พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-589/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติม และอายุความตาม ป.พ.พ. เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารไม่มีกำหนดอายุความ
ต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจนถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้ว คณะเทศมนตรีเทศบาลโดยนายกเทศมนตรีมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้น พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย จึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-589/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเทศบาลฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติมผิดกฎหมาย ไม่ติดอายุความอาญา
ต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจนถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้ว คณะเทศมนตรีเทศบาลโดยนายกเทศมนตรีมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2
การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: การบังคับบุคคลภายนอกคดี
เทศบาลฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารเพราะอาคารชำรุดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างฯ ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการรื้อ จำเลยว่ารื้อไม่ได้เพราะมีคนเช่าอยู่และอาศัยอยู่เช่นนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนอนการตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11,12 จะมาร้องขอให้ศาลบังคับผู้อาศัย ผู้เช่าให้ออกจากที่พิพาทไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องฟ้องเขาเป็นคดีต่างหากจึงจะบังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้ออาคารชำรุดและการบังคับผู้อยู่อาศัย: ศาลไม่อาจบังคับผู้อยู่อาศัยในคดีรื้อถอน หากไม่ได้ฟ้องเป็นคดีแยก
เทศบาลฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารเพราะอาคารชำรุดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างฯ ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการรื้อจำเลยว่ารื้อไม่ได้เพราะมีคนเช่าอยู่และอาศัยอยู่เช่นนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11,12 จะมาร้องขอให้ศาลบังคับผู้อาศัย ผู้เช่าให้ออกจากที่พิพาทไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องฟ้องเขาเป็นคดีต่างหากจึงจะบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร แม้มิใช่ผู้เสียหายทางอาญา
ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา ม.2 (4) หมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถูกประทุษร้ายได้รับความเสียหายอันเป็นที่เห็นประจักษ์โดยตรงแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารและจำเลยก็มิได้กระทำผิดทางอาญา ต่อโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้โจทก์จึงหาใช่ผู้เสียหายไม่
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำม.51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ม.11 วรรค 2 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังก่อสร้างได้ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่ง ป.พ.พ.ม.169
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำม.51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ม.11 วรรค 2 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังก่อสร้างได้ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่ง ป.พ.พ.ม.169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกรณีการก่อสร้างผิดกฎหมาย และอายุความตามหลักทั่วไป
ผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หมายถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถูกประทุษร้ายได้รับความเสียหายอันเป็นที่เห็นประจักษ์โดยตรง แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร และจำเลยก็มิได้กระทำผิดทางอาญาต่อโจทก์แต่อย่างใด ดังนี้โจทก์จึงหาใช่ผู้เสียหายไม่
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำมาตรา 51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11 วรรคสอง ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังแบบก่อสร้างได้ ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายแล้วก็ย่อมนำมาตรา 51 มาปรับแก่คดีไม่ได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11 วรรคสอง ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นร้องขอต่อศาลให้ผู้กระทำผิดเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือรื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแผกไปจากแผนผังแบบก่อสร้างได้ ทั้งโจทก์ก็ได้โต้แย้งให้แก้ไขแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับได้
ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารมิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้ ก็ต้องใช้อายุความตามหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164