พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การกำหนดค่ารายปีสำหรับพื้นที่ที่เจ้าของใช้เอง และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
ค่ารายปีนั้น มาตรา 8 วรรคสองและวรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ให้ความหมายว่า จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ จึงแสดงว่าค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร คดีนี้โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่จำหน่ายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไป ดังนั้น โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์ในส่วนที่เป็นพื้นที่ขายจากการจำหน่ายสินค้า ส่วนการนำอาคารห้างสรรพสินค้าให้ผู้อื่นเช่าย่อมได้ค่าเช่า ลักษณะการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินแตกต่างกัน พื้นที่ขายเป็นพื้นที่ที่โจทก์ใช้ประโยชน์เองจึงเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินค่ารายปี โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ได้ แต่การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีพื้นที่ขายอัตราตารางเมตรละ 622.65 บาทต่อเดือน โดยวิธีเทียบเคียงจากพื้นที่ของโจทก์ที่นำออกให้บุคคลภายนอกเช่าซึ่งอยู่ในอาคารเดียวกันกับพื้นที่ขายของโจทก์เพียงประการเดียว ไม่เป็นการคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกัน การประเมินค่ารายปีและคำชี้ขาดของจำเลยจึงไม่ชอบ และเมื่อศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าคำชี้ขาดค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2559 ที่กำหนดค่ารายปี สำหรับพื้นที่ขายของโจทก์ที่พิพาทในอัตราตารางเมตรละ 220 บาทต่อเดือน ชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2563 ประกอบกับไม่ปรากฏว่ามีปัจจัยอื่นที่จะทำให้ค่ารายปีในปีภาษี 2560 แตกต่างไปจากเดิม จึงเห็นควรกำหนดค่ารายปีส่วนพื้นที่ขายสำหรับปีภาษี 2560 ในอัตราตารางเมตรละ 220 บาทต่อเดือน
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ออกใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน โดยกำหนดให้หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ซึ่งปัจจุบันอัตราร้อยละ 5 ต่อปี และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้บทบัญญัติมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ จึงต้องกำหนดดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดดังกล่าว และอัตราดอกเบี้ยตามมาตรา 7 อาจปรับเปลี่ยนโดยพระราชกฤษฎีกา จึงให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไว้เกินให้แก่โจทก์ภายในสามเดือนนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด หากไม่คืนภายในกำหนดให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันครบกำหนดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 วรรคสอง บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ออกใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน โดยกำหนดให้หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ซึ่งปัจจุบันอัตราร้อยละ 5 ต่อปี และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้บทบัญญัติมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ จึงต้องกำหนดดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดดังกล่าว และอัตราดอกเบี้ยตามมาตรา 7 อาจปรับเปลี่ยนโดยพระราชกฤษฎีกา จึงให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ชำระไว้เกินให้แก่โจทก์ภายในสามเดือนนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด หากไม่คืนภายในกำหนดให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันครบกำหนดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 วรรคสอง บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14977/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้าและเครื่องชั่งน้ำหนัก
มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติว่า "เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ท่านให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ..." ซึ่งมาตรา 5 บัญญัตินิยามของคำว่า "โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ" ให้กินความถึงแพด้วยเท่านั้น มิได้กำหนดความหมายไว้โดยเฉพาะหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ติดตั้งยึดติดอยู่บนคานปูนที่วางพาดระหว่างเสาไฟฟ้าแรงสูงสองต้น สูงจากพื้นประมาณ 8 เมตร เสาไฟฟ้าทั้งสองต้นหล่อด้วยปูนมีฐานติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินซึ่งลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง แม้หม้อแปลงไฟฟ้าจะติดตั้งอยู่บนคานปูนมิได้ยึดติดกับพื้นดิน และสามารถเคลื่อนย้ายออกไปจากเสาไฟฟ้าได้ แต่โดยสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ซึ่งต้องใช้เป็นประจำอยู่กับเสาไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ในการแปลงค่ากระแสไฟฟ้าจ่ายให้แก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยประเมินภาษี ก็ประเมินค่ารายปีของหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งย่อมรวมถึงเสาไฟฟ้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันด้วย ทั้งโจทก์เองก็ได้ให้ผู้เช่าเช่าใช้ประโยชน์จากหม้อแปลงและอุปกรณ์ดังกล่าวในอุตสาหกรรมของผู้เช่าโดยโจทก์ได้รับค่าเช่าจากทรัพย์สินส่วนนี้ด้วย หม้อแปลงไฟฟ้าจึงเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งและยึดติดอยู่กับเสาไฟฟ้าซึ่งติดตรึงถาวรอยู่กับพื้นดินอันก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจทก์ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตามมาตรา 6 (1) หม้อแปลงไฟฟ้าจึงเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยกำหนดค่ารายปีในส่วนของหม้อแปลงไฟฟ้าโดยนำค่าเช่าที่โจทก์ได้รับมาเป็นเกณฑ์จึงเป็นไปตามมาตรา 8 วรรคสอง แล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ตามมาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น" ตามภาพถ่ายอาคารชั่งน้ำหนัก ประกอบกับแปลนแสดงอาคารพร้อมเครื่องจักร แสดงให้เห็นสภาพโครงสร้างของเครื่องชั่งน้ำหนักว่า มีเครื่องชั่งน้ำหนักระบบคานชั่ง และระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงไปใต้พื้นดินด้านข้างของห้องเครื่องชั่งทั้งสองด้าน ใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นเครื่องจักรกลและต่อเนื่องไปยังห้องเครื่องชั่ง ส่วนเครื่องจักรกลนั้นอยู่ใต้ดินและอยู่นอกอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังห้องเครื่องชั่งที่มีระบบบันทึกน้ำหนัก เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดอยู่กับตัวห้องเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักจึงไม่ใช่ส่วนควบของโรงเรือนที่เป็นห้องเครื่องชั่ง แต่สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงใต้พื้นดินและติดตรึงถาวรกับพื้นดินจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว และจำเลยไม่ต้องคืนเงินภาษีแก่โจทก์
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ตามมาตรา 13 บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น โรงสี โรงเลื่อย ฯลฯ ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมินท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น" ตามภาพถ่ายอาคารชั่งน้ำหนัก ประกอบกับแปลนแสดงอาคารพร้อมเครื่องจักร แสดงให้เห็นสภาพโครงสร้างของเครื่องชั่งน้ำหนักว่า มีเครื่องชั่งน้ำหนักระบบคานชั่ง และระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงไปใต้พื้นดินด้านข้างของห้องเครื่องชั่งทั้งสองด้าน ใต้คานชั่งน้ำหนักจะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับการชั่งน้ำหนักซึ่งเป็นเครื่องจักรกลและต่อเนื่องไปยังห้องเครื่องชั่ง ส่วนเครื่องจักรกลนั้นอยู่ใต้ดินและอยู่นอกอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก เมื่อมีรถบรรทุกผ่านเครื่องชั่งคอมพิวเตอร์จะทำงานและส่งข้อมูลน้ำหนักรถและวัตถุที่บรรทุกไปยังห้องเครื่องชั่งที่มีระบบบันทึกน้ำหนัก เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงเป็นเครื่องจักรกลไกที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่ภายในอาคารเครื่องชั่งน้ำหนัก แต่ถูกติดตั้งลงใต้พื้นดินด้านข้างห้องเครื่องชั่ง และมิได้ยึดติดอยู่กับตัวห้องเครื่องชั่ง เครื่องชั่งน้ำหนักจึงไม่ใช่ส่วนควบของโรงเรือนที่เป็นห้องเครื่องชั่ง แต่สภาพของเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีระบบคานชั่งและระบบ LOAD CELL ติดตั้งลงใต้พื้นดินและติดตรึงถาวรกับพื้นดินจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นตามมาตรา 6 (1) เครื่องชั่งน้ำหนักของโจทก์จึงไม่เป็นส่วนควบที่สำคัญที่มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ติดตั้งขึ้นในโรงเรือนตามมาตรา 13 การประเมินและคำชี้ขาดของจำเลยที่ไม่ลดค่ารายปีในทรัพย์สินรายการนี้ลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีจึงชอบแล้ว และจำเลยไม่ต้องคืนเงินภาษีแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8483/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ท่อส่งน้ำฝังดินเป็นสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องจากโรงสูบน้ำ ต้องเสียภาษี
ท่อส่งน้ำทั้งสองสายของโจทก์เป็นท่อขนาดใหญ่ ยาวต่อเนื่อง และเป็นท่อเหล็กหุ้มด้วยฉนวนป้องกันมิให้เกิดสนิม ฝังอยู่ใต้ดินลึกประมาณ 2 เมตร ในเขตทางหลวงขนานไปกับถนนและอยู่ห่างจากขอบทางหลวงประมาณ 6 เมตร โดยบางช่วงมีการสร้างบ่อคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นระยะ ๆ ท่อส่งน้ำดังกล่าวมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงสูบน้ำที่ประกอบกิจการก่อให้เกิดประโยชน์และรายได้แก่โจทก์ และถือเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 5 ที่ใช้ในการประกอบอุตสาหกรรมผลิตน้ำและจำหน่ายน้ำของโจทก์ มิใช่ทรัพย์สินที่ให้งดเว้นจากการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 10 จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นิติบุคคล-ส่วนราชการ, การประเมินค่ารายปีตามกฎหมาย, และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ.ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 65 ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 1 การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมา ยอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ก็ลดลงจากเดิม 2,608,121 บาท เหลือ 1,593,190 บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่ 2 แจ้งมาจะมีจำนวน 509,823,175 บาท ตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่ 30 มีนาคม 2535 ที่ว่า กรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมิน การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ
กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษี โดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภค จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปี และมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมา โดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับชำระภาษีไว้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนที่มิชอบตามมูลค่าทรัพย์สินแทนหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย และการคืนเงินภาษีที่เรียกเก็บเกิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)และคำว่าบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำหรับการจะมีขึ้นได้ซึ่งนิติบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา65ให้มีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลส่วนอำเภอเมืองชลบุรีจำเลยที่1จึงเป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องจำเลยที่1ได้ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ตัวแทนเชิดของนิติบุคคลเป็นนิติบุคคลตามนิติบุคคลตัวการไปด้วยดังนั้นแม้จำเลยที่1เป็นตัวแทนเชิดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นนิติบุคคลก็ตามจำเลยที่1การหาใช่เป็นนิติบุคคลตามตัวการด้วยไม่ โจทก์บรรยายฟ้องไปตามใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดที่โจทก์ได้รับมายอดเงินภาษีโรงเรือนพิพาทที่โจทก์จะต้องชำระตามใบแจ้งคำชี้ขาดของจำเลยที่2ก็ลดลงจากเดิม2,608,121บาทเหลือ1,593,190บาทส่วนค่ารายปีที่จำเลยที่2แจ้งมาจะมีจำนวน509,823,175บาทตามสำเนาใบแจ้งคำชี้ขาดเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และการพิจารณาชี้ขาดของจำเลยที่2มิได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475อีกทั้งไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ที่ว่ากรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์แต่ได้นำหลักเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์ประเมินการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1และคำชี้ขาดของจำเลยที่2จึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบทกฎหมายดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้วัดภาวะเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพของประชาชนในประเทศและมีหน่วยงานทางราชการหลายแห่งได้นำไปใช้ประมาณการในการจัดเก็บภาษีโดยนำไปประเมินรายได้ของรัฐบาลวิธีการหาข้อมูลเพื่อนำมาทำดัชนีราคาผู้บริโภคจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็เอาข้อมูลมาคำนวณเพื่อทำดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นรายเดือนและรายปีและมีการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของดัชนีที่คำนวณได้นั้นในปีปัจจุบันและปีที่แล้วมาโดยเปรียบเทียบออกมาเป็นอัตราส่วนร้อยละด้วยดังนั้นการที่โจทก์นำเอาดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นข้อมูลของทางราชการมาเป็นหลักในการคำนวณค่ารายปีที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ล่วงแล้วนั้นย่อมเป็นวิธีการที่ถือว่าเหมาะสมและมีเหตุอันสมควร จำเลยที่1เป็นเพียงส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ศาลจึงไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีโรงเรือนพิพาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีนั้นจำเลยที่2เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามกฎหมายไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2รับชำระภาษีไว้จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีคืนภาษีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีรับไว้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน การเทียบเคียงค่าเช่าและอัตราดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยว่าในเขตของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีจำเลยที่1นั้นมีลักษณะของทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันกับทรัพย์สินของโจทก์มีการให้เช่ากันอันสามารถนำค่าเช่ามาเทียบเคียงในการประเมินค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สินลงวันที่30มีนาคม2535ได้พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องประเมินค่ารายปีแห่งทรัพย์สินขึ้นเองให้เห็นได้ว่าเป็นจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา8วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475โดยหาฐานในการคำนวณจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าด้วยเหตุผลที่ว่าการให้เช่าเป็นการหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังนั้นมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ให้เช่าต้องคำนึงถึงและนำมาใช้เป็นฐานของการคำนวณหาจำนวนเงินค่าเช่าได้กล่าวคือทรัพย์สินมีมูลค่าน้อยก็สมควรได้ค่าเช่าน้อยกว่าทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากและค่าเช่านั้นเกิดขึ้นตามระยะเวลาของการเช่าหรือระยะเวลาในการใช้ทรัพย์ที่เช่าใกล้เคียงกับประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารตามฐานของจำนวนเงินที่ฝากประกอบระยะเวลาที่ฝากดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงนำมาเทียบเคียงเพื่อใช้ในการคำนวณหาจำนวนค่าเช่าได้ด้วยโดยเหตุนี้การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีจำเลยที่2อาศัยมูลค่าทรัพย์สินคูณด้วยอัตราผลประโยชน์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีที่เทียบเคียงมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารโดยที่ได้ลดมูลค่าของทรัพย์สินในส่วนที่เป็นเครื่องจักรลงให้ประมาณกึ่งหนึ่งและลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นรวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วนั้นย่อมเป็นการประเมินค่ารายปีขึ้นโดยประมาณด้วยกฎเกณฑ์อันสมควรและมีเหตุผลโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการชี้ขาดตามการประเมินดังกล่าวไม่ชอบหาได้นำสืบให้เห็นว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่สมควรและมีเหตุผลสามารถนำมาเทียบเคียงในการคำนวณหาค่าเช่าอันสมควรสำหรับทรัพย์สินรายพิพาทของโจทก์ได้เหมาะสมไปกว่านี้ศาลจึงต้องฟังว่าค่ารายปีตามคำชี้ขาดของจำเลยที่2เป็นค่ารายปีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่ารายปีทรัพย์สินเพื่อจัดเก็บภาษี โดยเทียบเคียงกับค่าเช่าและอัตราดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์และจำเลยว่าในเขตของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีจำเลยที่ 1 นั้น มีลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์คล้ายคลึงกันกับทรัพย์สินของโจทก์ มีการให้เช่ากันอันสามารถนำค่าเช่ามาเทียบเคียงในการประเมินค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปีของทรัพย์สิน ลงวันที่ 30มีนาคม 2535 ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องประเมินค่ารายปีแห่งทรัพย์สินขึ้นเองให้เห็นได้ว่าเป็นจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ตามความหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475โดยหาฐานในการคำนวณจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่า ด้วยเหตุผลที่ว่าการให้เช่าเป็นการหาประโยชน์จากทรัพย์สิน ดังนั้น มูลค่าของทรัพย์สินที่ให้เช่าย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ให้เช่าต้องคำนึงถึงและนำมาใช้เป็นฐานของการคำนวณหาจำนวนเงินค่าเช่าได้กล่าวคือ ทรัพย์สินมีมูลค่าน้อยก็สมควรได้ค่าเช่าน้อยกว่าทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากและค่าเช่านั้นเกิดขึ้นตามระยะเวลาของการเช่าหรือระยะเวลาในการใช้ทรัพย์ที่เช่า ใกล้เคียงกับประโยชน์ที่ผู้ฝากเงินได้รับดอกเบี้ยจากธนาคารตามฐานของจำนวนเงินที่ฝากประกอบระยะเวลาที่ฝาก ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยจึงนำมาเทียบเคียงเพื่อใช้ในการคำนวณหาจำนวนค่าเช่าได้ด้วย โดยเหตุนี้การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีจำเลยที่ 2 อาศัยมูลค่าทรัพย์สินคูณด้วยอัตราผลประโยชน์ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีที่เทียบเคียงมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารโดยที่ได้ลดมูลค่าของทรัพย์สินในส่วนที่เป็นเครื่องจักรลงให้ประมาณกึ่งหนึ่งและลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามของค่ารายปีของทรัพย์สินนั้นรวมทั้งส่วนควบดังกล่าวแล้วนั้น ย่อมเป็นการประเมินค่ารายปีขึ้นโดยประกอบด้วยกฎเกณฑ์อันสมควรและมีเหตุผล โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าการชี้ขาดตามการประเมินดังกล่าวไม่ชอบหาได้นำสืบให้เห็นว่ามีกฎเกณฑ์ใดที่สมควรและมีเหตุผลสามารถนำมาเทียบเคียงในการคำนวณหาค่าเช่าอันสมควรสำหรับทรัพย์สินรายพิพาทของโจทก์ได้เหมาะสมไปกว่านี้ ศาลจึงต้องฟังว่าค่ารายปีตามคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นค่ารายปีที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่ารายปี, การเพิ่มค่ารายปีตามสภาพค่าครองชีพ และขอบเขตที่ดินที่นำมาประเมิน
การกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่กับการกำหนดค่ารายปีในปีต่อ ๆ มานั้นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ต่างกัน การกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสองจะต้องเป็นกรณีที่ค่ารายปีที่เดิมกำหนดไว้ไม่ถูกต้องเท่านั้นส่วนมาตรา 18 บัญญัติให้นำค่ารายปีในปีล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา คดีนี้ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าค่ารายปีที่กำหนดไว้เดิมไม่ถูกต้องอย่างไร การจะเพิ่มค่ารายปีได้จึงต้องเป็นการเพิ่มตามสภาพแห่งค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอันจะมีผลให้ค่ารายปีเพิ่มขึ้นไปในตัวเอง เมื่อปรากฏว่าในปีก่อนหน้าปีพิพาทมีการเพิ่มค่ารายปีในอัตราร้อยละ 10 ของค่ารายปีในปีก่อนและในปีพิพาทก็ไม่ปรากฏว่าค่าครองชีพทั่ว ๆ ไปได้มีการเพิ่มขึ้นในลักษณะผิดปกติธรรมดา ที่มีการเพิ่มจากปีก่อน ๆ แต่อย่างใดกรณีจึงต้องเพิ่มค่ารายปีจากที่กำหนดไว้เดิมร้อยละ 10 จะกำหนดให้เพิ่มในลักษณะผิดปกติธรรมดา เช่นจะกำหนดให้เพิ่มเท่าตัวคือร้อยละ 100 ไม่ได้ เพราะจะเสมือนกับว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่ ที่ดินซึ่งเป็นพื้นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและมิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับสนามน็อก กรณีจึงมิอาจเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกับพื้นที่ของสนามน็อกบอร์ดเพื่อประเมินภาษีได้ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 6 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจหน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับเงินภาษีโรงเรือนที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินไป การคืนภาษีส่วนที่เกินจะต้องเสียดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อไม่คืนในกำหนด 3 เดือน เท่านั้นตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 39 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ได้ชำระให้แก่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การแยกค่าเช่าที่ดินและโรงงาน, ความรับผิดของผู้เสียภาษี และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
สัญญาเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าจากกระทรวงการคลังระบุเฉพาะการเช่าที่ดินเท่านั้น แต่ในที่ดินดังกล่าว มีโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างและยกให้แก่จำเลยที่ 1ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยที่ 1 อีกต่างหาก แสดงว่าการเช่าโรงงานแยกออกจากการเช่าที่ดิน ที่ดินที่ตั้งโรงงานเป็นของกระทรวงการคลัง ส่วนโรงงานเป็นของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่โจทก์จะอ้างว่ามีค่ารายปีเฉพาะค่าเช่าที่ดิน ดังนั้นการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้นำค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2มาตั้งเป็นฐานในการคำนวณค่ารายปีรวมกับค่าเช่าที่ดินแล้วกำหนดให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่ารายปีที่โจทก์เสียค่าเช่าทั้งที่ดินและโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วยจึงชอบแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาดอันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมายไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเองมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเมื่อมีการเช่าที่ดินและโรงงานแยกกัน การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
สัญญาเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าจากกระทรวงการคลังระบุเฉพาะการเช่าที่ดินเท่านั้นแต่ในที่ดินดังกล่าว มีโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ซึ่งโจทก์เป็นผู้ปลูกสร้างและยกให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าที่โจทก์ได้ทำไว้กับจำเลยที่ 1 อีกต่างหากแสดงว่าการเช่าโรงงานแยกออกจากการเช่าที่ดิน ที่ดินที่ตั้งโรงงานเป็นของกระทรวง-การคลัง ส่วนโรงงานเป็นของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบที่โจทก์จะอ้างว่ามีค่ารายปีเฉพาะค่าเช่าที่ดิน ดังนั้นการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้นำค่าเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 มาตั้งเป็นฐานในการคำนวณค่ารายปีรวมกับค่าเช่าที่ดินแล้วกำหนดให้โจทก์เสีย-ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามค่ารายปีที่โจทก์เสียค่าเช่าทั้งที่ดินและโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย จึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาด อันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 3 ได้ประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินจากโจทก์ตามอำนาจหน้าที่เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ได้พิจารณามีคำชี้ขาด อันเป็นการปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ได้กระทำการใดเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดหน้าที่ จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อได้รับแจ้งคำชี้ขาดให้เสียภาษีแล้ว แม้จะมิได้ฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด แต่ก็ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 นับว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามควรแก่พฤติการณ์แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้นำคดีไปฟ้องต่อศาลเป็นเหตุให้โจทก์ต้องฟ้องคดีเอง มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน