พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยาน-ประเด็นสินสมรส: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนก่อนพิพากษา
คำแถลงโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียว ส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่อง กำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป. ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน4,000,000 บาท และให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่าป. รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยมีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอมโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรส ระหว่าง ป. กับจำเลยแล้ว การที่ ป. ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, งดสืบพยาน, และผลของสัญญาจำนองสินสมรส
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่า ที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา จำเลยไม่เห็นพ้องด้วย เพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียวส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่า ป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว
จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่า ป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว
จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยผู้รับโอนรู้อยู่แล้วว่าเป็นการโอนจากคู่สมรสโดยไม่สุจริต สิทธิในการเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วย กฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ และติดจำนองธนาคารเป็น ประกันหนี้เงินกู้จำนวน 1,000,000 บาท ต่อมา จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินกับบ้าน ดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ราคา 1,300,000 บาท ปัญหาจึงมีว่าคำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ที่วินิจฉัยว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จะมีผลผูกพันและใช้ยันจำเลยที่ 2ได้หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยทั้งสองหรือไม่ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2)บัญญัติว่าคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงมีภาระการพิสูจน์ที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถพิสูจน์แสดงสิทธิที่ดีกว่าได้ คำพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางดังกล่าว ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 รู้จักคุ้นเคยใกล้ชิดสนิทสนมกันมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้แนะนำให้โจทก์รู้จักจำเลยที่ 1 จนกระทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1เป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองประกอบธุรกิจด้วยกัน โจทก์อาศัยอยู่ในบ้านที่พิพาทเพียงลำพังคนเดียวและใช้บ้านพิพาทเป็นที่ตั้งบริษัทประกอบธุรกิจของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ออกไปอาศัยอยู่ที่อื่นต่างหากและจำเลยทั้งสองได้พูดคุยเกี่ยวกับการฟ้องหย่ากับโจทก์จึงมีเหตุผลเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงฐานะและความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาโดยตลอดและทราบว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วย ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงไม่อาจอ้างได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์คำพิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงผูกพันจำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย จึงเป็นการรับโอนโดย ไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากทรัพย์มรดกและการโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ช. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141 ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช. ได้หย่าขาดจากกันประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช. ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับจะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ช. ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส การที่ ช. นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช. ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการขายที่ดินมรดกและการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอม
ช.กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5พ.ศ.2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช.ได้หย่าขาดจากกัน ประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช.ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจาก ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับ จะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ ช.ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส
การที่ ช.นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช.ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1 จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ได้
การที่ ช.นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช.ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1 จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7772/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองสินสมรส: สิทธิบุริมสิทธิของผู้รับจำนองสุจริตเหนือเจ้าหนี้อื่น
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อ ท.ภริยาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ในเบื้องต้น ท. ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว เมื่อโจทก์คัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบให้เห็นตามข้อกล่าวอ้าง ท.ภริยาจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดพิพาทไว้แก่ผู้ร้อง โดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ทราบว่า จำเลยมี ส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่งผู้ร้องจึงมิได้ให้ท.นำจำเลยมาให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทตามระเบียบ และเมื่อโจทก์มิได้สืบพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ร้องรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริตจึงต้องถือว่าผู้ร้องรับจำนองโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ดังนี้ การจำนองดังกล่าวจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดพิพาททั้งหมดก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7772/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินพิพาท: สิทธิของผู้รับจำนองสุจริต แม้ที่ดินนั้นเป็นสินสมรส
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อ ท.ภริยาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ในเบื้องต้น ท.ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว เมื่อโจทก์คัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบให้เห็นตามข้อกล่าวอ้าง
ท.ภริยาจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดพิพาทไว้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ทราบว่า จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่งผู้ร้องจึงมิได้ให้ ท.นำจำเลยมาให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทตามระเบียบ และเมื่อโจทก์มิได้สืบพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ร้องรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต จึงต้องถือว่าผู้ร้องรับจำนองโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ดังนี้การจำนองดังกล่าวจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดพิพาททั้งหมดก่อนเจ้าหนี้อื่น
ท.ภริยาจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดพิพาทไว้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ทราบว่า จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่งผู้ร้องจึงมิได้ให้ ท.นำจำเลยมาให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทตามระเบียบ และเมื่อโจทก์มิได้สืบพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ร้องรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต จึงต้องถือว่าผู้ร้องรับจำนองโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ดังนี้การจำนองดังกล่าวจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดพิพาททั้งหมดก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองสินสมรส: สิทธิเจ้าหนี้จำนอง vs. การเพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6889/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองสินสมรส: สิทธิของเจ้าหนี้จำนองเมื่อสามีไม่ได้ยินยอม แต่ยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรม
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสของจำเลยกับนาง ท. ซึ่งการนำไปจำนองแก่ผู้ร้องเป็นการจัดการสินสมรสที่นาง ท. กับจำเลยต้องจัดการร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(1) แม้จะฟังว่านาง ท. จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่ผู้ร้องโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยผู้เป็นสามีก็ตาม แต่ผลก็คือจำเลยอาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 แต่ตราบใดที่ศาลยังมิได้เพิกถอนสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างนาง ท.กับผู้ร้องย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการจำนอง ผู้ร้องจึงชอบที่จะได้เงินจากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในส่วนที่เป็นของจำเลยด้วย โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรส: สัญญาตกลงระหว่างคู่สมรส, การบอกล้างสัญญา, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง