พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรส: สัญญาตกลงระหว่างคู่สมรส, การบอกล้างสัญญา, และสิทธิของบุคคลภายนอก
ทรัพย์พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1469
แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามีภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับก่อนและหลังการตรวจชำระ
โจทก์กับ ป.อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับ จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป.ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.พ.ศ.2477มาตรา 1468, 1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป.ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน และมาตรา1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตาม แต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 ป.สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และการเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์และจำเลยที่1ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อพ.ศ.2529อันเป็นเวลาภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์แต่เป็นสินสมรสตามบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์และจำเลยที่1ได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรสการที่จำเลยที่1โอนขายที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยที่1เป็นเจ้าของแก่จำเลยที่2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1476(1)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533มาตรา10อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำนิติกรรมนั้นและเมื่อจำเลยที่2รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา1480และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวจะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะส่วนโจทก์หาได้ไม่แต่เมื่อโจทก์ขอมาเพียงเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้นศาลก็มิอาจพิพากษาให้เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฎในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ไม่สุจริต
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อ พ.ศ.2529 อันเป็นเวลาภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์ แต่เป็นสินสมรสตามบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 มาตรา 10 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำนิติกรรมนั้น และเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 1480 และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวจะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนโจทก์หาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์ขอมาเพียงเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้นศาลก็มิอาจพิพากษาให้เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5266/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกคดีและสิทธิในการปล่อยทรัพย์: การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและการอ้างว่าเป็นสินสมรส
แม้ผู้ร้องจะเป็นภริยาของจำเลยแต่ก็มิได้ถูกฟ้องด้วยจึงเป็นบุคคลภายนอกและชอบที่จะนำคดีตามที่กล่าวอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการจัดการสินสมรสโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมด้วยไปฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเป็นอีกคดีหนึ่งจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความด้วยหาได้ไม่ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าวเมื่ออ้างว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันเท่ากับยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์ด้วยผู้ร้องจึงหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส และผลของการไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสในการทำนิติกรรม
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476สำหรับคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรสถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน"ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป. และป. มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะชายนิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.หรือไม่ถ้าเป็นสินสมรสแล้วป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้นทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องกรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน และความยินยอมของคู่สมรสในสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณี คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1476 สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม2532 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ก่อนแก้ไขในปี 2533 ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน" ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. และ ป.มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย นิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.หรือไม่ ถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้น ทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 ที่แก้ไขแล้วในปี 2533 จึงยังไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม2532 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ก่อนแก้ไขในปี 2533 ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน" ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. และ ป.มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย นิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.หรือไม่ ถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้น ทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 ที่แก้ไขแล้วในปี 2533 จึงยังไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย, ทางจำเป็น, การผิดสัญญา, สิทธิในการใช้ทาง, การจัดการสินสมรส
การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องเป็นการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480หากเป็นการจัดการเกี่ยวกับสินส่วนตัวคู่สมรสฝ่ายนั้นย่อมจัดการได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1473คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสจึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้นไม่ได้ให้การเลยว่าที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นสินสมรสและการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการจัดการสินสมรสแต่อย่างใดคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใดระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลยโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาททั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วยกับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วนถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันโดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง6เมตรเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง6เมตรด้วยสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกันเมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นโดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง6เมตรและต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญาจำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรส, สัญญาจะซื้อจะขาย, สิทธิใช้ทาง, การบังคับตามสัญญา
การจัดการทรัพย์สินที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้น จะต้องเป็นการจัดการสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480หากเป็นการจัดการเกี่ยวกับสินส่วนตัวคู่สมรสฝ่ายนั้นย่อมจัดการได้เองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1473 คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส จึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น ไม่ได้ให้การเลยว่าที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นสินสมรสและการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการจัดการสินสมรสแต่อย่างใดคำให้การจำเลยจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใด ระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลย โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาท ทั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วย กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วน ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง 6 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ด้วย สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น โดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง 6 เมตร และต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใด ระบุเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์กับจำเลย โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าอย่างไรมูลเหตุที่มีการทำสัญญาโดยแนบสำเนาสัญญาดังกล่าวแผนที่พิพาท ทั้งยังมีภาพถ่ายสภาพถนนที่ถูกจำเลยปิดกั้นมาท้ายฟ้องด้วย กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยครบถ้วน ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกัน โดยจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินของโจทก์และจำเลยได้ตกลงทำสัญญากับโจทก์โดยยอมตกลงทำถนนกว้าง 6 เมตร เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ และยอมให้โจทก์ใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ทั้งจำเลยได้สัญญาว่าจะทำถนนเชื่อมจดทางเข้าบ้านโจทก์มีขนาดความกว้าง 6 เมตร ด้วย สัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ได้โอนขายที่ดินแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น โดยต้องทำถนนเป็นทางเชื่อมติดต่อมาจนถึงประตูบ้านโจทก์มีขนาดกว้าง 6 เมตร และต้องยอมให้โจทก์ใช้ถนนทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ตามสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์และไม่มีสิทธิที่จะปิดทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายและจำนองสินสมรสโดยบุคคลภายนอกที่สุจริต: โจทก์ต้องพิสูจน์ความไม่สุจริต
เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้โจทก์และจำเลยที่1จะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับจำเลยที่1ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่2โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์และจำเลยที่2นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่3แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่3ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3ไม่สุจริตอย่างไรโจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่2และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว