พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมจำนองสินสมรส & การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีเมื่อคู่ความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอกันส่วนของผู้ร้อง ศาลสั่งให้ผู้ร้องวางเงินประกันความเสียหายตามคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่ง ศาลก็มิได้สั่งงดสืบพยานโจทก์ซึ่งได้นัดไว้แล้ว และผู้ร้องทราบนัดแล้ว โจทก์และผู้ร้องจึงต้องไปศาลตามนัดเมื่อผู้ร้องไม่ไปศาล ศาลชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่จำต้องนัดสืบพยานจำเลย คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมกฎหมายมิได้บัญญัติให้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นภรรยาจำเลยรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้ว การที่จำเลยนำหนังสือยินยอมดังกล่าวไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดิน การจำนองย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ร้องทำหนังสือให้ความยินยอมจำเลยซึ่งเป็นสามีทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนองรวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นเสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่าผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำนองจึงต้องผูกพันที่ดินทั้งหมดรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดิน สินบริคณห์ และความยินยอมในการทำนิติกรรม การสัตยาบันหนี้ และการดำเนินกระบวนพิจารณา
การที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์และผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่ไปศาลตามนัดโดยศาลมิได้สั่งงดสืบพยาน ศาลจึงดำเนินกระบวนพิจารณาไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดระเบียบ
เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลย
คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่
การที่ผู้ร้องทำหนังสือระบุว่า ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนอง รวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้น เสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ก่อหนี้กับผู้ร้อง
เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลย
คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่
การที่ผู้ร้องทำหนังสือระบุว่า ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนอง รวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้น เสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ก่อหนี้กับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกันส่วนทรัพย์สินในกรณีจำนองที่ดิน และการสัตยาบันหนี้ร่วม โดยไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์และผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่ไปศาลตามนัดโดยศาลมิได้สั่งงดสืบพยาน ศาลจึงดำเนินกระบวนพิจารณาไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดระเบียบ เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอกันส่วนแล้วไม่คัดค้าน กรณีเป็นเรื่องพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ ศาลไม่ต้องนัดสืบพยานจำเลย คำยินยอมของสามีหรือภรรยาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้นไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน เมื่อผู้ร้องรับว่าหนังสือยินยอมเป็นหนังสือของผู้ร้องที่ถูกต้องแท้จริงแล้วก็นำไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินได้ หาเป็นโมฆะไม่ การที่ผู้ร้องทำหนังสือระบุว่า ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้จำนอง รวมทั้งกิจการอื่นที่กระทำไปโดยผู้ร้องขอร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้น เสมือนผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ ถือว่า ผู้ร้องยอมให้สัตยาบันหนี้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ก่อหนี้กับผู้ร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องได้เอง นายจ้างเรียกค่าจ้างคืนไม่ได้
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่เป็นสินสมรส การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องได้ตามลำพังตนเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี การที่โจทก์มาทำงานสายและทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ครบตามเวลาที่กำหนด หากเป็นการผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยชอบที่จะลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวได้ หาชอบที่จะเรียกเงินค่าจ้างคืนจากโจทก์ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัว หญิงมีสามีฟ้องได้เอง นายจ้างเรียกค่าจ้างคืนไม่ได้
สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่เป็นสินสมรส การฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจ้างแรงงานมิใช่เป็นการจัดการสินสมรส โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีจึงมีอำนาจฟ้องได้ตามลำพังตนเอง โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี การที่โจทก์มาทำงานสายและทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ครบตามเวลาที่กำหนด หากเป็นการผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จำเลยชอบที่จะลงโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวได้ หาชอบที่จะเรียกเงินค่าจ้างคืนจากโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5748/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่สุจริต
ทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการยกให้โดยเสน่หาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ใช้บังคับ และเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1กับโจทก์นั้น หากต่อมาเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1ได้นำเอาสินสมรสนั้นไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ผู้เป็นสามี และโจทก์ก็มิได้ให้สัตยาบัน ในเรื่องอำนาจของโจทก์ที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมขายฝากนั้น ไม่พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 และมาตรา 137 วรรคสองซึ่งยกเลิกไปแล้ว แต่ต้องนำบทบัญญัติมาตรา 1480 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาปรับ โดยต้องพิจารณาว่าในขณะทำนิติกรรมขายฝากจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกระทำการโดยสุจริตหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการระงับหนี้ด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความและการจัดการสินสมรส
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และ ส. ให้กับจำเลยแล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืนส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852โจทก์ซึ่งเป็นสามี จะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476,1477 และ 1480โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสัญญาซื้อขายสินสมรสด้วยสัญญาประนีประนอม และขอบเขตการจัดการสินสมรส
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์กับ ส. ให้แก่จำเลย แล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืน ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะจึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476,1477 และ 1480 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสินสมรสระงับด้วยสัญญาประนีประนอม การจัดการสินสมรสต้องผูกพันสินสมรสโดยตรง
ส. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสของโจทก์และ ส. ให้กับจำเลยแล้วผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องเรียกเบี้ยปรับและมัดจำคืน ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมชำระเบี้ยปรับและคืนเงินมัดจำให้จำเลย ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านได้ระงับไปแล้วด้วยผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852โจทก์ซึ่งเป็นสามี จะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้ ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความก็เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสโดยเฉพาะ จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476, 1477 และ 1480 โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะฟ้องขอให้เพิกถอนมิได้เช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การพิสูจน์ความประมาท และขอบเขตความรับผิดของนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องเจาะจงตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ส. จำกัด ไม่ต้องระบุว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ นั่งรถยนต์รับจ้างสามล้อที่ ก. เป็นผู้ขับขี่แล่นมาถึงบริเวณใกล้ที่พักผู้โดยสารประจำทางใกล้สะพานสท้านนภา โฉมหน้าจากสถานีขนส่งสายใต้ไปทางสามแยกท่าพระถูกรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 81 คันหมายเลขทะเบียน กท.จ.3991 พุ่งเข้าชนนั้นย่อมชัดแจ้งเข้าใจได้แล้วว่ารถชนกันที่ใด ส่วนค่าเสียหายโจทก์บรรยายฟ้องแยกชนิดประเภทความเสียหายว่าเป็นเงินส่วนละเท่าใด ความเสียหายที่ทำให้โจทก์เสียฆานประสาทก็บรรยายฟ้องว่าไม่อาจรับความรู้สึกในการดมกลิ่นอีก ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสเป็นการฟ้องตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ แต่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในภายหลัง คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายดังกล่าวไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ได้นำรถยนต์โดยสารประจำทางคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 มาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารของรถยนต์โดยสารประจำทางดังกล่าวก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่ารถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย