ชอบแล้ว ซึ่งเป็นผลให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์การประเมินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5036/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษีและการให้ความร่วมมือของโจทก์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ให้สืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานตรวจสอบในการตรวจสอบภาษี โดยไม่ยอมตอบข้อซักถามใด ๆ อันเป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบโดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ส่งมอบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุในหมายเรียก แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมานั้นยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ยอมตอบข้อซักถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องอะไรบ้าง ข้อเท็จจริงจึงยังไม่พอที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 25 ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9569/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อน จึงจะสามารถฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 ได้วางข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีตามมาตรา 7 (1) ต่อศาลภาษีอากรไว้ซึ่งเป็นการห้ามบุคคลทุกคน หามีข้อยกเว้นให้กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และขณะที่โจทก์ฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์แจ้งการประเมิน ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะต้องร่วมรับผิดด้วยอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลภาษีอากรกลางตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อกรมสรรพากรเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วยแม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดินแต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี2530เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี2530ตามประมวลรัษฎากรมาตรา56,57จัตวาเมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วยแม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา25,49หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ แม้แจ้งประเมินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดิน แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2530 เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2530 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย แม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 25, 49 หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ กรมสรรพากรเจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 25,49 เท่านั้น ไม่ได้ทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกทางภาษีอากรโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับไม่ได้รับทราบ
การที่เจ้าพนักงานสรรพากรนำหมายเรียกไปส่งให้โจทก์แล้วไม่พบโจทก์และบุคคลในบ้านไม่ยอมรับหมายเรียก เป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายเรียกตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานสรรพากรจึงชอบที่จะส่งโดยวิธีปิดหมายตามมาตรา 8 วรรคสองได้ เมื่อปรากฏว่าการส่งหมายเรียกให้โจทก์ เจ้าพนักงานสรรพากรได้ส่งโดยวิธีปิดหมายไว้ที่บ้านที่โจทก์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหมายเรียกนั้นแล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคสอง กฎหมายเพียงแต่บัญญัติให้ปิดหมายไว้ ณ บ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย มิได้บังคับให้ต้องปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของบุคคลนั้นเหมือนเช่นกรณีการส่งหมายตาม มาตรา 8 วรรคแรก และเมื่อการส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมายได้กระทำโดยถูกต้องตามกฎหมายย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นอันได้รับหมายเรียกนั้นแล้ว ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคสาม แม้ว่าจะไม่มีผู้ใดแจ้งหรือส่งหมายเรียกนั้นมาให้โจทก์ทราบก็ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 21,25 และ 87(3) มิได้บัญญัติว่ากรณีที่จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ จะต้องเป็นเรื่องที่ผู้ได้รับหมายเรียกได้รับทราบหมายเรียกแล้ว โดยเฉพาะตามมาตรา 25 ใช้ถ้อยคำเพียงว่า "ผู้ที่ได้รับหมาย..." เท่านั้น หาได้ใช้คำว่า"ผู้ที่ได้รับทราบหมาย" ซึ่งรับกับถ้อยคำตามมาตรา 8 วรรคสามที่บัญญัติว่า "เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้ว" จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรหากได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ก็ให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับหมายเรียกหรือหนังสืออื่นนั้น จะได้รับทราบหมายเรียกหรือหนังสืออื่นนั้นหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802-3803/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากขาดอำนาจและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน รวมถึงการพิจารณาหลักฐานและรายได้ที่ถูกต้อง
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองจึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 23กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่อง กำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบและย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ 23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด การประเมินโดยวิธีกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือเงินฝากในธนาคาร ที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802-3803/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่มิชอบ การขออนุมัติกำหนดเงินได้สุทธิ และการเพิกถอนการประเมินภาษี
++ คดีแดงที่ 3802-3803/2534 ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 3