พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน: การแบ่งสินเดิมและสินสมรสเมื่อคู่สมรสถึงแก่กรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 บัญญัติให้แบ่งทรัพย์ของคู่สมรสที่ตายอย่างหย่า. และมาตรา 1513(1)(2) ก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรส หากขาดไปก็ยังต้องเอาสินสมรสใช้สินเดิมเสียก่อน. ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์อันได้ความว่าเป็นสินเดิมของ ช.จึงเป็นของช. ผู้เดียว โดยโจทก์หามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไม่. ช. ย่อมมีอำนาจจัดการกับทรัพย์ของตนโดยทำพินัยกรรมยกให้แก่พวกจำเลยไปทั้งหมดได้. เพราะไม่เป็นการเกินส่วนของตนตามมาตรา 1477.
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง. ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์. จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา. ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์.ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4 และ 5.
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้า ขอให้ศาลสั่งว่าทรัพย์สินที่ช. ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งห้าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กึ่งหนึ่ง. ให้เพิกถอนพินัยกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับสินบริคณห์ของโจทก์. จำเลยที่ 1,4 และ 5 มิได้ต่อสู้คดีและขาดนัดพิจารณา. ดังนี้ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ในทรัพย์ส่วนที่เป็นสินเดิมของ ช.. ย่อมไม่พิพากษาแบ่งให้โจทก์.ตามคำให้การยินยอมของจำเลยที่ 1,4 และ 5.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-900/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส มิฉะนั้นสิทธิในทรัพย์สินส่วนที่เกินส่วนของตนจะตกแก่คู่สมรส
ที่ว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 นั้น แม้ทรัพย์สินตามพินัยกรรมจะมีค่าไม่เกินสินบริคณห์ส่วนของตนก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ได้มีการแบ่งทรัพย์สินบริคณห์ระหว่างกัน ทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็ยังเป็นสินสมรสซึ่งสามีหรือภริยายังมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรค 2 พินัยกรรมนั้นก็มีผลให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมเพียงตามส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-900/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส มิฉะนั้นสิทธิในทรัพย์สินส่วนนั้นเป็นของคู่สมรส
ที่ว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 นั้น แม้ทรัพย์สินตามพินัยกรรมจะมีค่าไม่เกินสินบริคณห์ส่วนของตนก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ได้มีการแบ่งทรัพย์สินบริคณห์ระหว่างกัน ทรัพย์สินตามพินัยกรรมก็ยังเป็นสินสมรสซึ่งสามีหรือภริยายังมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง พินัยกรรมนั้นก็มีผลให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้รับพินัยกรรมเพียงตามส่วนของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509)
โจทก์ตั้งฐานฟ้องเป็นเรื่องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ขอให้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด และจำเลยก็ต่อสู้ว่าพินัยกรรมนั้นปลอม เจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์ จึงถือว่าการที่จำเลยไม่ยอมส่งทรัพย์ตามพินัยกรรมเป็นการละเมิดมิได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยหรือค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาใหม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจทำพินัยกรรมในส่วนของสินสมรส: พินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสเกินส่วนตนเป็นโมฆะ
บุคคลจะทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น จะกำหนดการเผื่อตายในทรัพย์สินของคนอื่นไม่ได้ หากเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตน
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า "เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย" และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตาม ก็๋ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรม หากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไมมีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า "เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย" และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตาม ก็๋ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรม หากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไมมีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินบริคณห์เกินส่วนของตนเอง: ศาลฎีกาตัดสินว่ามีผลเฉพาะส่วนของพินัยกรรมเท่านั้น
บุคคลจะทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น จะกำหนดการเผื่อตายในทรัพย์สินของคนอื่นไม่ได้ หากเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตน
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า "เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาของข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย" และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตาม ก็ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรม หากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไม่มีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า "เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาของข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย" และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตาม ก็ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรม หากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไม่มีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินร่วม: สิทธิในสินสมรสและขอบเขตการทำพินัยกรรม
บุคคลจะทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น จะกำหนดการเผื่อตายในทรัพย์สินของคนอื่นไม่ได้ หากเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินบริคณห์ให้ผู้อื่นเกินกว่าส่วนของตน
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า 'เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาของข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย' และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตามก็ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรมหากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรมพินัยกรรมก็ไม่มีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
แม้ในพินัยกรรมจะปรากฏข้อความว่า 'เพื่อมิให้ยุ่งยากจึงให้นางจ้อยภริยาของข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย' และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตามก็ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรมหากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงเท่านั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรมพินัยกรรมก็ไม่มีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, พินัยกรรม, การครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นการเป็นพยานในคดี
สามีภริยาซึ่งทำการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สินสมรสของภริยามีอยู่ 1 ใน 3 และของสามีมีอยู่ 2 ใน 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาทไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิม โจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกา ผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาทไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิม โจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกา ผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, พินัยกรรม, การครอบครอง และการเพิกถอนพินัยกรรม: สิทธิในทรัพย์สินหลังการสมรส
สามีภริยาซึ่งทำการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สินสมรสของภริยามีอยู่ 1 ใน3 และของสามีมีอยู่ 2 ใน 3
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาท ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกาผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1477 สามีภริยาทำพินัยกรรมยกทรัพย์อันเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้อื่นได้เฉพาะแต่ที่เป็นส่วนของตนเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1653 ผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้เท่านั้น มิได้ห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำบุคคลเหล่านี้เป็นพยาน
ผู้ที่ครอบครองมิได้มีเจตนาครอบครองที่พิพาท ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์มอบอำนาจให้ไวยาวัจกรดำเนินคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย โจทก์จึงมอบอำนาจให้บุคคลอีกคนหนึ่งดำเนินคดีต่อไปในชั้นฎีกาผู้รับมอบอำนาจคนหลังจึงมีสิทธิยื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251-252/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, ฟ้องซ้ำ, สิทธิรับมรดก, สินสมรส, พยานหลักฐาน
บุตรไม่อาจอ้างว่าบิดานำสินสมรสของบิดามารดามาทำพินัยกรรม ในเมื่อมารดาผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงมิได้โต้แย้งคัดค้าน
โจทก์ฟ้องคดีแรกขอให้เพิกถอนหรือทำลายพินัยกรรม แล้วมาฟ้องคดีหลังขอให้สั่งว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายอีก แม้ฟ้องคดีหลังจะมีประเด็นขอให้กำจัดมิให้รับมรดกและเรียกค่าเสียหายด้วยก็ตาม เฉพาะประเด็นให้เพิกถอนพินัยกรรมนั้นต้องถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
หากพยานฝ่ายที่นำสืบภายหลังเบิกความแตกต่างกับที่เคยเบิกความไว้ในคดีอาญาและฝ่ายที่นำสืบก่อนเพิ่งทราบเช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุตธรรม ศาลอนุญาตให้ฝ่ายนำสืบก่อนอ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานได้
โจทก์ฟ้องคดีแรกขอให้เพิกถอนหรือทำลายพินัยกรรม แล้วมาฟ้องคดีหลังขอให้สั่งว่าพินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายอีก แม้ฟ้องคดีหลังจะมีประเด็นขอให้กำจัดมิให้รับมรดกและเรียกค่าเสียหายด้วยก็ตาม เฉพาะประเด็นให้เพิกถอนพินัยกรรมนั้นต้องถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
หากพยานฝ่ายที่นำสืบภายหลังเบิกความแตกต่างกับที่เคยเบิกความไว้ในคดีอาญาและฝ่ายที่นำสืบก่อนเพิ่งทราบเช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุตธรรม ศาลอนุญาตให้ฝ่ายนำสืบก่อนอ้างสำนวนคดีอาญาเป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิม, สินสมรส, การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม, และสิทธิของผู้จัดการมรดก
"สินเดิม" คือทรัพย์สินของผัวหรือของเมียที่มีอยู่ก่อนแต่งงานซึ่งอาจนำมาใช้ประกอบการทำมาหากินให้เกิดผลได้หรืออาจนำมาใช้เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในภายหลังที่ทำการสมรสแล้ว ถึงแม้จะมิได้นำมาบริคณห์กันในเวลาแต่งงานแล้วก็ดี
การที่โจทก์มีเงินสดติดตัวมาและมีเครื่องทองเพชรสำหรับแต่งตัวเป็นสินเดิม เมื่อมาอยู่กับเจ้ามรดก แม้เจ้ามรดกทำแต่ราชการอย่างเดียวมิได้ค้าขายก็ถือว่ามีสินเดิม มีสิทธิขอแบ่งสินสมรสได้
ผู้ทำพินัยกรรมจะเอาส่วนสินสมรสของโจทก์ไปทำยกให้ผู้อื่นไม่ได้
เมื่อพินัยกรรมได้ระบุยกทรัพย์สินให้ น.ส. หนุ่ย ๆ ตายก่อนเจ้ามรดก ต้องเอาส่วนของ น.ส.หนุ่ยมาแบ่งแก่ทายาทที่มิได้มีคำสั่งกำจัดมรดกทุกคน
การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสและส่วนมรดก ไม่เป็นการฟ้องให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรม จึงไม่จำต้องฟ้องภายใน
3 เดือน นับแต่ทราบข้อความในพินัยกรรม
การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่เป็นการรับรองพินัยกรรม พินัยกรรมระบุจำนวนเงินที่จะใช้ทำศพแน่นอน ถ้าผู้จัดการใช้เงินเกินไปจากที่กำหนด ที่ประชุมใหญ่ให้ถือว่าเป็นหนี้ทางศีลธรรม ซึ่งผู้ออกเงินไป สมัครออกไปเองจะหักเงินนี้จากกองมรดกไม่ได้
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4
การที่โจทก์มีเงินสดติดตัวมาและมีเครื่องทองเพชรสำหรับแต่งตัวเป็นสินเดิม เมื่อมาอยู่กับเจ้ามรดก แม้เจ้ามรดกทำแต่ราชการอย่างเดียวมิได้ค้าขายก็ถือว่ามีสินเดิม มีสิทธิขอแบ่งสินสมรสได้
ผู้ทำพินัยกรรมจะเอาส่วนสินสมรสของโจทก์ไปทำยกให้ผู้อื่นไม่ได้
เมื่อพินัยกรรมได้ระบุยกทรัพย์สินให้ น.ส. หนุ่ย ๆ ตายก่อนเจ้ามรดก ต้องเอาส่วนของ น.ส.หนุ่ยมาแบ่งแก่ทายาทที่มิได้มีคำสั่งกำจัดมรดกทุกคน
การที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสและส่วนมรดก ไม่เป็นการฟ้องให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรม จึงไม่จำต้องฟ้องภายใน
3 เดือน นับแต่ทราบข้อความในพินัยกรรม
การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่ใช่เป็นการรับรองพินัยกรรม พินัยกรรมระบุจำนวนเงินที่จะใช้ทำศพแน่นอน ถ้าผู้จัดการใช้เงินเกินไปจากที่กำหนด ที่ประชุมใหญ่ให้ถือว่าเป็นหนี้ทางศีลธรรม ซึ่งผู้ออกเงินไป สมัครออกไปเองจะหักเงินนี้จากกองมรดกไม่ได้
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4