คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 66 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนหมายเรียกไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หากมีเหตุผลอันควรหรือมีการใช้สิทธิไม่ให้การ
เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใดๆไม่ได้และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่าหมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่าเจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขืนหมายเรียกของพนักงานสอบสวน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168
เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (2)แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใด ๆ ไม่ได้ และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่า หมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่า เจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: เจตนาของกฎหมายคืออะไร?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่วๆ ไปส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้นต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่ากฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พระราชบัญญัติจราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พระราชบัญญัตินี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตจราจรทางบก พ.ศ.2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานตนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสดวกของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือเจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่นๆผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 728/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ในคดีจราจร: กฎหมายจราจรไม่ได้ประสงค์ลงโทษผู้ไม่ไปรายงานตน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 เป็นบทลงโทษผู้ที่ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ในกรณีทั่ว ๆ ไป ส่วนการที่จำเลยไม่ไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ตามคำสั่งของตำรวจจราจรในกรณีจำเลยทำผิดกฎหมายจราจรจะเป็นผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อีกด้วยหรือไม่นั้น ต้องระลึกถึงหลักการใช้กฎหมายอาญาว่า กฎหมายจราจรมีความประสงค์จะลงโทษบุคคลผู้ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ซึ่งจะเห็นได้จากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆเองเรื่องนี้ ถึงแม้จะมี พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 64 ให้อำนาจเจ้าพนักงานสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ละเมิด พ.ร.บ. จราจรทางบกไปรายงานตนภายใน 24 ชั่วโมง ก็จริง แต่ พ.ร.บ. นี้ก็ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น เพราะข้อความในมาตรา 67 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2478 มาตรา 5 แสดงให้เห็นว่า การที่ให้ไปรายงานคนนั้น กฎหมายมีความประสงค์เพื่อความสะดวกทั้งสองฝ่ายเท่านั้น คือ ผู้ไปรายงานยอมให้เปรียบเทียบ ก็ไม่ต้องถูกฟ้องเป็นจำเลย ฝ่ายเจ้าพนักงานก็ไม่ต้องเสียเวลาสอบสวนพยานเพื่อดำเนินคดีต่อศาล แต่ถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่ไปรายงาน ก็เท่ากับผู้นั้นปฏิเสธความผิดไม่ยอมให้เปรียบเทียบ ซึ่งก็มีทางแก้อยู่แล้ว คือ
เจ้าพนักงานดำเนินคดีฟ้องต่อศาลดุจคดีอื่น ๆ ผู้ไม่ไปรายงานตนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานซ้ำอีกกระทงหนึ่งไม่
(ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 428/2502 ซึ่งวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่เกี่ยวกับปัญหาเช่นเดียวกันนี้ แต่ข้อวินิจฉัยมีต่างกันบ้าง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: บทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเฉพาะเจาะจงกว่าบททั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา
การที่จำเลยไม่ไปรายงานตนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรนั้นไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป เพราะ พระราชบัญญัติจราจรทางบกได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 64 และ 67 ซึ่งอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ ว่า ถ้าจำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรดังกล่าว ห้ามมิให้เปรียบเทียบ ให้จัดการฟ้องจำเลยไปทีเดียว อันเป็นบทลงโทษจำเลยอยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: พ.ร.บ.จราจรฯ กำหนดโทษเฉพาะ ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.368
การที่จำเลยไม่ไปรายงานตนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรนั้น ไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ม . 368 อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป เพราะ พ.ร.บ. จราจร ทางบกได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 64 และ 67 ซึ่งอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ ว่า ถ้าจำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรดังกล่าว ห้ามมิให้เปรียบเทียบ ให้จัดการฟ้องจำเลยไปทีเดียว อันเป็นบทลงโทษจำเลยอยู่แล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมายจับที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและผู้จับทราบถึงเหตุผลที่ไม่เป็นธรรม ถือว่าผู้ถูกจับไม่มีความผิดฐานหลบหนี
หมายจับที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งผู้จับก็ทราบต้นเหตุการออกหมายจับนั้นว่าเป็นเรื่องใช้อำนาจในหน้าที่โดยไม่เป็นธรรม หมายจับที่ออกในกรณีเช่นนี้ย่อมใช้ไม่ได้ เมื่อผู้ถูกจับหลบหนีจากการควบคุมก็หามีผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมายจับที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการหลบหนีจากผู้จับที่รู้ถึงเหตุไม่ชอบธรรม
หมายจับที่ออกโดยไม่ชอบด้วย ก.ม.ทั้งผู้จับก็ทราบต้นเหตุการออกหมายจับนั้นว่าเป็นเรื่องใช้อำนาจในหน้าที่โดยไม่เป็นธรรม หมายจับที่ออกในกรณีเช่นนี้ย่อมใช้ไม่ได้ เมื่อผู้ถูกจับหลบหนีจากการควบคุมก็หามีผิดไม่