คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 2 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, มูลคดี, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: ข้อวินิจฉัยสำคัญในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่า จำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2 (2), 4 (1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้
แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยาน และมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กัน และทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยาน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, มูลคดี, พยานหลักฐานภาษาต่างประเทศ, การระบุพยาน: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(2)(1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: หลักเกณฑ์การรับคำฟ้องและพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่1ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2(2)(1)โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่1ในบัญชีระบุพยานโดยไม่มีชื่อโจทก์ที่2ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตามแต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่1เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้อง หากภูมิลำเนาจำเลยไม่ถูกต้อง และไม่ต้องกำหนดเวลาฟ้องใหม่
โจทก์เสนอคำฟ้องแต่แรกโดยระบุภูมิลำเนาของจำเลยผิดพลาดเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดไปว่าโจทก์มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ แต่เมื่อความจริงเรื่องภูมิลำเนาของจำเลยปรากฏขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลยเกิดขึ้นก่อนศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ ศาลชั้นต้นจึงมิใช่ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้จึงผิดพลาด ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้นแล้วมีคำสั่งใหม่ได้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ศาลจำต้องกำหนดเวลาให้โจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่ในกรณีที่สั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่คำฟ้องต้องห้ามเรื่องเขตอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องได้หากพบภายหลังว่าไม่มีเขตอำนาจเหนือคดี
โจทก์เสนอคำฟ้องแต่แรกโดยระบุภูมิลำเนาของจำเลยผิดพลาดเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดไปว่าโจทก์มีอำนาจเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ แต่เมื่อความจริงเรื่องภูมิลำเนาของจำเลยปรากฏขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลยเกิดขึ้นก่อนศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ ศาลชั้นต้นจึงมิใช่ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้จึงผิดพลาด ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้นแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบังคับให้ศาลจำต้องกำหนดเวลาให้โจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่ในกรณีที่สั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่ คำฟ้องต้องห้ามเรื่องเขตอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล & การฟ้องขับไล่จากละเมิด: จำเลยไม่ยกปัญหาฟ้องผิดศาลในชั้นต้น ศาลไม่วินิจฉัย & โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่เมื่อจำเลยบุกรุก
เมื่อข้อเท็จจริงเรื่องที่ตั้งของที่ดินพิพาทยังไม่แน่นอนว่าจะอยู่ในเขตของศาลใด และจำเลยก็มิได้ยกปัญหาเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรที่จะยกปัญหาเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัย (อ้างฎีกาที่ 2642/2519)
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินขอบโจทก์โดยพลการ ซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าว (อ้างฎีกาที่ 1190/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จากที่ดินบุกรุกและการพิสูจน์ที่ตั้งทรัพย์สินที่ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
เมื่อข้อเท็จจริงเรื่องที่ตั้งของที่ดินพิพาทยังไม่แน่นอนว่าจะอยู่ในเขตของศาลใด และจำเลยก็มิได้ยกปัญหาเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรที่จะยกปัญหาเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัย (อ้างฎีกาที่ 2642/2519)
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยพลการ ซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าว(อ้างฎีกาที่ 1190/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การไม่ระบุที่ตั้งที่พิพาทในคำฟ้อง ไม่เป็นเหตุฟ้องต้องห้าม หากคู่ความและศาลรับรู้ร่วมกัน
คำฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าที่พิพาทตั้งอยู่ในเขตตำบล อำเภอ และจังหวัดใด แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและจำเลยก็ไม่ได้ให้การโต้เถียงในเรื่องที่ตั้งของที่พิพาทก็เป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความและศาลต่างก็ยอมรับว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นนั้นเองไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การยอมรับโดยปริยายของคู่ความและศาล, ฟ้องไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุว่าที่พิพาทตั้งอยู่ในเขตตำบล อำเภอ และจังหวัดใด แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องและจำเลยก็ไม่ได้ให้การโต้เถียงในเรื่องที่ตั้งของที่พิพาท ก็เป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความและศาลต่างก็ยอมรับว่าที่พิพาทอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นนั้นเอง ไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเขตจังหวัดชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่มีกฎหมายเฉพาะ แต่กระทรวงมหาดไทยมอบอำนาจข้าหลวงตรวจการดำเนินการได้
ในปี พ.ศ.2498 ยังไม่มีบทกฎหมายหรือกฎข้อบังคับใดที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะถึงวิธีปฏิบัติในเรื่องการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด เมื่อไม่แน่ว่าท้องที่หมู่บ้านหนึ่งอยู่ในเขตของจังหวัดใดในระหว่าง 2 จังหวัด ทีมีเขตติดต่อกัน กระทรวงมหาดไทยมอบให้ข้าหลวงตรวจการมหาดไทยภาคเป็นประธานของคณะกรรมการ ให้มีอำนาจกำหนดเขตระหว่าง 2 จังหวัดนี้ให้แน่นอน แล้วว่าการกำหนดเขตระหว่างจังหวัดนี้ไม่จำต้องทำเป็นประกาศกำหนดเขตตำบล โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457เพียงแต่ทำเป็นบันทึกข้อตกลงระหว่างจังหวัดทั้งสองพร้อมทั้งทำแผนที่แสดงแนวเขตให้ชัดแจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานทั้งทำแผนที่แนวเขตให้ชัดแจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานก็พอแล้ว ข้อหลวงตรวจการ ฯ ภาคจึงปฏิบัติการตามคำสั่งดังนี้ การกำหนดเขตจังหวัดทั้งสองจึงเป็นการชอบแล้ว
ในปี พ.ศ.2498 นั้น ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลได้ถูกยุบเลิกไปก่อนแล้ว ไม่มีสมุหเทศาภิบาลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะขออนุมัติในการที่จะเปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 6 แต่เมื่ออำนาจหน้าที่ในการบริหารตรวจการของสมุหเทศาภิบาลย่อมตกไปอยู่กับกระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยสั่งการและมอบให้ข้าหลวงตรวจการ ฯ ภาค เป็นผู้ดำเนินการกำหนดเขตจังหวัดให้แน่นอน การที่ข้าหลวงตรวจการ ภาคกำหนดเขตจังหวัดจึงเป็นการชอบ แม้จะมีผลเป็น+เปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้านและตำบลด้วย ในปี พ.ศ.2497 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ออกใช้แล้ว การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดหรือเขตอำเภอจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 32 และ 39 ผู้ว่าราชการภาคไม่มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดได้ ถ้าผู้ว่าราชการภาคกำหนดแนวเขตจังหวัดใหม่ ทำให้ที่พิพาทซึ่งเคยอยู่ในเขตจังหวัดจะต้องไปอยู่ในเขตจังหวัด บ.ก็ยังต้องถือว่าที่พิพาทยังขึ้นอยู่กับจังหวัด จ. ศาลจังหวัด จ. มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับที่พิพาท
of 2