คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีมีพินัยกรรมและข้อพิพาทเกี่ยวกับส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาท
ร้อยเอก ค.กับนางง. อยู่กินเป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สินสมรสระหว่างร้อยเอกค.กับนางง.จึงต้องแบ่งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย แม้ต่อมาจะได้มีการจดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ก็ไม่กระทบกระเทือนการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสซึ่งมีอยู่ตามกฎหมายเดิม ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งมีชื่อร้อยเอก ค.กับนางง. ร่วมกันในโฉนด บางรายการได้มาและลงชื่อร่วมกันตั้งแต่ยังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียบังคับและบางรายการได้มาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมแล้วซึ่งไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่ได้มาเมื่อใดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เมื่อเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันและในโฉนดที่ดินมีชื่อร้อยเอกค.และนางง.ร่วมกัน มิได้แยกออกไว้เป็นสินส่วนตัวของนางง. แต่อย่างใด ทรัพย์ทั้งหมดที่ได้มาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสินสมรสตามกฎหมาย ต้องแบ่งกันตามส่วนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 เมื่อปรากฏว่านาง ง. ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับร้อยเอก ค.โดยนางง.ไม่มีสินเดิมนางง.ย่อมไม่มีส่วนได้ในสินสมรส สินสมรสทั้งหมดจึงเป็นของร้อยเอก ค.แต่ผู้เดียว อย่างไรก็ดีก่อนร้อยเอก ค. ถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้นาง ง.โจทก์และจำเลยทั้งสองนางง.จึงยังมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว 1 ใน 4 ส่วน ของทรัพย์มรดกทั้งหมด ร้อยเอก ค.กับนางง. เป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ก่อนแล้วการที่ร้อยเอก ค.กับนางง.จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2513 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม ซึ่งประกาศใช้ภายหลัง หากมีเจตนาจะให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยา เป็นกรรมสิทธิ์รวมคนละส่วนเท่ากันก็น่าจะระบุไว้ในทะเบียนสมรสให้ชัดแจ้ง เพราะเท่ากับเป็นข้อตกลงเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวสำหรับผู้ที่เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5เดิม นอกจากนั้นร้อยเอก ค.ยังให้เจ้าพนักงานบันทึกไว้หลังทะเบียนสมรสด้วยว่า เรื่องทรัพย์สินไม่ประสงค์ให้บันทึก ย่อมไม่อาจรับฟังว่าร้อยเอก ค.จดทะเบียนสมรสโดยเจตนาจะให้นางง.มีกรรมสิทธิ์ในสินสมรสคนละส่วนเท่ากัน นางง.มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.1 ใน 4 ส่วนของทรัพย์มรดกทั้งหมด ย่อมมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่ตกได้แก่ตนนั้นให้แก่ผู้อื่นได้ และจะเป็นโมฆะเฉพาะการยกทรัพย์ส่วนที่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกส่วนที่ตนมีสิทธิจะได้รับเท่านั้น นางง.ทำพินัยกรรมยกที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอกค.ซึ่งตนมีสิทธิ 1 ใน 4 ส่วน ให้แก่โจทก์ เมื่อรวมกับส่วนของโจทก์เองอีก 1 ใน 4 ส่วน รวมเป็นส่วนของโจทก์ 1 ใน 2 ส่วน แต่เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. โดยอ้างว่ามีสิทธิ 1 ใน 3 ส่วน เห็นควรให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์ส่วนนี้เพียง 1 ใน 3 ส่วน ตามที่ขอ สำหรับผลประโยชน์อื่นอันเกิดแต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของร้อยเอก ค. แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านี้โดยชัดแจ้งแต่ทรัพย์ดังกล่าวเป็นผลประโยชน์อันเกิดจากอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา และคำขอท้ายฎีกาโจทก์ขอให้แบ่งทรัพย์มรดกทั้งหมดตามส่วนที่ควรจะได้ เมื่อปรากฏว่าส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาเกี่ยวกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าวจึงเกี่ยวพันอยู่ในประเด็นที่โจทก์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งทรัพย์ประเภทสังหาริมทรัพย์ชนิดเครื่องลายครามและชนิดเครื่องมุก ของโบราณบางรายการ รายการละ 1 ใน 2 ส่วน แต่โจทก์ขอแบ่งโดยอ้างว่ามีสิทธิเพียง 1 ใน 3 ส่วน คำพิพากษาศาลล่างในส่วนนี้จึงเกินคำขอปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการสินสมรสและการจำหน่ายที่ดิน: อำนาจของสามีในการจำหน่ายสินบริคณห์ที่ได้มาก่อนใช้กฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1477บัญญัติว่าอำนาจจัดการสินสมรส รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ดังนั้นที่มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ ใช้คำว่าอำนาจจัดการก็ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วยเช่นกันแต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 1473 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม สามีซึ่งมีอำนาจจัดการสินบริคณห์หาแต่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ คงมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ต่อไปภายหลังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว หากการจำหน่ายสินบริคณห์นั้นไม่ใช่กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี ก่อนพิพากษายกฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการฟ้องคดี และผลต่อการยกฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของภรรยา: ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีหากไม่ใช่คดีเกี่ยวกับสินสมรส
เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกัน จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสินสมรสระงับด้วยสัญญาประนีประนอม การจัดการสินสมรสต้องผูกพันสินสมรสโดยตรง
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และ ส. ให้กับจำเลยแล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืน ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852โจทก์ซึ่งเป็นสามี จะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476, 1477 และ 1480 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาซื้อขายสินสมรสด้วยสัญญาประนีประนอม และขอบเขตการจัดการสินสมรส
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์กับ ส. ให้แก่จำเลย แล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืน ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะจึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476,1477 และ 1480 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการระงับหนี้ด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความและการจัดการสินสมรส
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และ ส. ให้กับจำเลยแล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืนส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852โจทก์ซึ่งเป็นสามี จะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476,1477 และ 1480โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุรถโดยสารประจำทาง: นายจ้างทั้งสองต้องรับผิดร่วมกัน
โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมีสามีก็ไม่จำต้องให้สามีให้ความยินยอม
โจทก์ได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายเกิน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ตัวผู้ที่จะใช้ค่าเสียหายแล้ว โดยอ้างว่ายังมิได้เรียกค่ายาและค่ารักษาพยาบาลไว้ หาทำให้คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายนั้นขาดอายุความไม่
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถโดยสารประจำทางคันเกิดเหตุและนำมาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 และปรากฏว่าพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถโดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ก็เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จะปฏิเสธความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส ต้องฟ้องร่วมกับภริยาหรือได้รับความยินยอม
เงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้เป็นเงินสินสมรสซึ่งโจทก์และภริยาย่อมเป็นผู้จัดการเงินดังกล่าวร่วมกัน อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรสนั้นด้วย การที่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนเงินกู้ดังกล่าวจากจำเลยจึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส โจทก์ต้องฟ้องร่วมกับภริยาหรือได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน.
of 8