พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำทั่วไป 'TWO WAY' เป็นเครื่องหมายการค้า ต้องไม่ทำให้สับสนและมีลักษณะแตกต่างจากเครื่องหมายเดิม
คำว่า TWOWAY เป็นคำทั่วไปมีความหมายสองทาง ซึ่งบุคคลทั่วไปนำคำนี้ไปใช้ได้ แม้โจทก์จะจดทะเบียนคำว่า TWOWAY และ ทูเวย์ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนแล้ว ก็ไม่มีสิทธิหวงกันมิให้บุคคลอื่นใช้คำนี้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำคำนี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังต้องทำให้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด การที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการ TWOWAY หรือ 2WAYประกอบรูปลูกศรสลับหัวอันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำไปใช้ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า Tellme อันมีลักษณะขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้ง Tellme ว่าใช้ได้สองทางทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำ ฉะนั้น การที่บุคคลอื่นใช้คำว่า ทูเวย์เคค ประกอบคำว่า sunmelon โดยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะใช้กับสินค้าแป้งชนิดเดียวกับของโจทก์ แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันซึ่งไม่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทดลองงานและการบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
สัญญาจ้างระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ที่ระบุว่า ในระยะเวลา 120 วันนับจากวันเริ่มปฏิบัติงานให้ถือว่าเป็นระยะเวลาทดลองงาน บริษัทชอบที่จะเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหลังจาก 120 วันหากผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจก็จะบรรจุลูกจ้างเป็นพนักงานประจำนั้น หมายความว่า นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แต่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์เลิกจ้าง ส. เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ ส. ทราบล่วงหน้านั้น ขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 เมื่อโจทก์เลิกจ้าง ส. โดยไม่เข้าเหตุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคท้ายโจทก์จึงต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้ ส. ทราบเมื่อถึงหรือจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า เมื่อโจทก์กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน โจทก์บอกเลิกจ้าง ส. โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นการบอกเลิกจ้างก่อนวันที่ 30เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง การบอกเลิกจ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงมีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างในวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าโจทก์ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ ส. เป็นเวลา 35 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, การฟ้องเพิกถอนทะเบียน, และอำนาจฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลย เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามคำสั่งแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้วและประกอบกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 95 ย่อมถือได้ว่าการฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว ไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน
การที่นายทะเบียนพิจารณาและออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้นหาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตอย่างใดไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96(1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้
การที่นายทะเบียนพิจารณาและออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้นหาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตอย่างใดไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96(1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นและการใช้สิทธิก่อน
จำเลยใช้คำว่า byblos และ Bblos เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยวิธีเลียนแบบมาจากเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์แล้วนำไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อโจทก์ใช้ชื่อของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย แม้โจทก์ยังไม่ได้ส่งสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาจำหน่ายในประเทศไทยหรือมีตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทยก็ตาม และเมื่อโจทก์ได้มายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในสินค้าจำพวกที่ 38 สำหรับสินค้าเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกาย แต่ถูกนายทะเบียนปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนโดยอ้างว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมาย-การค้าที่จำเลยนำมายื่นขอจดทะเบียนไว้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยได้ ตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน แม้สินค้าต่างประเภท โจทก์ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้วปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้าสลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าและตัวสินค้าเป็นสำคัญหาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องคำให้การพยานเอกสารสลากเครื่องหมายการค้าและภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้วการสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไปศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม2วงวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า"EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม2วงซ้อนกันและวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMC"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมเช่นกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะการวางตัวอักษรโรมันขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมันและเส้นคลื่น2เส้นซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมันคงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้ายโจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น2เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกันส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น2เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F" จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน "F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไปส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาสินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่7ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป "EKOMAC" ก็ตามแต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตามก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้ว ปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการ-ค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้า สลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า และตัวสินค้าเป็นสำคัญ หาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ พยานเอกสาร สลากเครื่องหมาย-การค้า และภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้ว การสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม 2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMAC" ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมัน และเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F." จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว
แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้ารูป "EKOMAG" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม 2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMAC" ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้น อยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมัน และเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F." จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว
แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้ารูป "EKOMAG" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความสับสน และสิทธิในเครื่องหมายการค้าเมื่อมีการโอนสิทธิ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้วปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้าสลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าและตัวสินค้าเป็นสำคัญหาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องคำให้การพยานเอกสารสลากเครื่องหมายการค้าและภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้วการสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไปศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม2วงวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า"EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม2วงซ้อนกันและวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMC"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น2เส้นอยู่ภายในวงกลมเช่นกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะการวางตัวอักษรโรมันขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมันและเส้นคลื่น2เส้นซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมันคงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร "F" และตัวอักษรโรมันตัวท้ายโจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร "C" และเส้นคลื่น2เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกันส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น2เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว "F" จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน "F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไปส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาสินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่7ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป "EKOMAC" ก็ตามแต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตามก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสน โจทก์ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ยุติชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีแล้ว ปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลย่อมอยู่ในฐานะที่จะวินิจฉัยได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดหรือไม่ ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวย่อมต้องพิจารณาจากรูปแบบเครื่องหมายการค้าสลากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า และตัวสินค้าเป็นสำคัญหาจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่มที่ใช้สินค้าซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นแต่อย่างใดไม่ซึ่งในคดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้อง คำให้การ พยานเอกสารสลากเครื่องหมายการค้า และภาพถ่ายที่โจทก์และจำเลยอ้างส่งต่อศาลชัดเจนเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีได้ทั้งหมดแล้วการสืบพยานบุคคลไม่อาจเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานบุคคลต่อไป ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปวงกลม 2 วง วงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนา ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า"EKOMAG"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้นอยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปวงกลม2 วง ซ้อนกัน และวงกลมด้านนอกเป็นเส้นทึบหนาเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ในวงกลมด้านบนมีอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "F.KOMC"ด้านล่างของอักษรโรมันดังกล่าวมีเส้นคลื่น 2 เส้นอยู่ภายในวงกลมเช่นกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ การวางตัวอักษรโรมัน ขนาดและจำนวนตัวอักษรโรมันและเส้นคลื่น 2 เส้น ซึ่งอยู่ใต้อักษรโรมัน คงมีข้อแตกต่างกันเพียงอักษรโรมันตัวแรกโจทก์ใช้อักษร "E" ส่วนจำเลยใช้อักษร"F" และตัวอักษรโรมันตัวท้าย โจทก์ใช้อักษร "G" ส่วนจำเลยใช้อักษร"C" และเส้นคลื่น 2 เส้นในวงกลมของโจทก์เป็นเส้นบางและค่อนข้างชิดกัน ส่วนของจำเลยเป็นเส้นคลื่น 2 เส้นหนาและห่างกันมากกว่าของโจทก์ ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญยากที่สาธารณชนจะสังเกตเห็นหรือแยกแยะข้อแตกต่างดังกล่าวได้ทั้งสลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้สีเหลืองและสีขาวเหมือนกับของโจทก์ รูปลักษณะและแบบของสลากก็เหมือนกับของโจทก์ก็มากโดยเฉพาะตัวอักษรโรมันตัว"F" จำเลยทำจุดหลังอักษรโรมัน"F" ให้คล้ายกับหางด้านล่างของอักษรตัว "E" ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำทั่วไป ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นา สินค้าของโจทก์และของจำเลยจึงเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป"F.KOMAC" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 ก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูป "EKOMAC" ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องสูบน้ำทั่วไปและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการกสิกรรมเรือกสวนไร่นาซึ่งเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้ขอจดทะเบียนภายหลัง การพิพากษาต้องครบถ้วนตามคำขอ
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUIS TAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUIS TAPE ของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้ากาวเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ตามมาตรา 17แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUIS TAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531 ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 243 (1), 246 และ 247
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีก ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUIS TAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531 ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 243 (1), 246 และ 247
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีก ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการขอจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUISTAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUISTAPEของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้าการเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากันตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUISTAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),243(1),246 และ 247 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัวไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีกศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้