คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
แม้ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นหญิงมีสามี แต่การฟ้องคดีมิได้เกี่ยวกับสินสมรสและไม่ได้ก่อให้เกิดภาระติดพันสินสมรสระหว่างผู้รับมอบอำนาจกับสามีจึงไม่เป็นการจัดการสินสมรส ผู้รับมอบอำนาจไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีโดยหญิงมีสามี ไม่ถือเป็นการจัดการสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี
การที่หญิงมีสามีรับมอบอำนาจมาฟ้องคดีแทนโจทก์นั้น มิได้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสและไม่ก่อให้เกิดภารติดพันซึ่งสินสมรสระหว่างผู้รับมอบอำนาจกับสามีแล้วแต่อย่างใด ย่อมไม่เป็นการจัดการสินสมรส ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีที่ไม่เกี่ยวกับสินสมรส ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีของผู้รับมอบอำนาจ
แม้ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นหญิงมีสามี แต่การฟ้องคดีมิได้เกี่ยวกับสินสมรสและไม่ได้ก่อให้เกิดภาระติดพันสินสมรสระหว่างผู้รับมอบอำนาจกับสามีจึงไม่เป็นการจัดการสินสมรสผู้รับมอบอำนาจไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีพิพาทที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและอายุความ การเพิกถอน น.ส.3
ข้อที่จำเลยและจำเลยร่วมฎีกาว่าการฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยและจำเลยร่วมมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่จำเลยและจำเลยร่วมมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การไว้แต่ศาลชั้นต้นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัย
แม้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 จะบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เมื่อปรากฏว่าได้ออกโดยคลาดเคลื่อน เช่น ออก น.ส.3 ทับที่ของบุคคลอื่นแต่ก็มิได้หมายความว่าเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขน.ส.3 ที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายและมิได้หมายความว่าการเพิกถอนหรือแก้ไข น.ส.3 ที่ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จะต้องดำเนินการตามวิธีการตามที่มาตรา 61 บัญญัติไว้เพียงประการเดียว ในบางกรณีคู่กรณีอาจเห็นว่าการดำเนินการตามมาตรา 61 อาจไม่ทันการหรือเกิดความล่าช้าเนื่องจากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งประวิงเวลาไว้ เช่นนี้ คู่กรณีก็มีสิทธิดำเนินคดีทางศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขการออกน.ส.3โดยคลาดเคลื่อนหรือโดยไม่ชอบนั้นได้ ดังจะเห็นได้จากความในวรรคท้ายแห่งมาตรา 61 ว่า 'ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไขอย่างใดแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา71 ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด' ส่วนบทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็เป็นเรื่องที่คู่กรณีโต้แย้งสิทธิในการออกโฉนดที่ดินและกำหนดระยะเวลาการฟ้องร้องไว้ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาสั่งในปัญหาพิพาทนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 60,61 หาได้มีข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้เองหากสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งตามบทบัญญัติมาตรา 55 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดสอบเขตที่ดินของตนในการรังวัดสอบเขตครั้งนี้มี ส.ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ไประวังแนวเขตได้ยืนยันว่ามีการรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย ส. จึงไม่ยอมรับรองแนวเขตด้านนี้ เมื่อ ส.ขอรังวัดสอบเขตที่ดินของจำเลยส. ก็ยืนยันว่าที่ดินที่โจทก์ที่ 1 อ้างว่าเป็นของโจทก์ที่ 1 นั้น เป็นที่ดินของจำเลย นอกจากนี้ปรากฏตามรายงานผลการรังวัดตรวจสอบ น.ส.3 ของเจ้าพนักงานที่ดินลงวันที่ 28 มิถุนายน 2522 ถึงนายอำเภอมีข้อความสำคัญว่า เมื่อโจทก์ที่ 1 กับพวกขอรังวัดสอบเขตปรากฏว่าเกิดกรณีสงสัยว่าที่ดินซึ่งจำเลยซื้อมาจะทับ น.ส.3ของโจทก์ที่1 จึงได้แจ้งให้จำเลยทราบ ครั้นจำเลยขอรังวัดสอบเขตจึงทราบแน่ชัดว่าน.ส.3ก. ของจำเลยทับ น.ส.3 ของโจทก์เป็นบางส่วน ดังนี้จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้นแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจเสนอคดีต่อศาลหรือมีอำนาจฟ้องคดีได้
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้เพิกถอน น.ส.3ก.ของจำเลยส่วนที่ออกทับ น.ส.3ของโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าได้แย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์จึงไม่มีประเด็นในเรื่องกำหนดเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีของหญิงมีสามีและประเด็นความสมบูรณ์ของฟ้องที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์เป็นหญิงมีสามีแต่โจทก์ไม่ได้แนบหนังสือให้ความยินยอมมาท้ายคำฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยมิได้อ้างเหตุแห่งการนี้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรส จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 จำเลยจะอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1475 วรรคท้ายมาใช้โดยจำเลยมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งหาได้ไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 มิได้บังคับให้มีการชี้สองสถานทุกคดีไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วก็ย่อมมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดการสินสมรส: ศาลแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถของโจทก์ได้ แม้ไม่มีความยินยอมจากสามีตั้งแต่แรก
แม้การฟ้องคดีเรื่องขับไล่ออกจากที่ดินจะถือเป็นเรื่องจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477และโจทก์เป็นหญิงมีสามี ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ก็ไม่มีผลถึงกับจะต้องยกฟ้อง เพราะเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 การที่โจทก์ยื่นหนังสือยินยอมอนุญาตให้ฟ้องคดีของสามี และศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ เป็นเรื่องศาลให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องระบุอ้างหนังสือดังกล่าวไว้ในบัญชีพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 อีก ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวและวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินร่วม การขายสินสมรสโดยไม่ยินยอม และความรับผิดทางอาญาจากการแจ้งข้อมูลเท็จ
หลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน ไว้เป็นพิเศษ อำนาจการจัดการที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นสามี และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาตามฟ้องซึ่งรวมถึงอำนาจการจำหน่ายด้วย ย่อมเป็นอำนาจของโจทก์และจำเลยที่ 1 รวมกันตามมาตรา 1476 และมาตรา 1477 แม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1เป็นหญิงหม้ายหย่ากับสามี ยังไม่มีสามีใหม่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาและสินสมรส: สัญญาประกันสมบูรณ์ ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ โดยระบุเรือนอันเป็นสินสมรสไว้ท้ายสัญญาประกันเพื่อเป็นการแสดงหลักทรัพย์ หาใช่เป็นนิติกรรมในการจัดการสินสมรสซึ่งสามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ไม่ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์และผูกพันจำเลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ส่วนจะเป็นผลทำให้มีการยึดเรือนนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกันก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโดยใช้สินสมรสเป็นหลักประกัน ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ โดยระบุเรือนอันเป็นสินสมรสไว้ท้ายสัญญาประกันเพื่อเป็นการแสดงหลักทรัพย์หาใช่เป็นนิติกรรมในการจัดการสินสมรสซึ่งสามีภริยาจะต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 ไม่สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาจึงเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์และผูกพันจำเลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา ส่วนจะเป็นผลทำให้มีการยึดเรือนนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกันก็เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสินสมรสหลังแก้กฎหมาย & ฟ้องซ้อนจากคดีเดิม
หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว อำนาจจัดการสินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับ ซึ่งมาตรา 1476 ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพัง แต่ปรากฏในสำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือในสำนวนความแล้ว และถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดีนี้ ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีก แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางการจำยอมอันเป็นคำขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อน ประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้องแย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1)
of 8