พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสและผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ท. สามีชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จดทะเบียนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ท. จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและมีคำขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง ท. กับจำเลยที่ 1 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในการจัดการสินสมรสของสามีภริยา ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) บัญญัติให้สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง และหากสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 บัญญัติให้อำนาจแก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในกรณีนี้เป็นเพียงการขอให้เพิกถอนการจัดการสินสมรสที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจัดการไปโดยปราศจากอำนาจเพื่อให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาเป็นสินสมรสตามเดิม ทั้งยังเป็นการดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนรักษาสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1477 ซึ่งบัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ฟ้องทายาทโดยธรรมหรือผู้จัดการมรดกของ ท. สามีโจทก์ที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยด้วย ก็หาทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของภริยาที่มีสามี และการบังคับตามสัญญากู้เงินที่เกิดจากหนี้ค่าทอง
การฟ้องและการดำเนินคดีไม่อยู่ในบังคับของการจัดการสินสมรสที่ ป.พ.พ. มาตรา 1476 บัญญัติให้สามีและภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งตามมาตรา 1477 ยังได้บัญญัติรับรองให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ด้วย ดังนั้น แม้จะได้ความตามข้อนำสืบของจำเลยโดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีโดยชอบด้วยกฎหาย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดี: สิทธิการครอบครองที่ดินและบ้านของบริวารในสินสมรส
คดีก่อนสามีผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับผู้ร้องแต่ไม่มีพยานมาไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าสามีผู้ร้องอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทในฐานะบริวารของจำเลยไม่ได้มีอำนาจพิเศษที่จะครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิความเป็นเจ้าของได้ การยื่นคำร้องของสามีผู้ร้องถือเป็นการจัดการทรัพย์สินบ้านพิพาทซึ่งถือว่าเป็นสินสมรสหรือกรรมสิทธิ์รวมระหว่างสามี ผู้ร้องกับผู้ร้องในนามของผู้ร้องด้วย ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องผู้ร้องก็มิได้อ้างอำนาจพิเศษนอกเหนือจากที่สามีผู้ร้องอ้าง กรณีจึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยและไม่มีสิทธิมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องขับไล่ในสินสมรสและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และภริยาซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1477 ถือว่าการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
จำเลยฎีกาว่าภริยาโจทก์อนุญาตให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่าภริยาโจทก์อนุญาตให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้ครบถ้วนนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม – การรุกล้ำภารยทรัพย์ – อายุความ – สิทธิเรียกร้อง – เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิฟ้อง
อ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยจำนวน 158 แปลง แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซื้อที่ดินที่ อ. แบ่งแยกไว้มาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป การขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินดังกล่าวกลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดิน
เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.เป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป
แม้ฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส แต่ตามมาตรา 1477 บัญญัติให้คู่สมรสฟ้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดในภารยทรัพย์ยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของสามยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ย่อมฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ได้แม้จะเกินหนึ่งปีนับแต่ก่อสร้างก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.เป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป
แม้ฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส แต่ตามมาตรา 1477 บัญญัติให้คู่สมรสฟ้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดในภารยทรัพย์ยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของสามยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ย่อมฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ได้แม้จะเกินหนึ่งปีนับแต่ก่อสร้างก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: เหตุผลความจำเป็นและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ด วันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 บัญญัติว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามีฉะนั้นเมื่อคำร้อง ของ จำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีสินสมรสต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร
ป.วิ.พ.มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1477 บัญญัติว่า สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ฉะนั้นเมื่อคำร้องของจำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ดังกล่าว
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1477 บัญญัติว่า สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ฉะนั้นเมื่อคำร้องของจำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามีภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับก่อนและหลังการตรวจชำระ
โจทก์กับ ป.อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับ จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป.ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.พ.ศ.2477มาตรา 1468, 1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป.ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน และมาตรา1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตาม แต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 ป.สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวของภริยาเมื่อสามีเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ร่วม และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัว
หนังสือให้ความยินยอมของผู้ร้องมีข้อความให้คู่สมรสของผู้ร้องคือจำเลยที่2มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดเกี่ยวกับการจัดสินสมรสของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1477และผู้ร้องยังให้ความยินยอมแก่จำเลยที่2ให้มีอำนาจทำนิติกรรมทุกชนิดกับธนาคารโจทก์ได้โดยให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นการกระทำของผู้ร้องเองเมื่อจำเลยที่2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัทบ. แก่โจทก์โดยผู้ร้องได้ให้ความยินยอมในภายหลังถือได้ว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2เป็นผู้ก่อขึ้นในระหว่างสมรสผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแล้วจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องและจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490(4)แต่สินส่วนตัวของภริยาไม่ใช่ทรัพย์ที่เป็นของภริยาซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา282วรรคท้ายโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยผู้ร้องมิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์แม้หนี้ที่จำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์จะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่2กับผู้ร้องโจทก์ไม่มีอำนาจยึดที่พิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผลของการซื้อขายที่ตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ได้แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533ใช้บังคับซึ่งมาตรา1476ประกอบด้วยมาตรา1477ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่าสำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิได้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับพ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลังจึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขายเมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากพ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถซึ่งพ. ก็รู้เห็นตลอดมาแต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใดกลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่าที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็กๆปลูกอยู่ซึ่งพง บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไปแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากพ.ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไรอาศัยพ.อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจากพ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใดการที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง770,000บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้านพ.เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่งถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์