พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาการจดทะเบียน, การใช้, และการโฆษณา ทั้งในและต่างประเทศ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าLANCEL รายพิพาทดีกว่ากันนั้น จะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจจะนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียน การใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใดในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้ หาใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาในประเทศไทย และจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่เป็นปัญหาเท่านั้นไม่ สำหรับในประเทศไทย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนในสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8,37 และ 50ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทยกลับเป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่องหมายการค้ากัน ส่วนในต่างประเทศนั้น จำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าขายโดยใช้ชื่อ LANCEL มาตั้งแต่ปี 2519 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิด รวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วย ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศ และได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้โฆษณาหรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลย คงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCEL ก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, การจดทะเบียน, และการโฆษณาเป็นสำคัญ
ปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่ากันจะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียนการใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียนการใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใด ในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้มิใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณา ในประเทศไทยและจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่ เป็นปัญหาเท่านั้น โจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าLANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ในประเทศไทย ต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวก 8,37 และ 50 ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทยกลับเป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่องหมายการค้ากันส่วนในต่างประเทศนั้นจำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าโดยใช้ชื่อ LANCEL มาตั้งแต่ปี 2419 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิดรวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วยได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า นี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศและได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆ ของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้ โฆษณาหรือ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลยคงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCEL ก่อนโจทก์จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาจากลายลักษณ์อักษร การใช้จริง และการโฆษณา ทั้งในและต่างประเทศ
ในปัญหาที่ว่าโจทก์กับจำเลยใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าLANCEL รายพิพาทดีกว่ากันนั้น จะต้องพิจารณาถึงการได้จดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และอาจจะนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้จดทะเบียน การใช้และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้นในต่างประเทศมาพิจารณาประกอบด้วย การจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาเครื่องหมายการค้านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาสำหรับสินค้าจำพวกหรือประเภทอื่นใด ในบางกรณีก็นำมาพิจารณาประกอบกันได้ หาใช่ว่าจะต้องพิจารณาเฉพาะการจดทะเบียน การใช้ และการโฆษณาในประเทศไทย และจะต้องพิจารณาเฉพาะในสินค้าจำพวกที่เป็นปัญหาเท่านั้นไม่
สำหรับในประเทศไทย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ด้วยกันทั้งสองฝ่ายต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนในสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8, 37 และ 50ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทย-กลับ-เป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่อง-หมายการค้ากัน ส่วนในต่างประเทศนั้น จำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าขายโดยใช้ชื่อLANCEL มาตั้งแต่ปี 2519 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิด รวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วย ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศ และได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้โฆษณาหรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลย คงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCELก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
สำหรับในประเทศไทย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ที่พิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ด้วยกันทั้งสองฝ่ายต่างฝ่ายจึงไม่อาจจะอ้างสิทธิในการจดทะเบียนในสินค้าจำพวกนี้ต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกที่ 8, 37 และ 50ตั้งแต่ปี 2528 ทั้งได้โฆษณาเครื่องหมายการค้านี้ในสินค้าประเภทแว่นตา โดยลงโฆษณาในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง ส่วนโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าจำพวกใดและไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้กับสินค้าใดเลย เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้ใช้ในประเทศไทย-กลับ-เป็นเครื่องหมายการค้า LANCER ซึ่งเป็นคนละเครื่อง-หมายการค้ากัน ส่วนในต่างประเทศนั้น จำเลยก็ได้ประกอบกิจการค้าขายโดยใช้ชื่อLANCEL มาตั้งแต่ปี 2519 โดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้านานาชนิด รวมทั้งปากกาและอุปกรณ์การเขียนและเครื่องเขียนด้วย ได้จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกอื่นนอกจากเครื่องเขียนในหลายประเทศ ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้สำหรับอุปกรณ์การเขียน ปากกาและเครื่องเขียนในหลายประเทศ และได้โฆษณาสินค้าต่าง ๆของจำเลยและเครื่องหมายการค้านี้ในหนังสือโฆษณาสินค้าหลายเล่ม ส่วนโจทก์มิได้ใช้โฆษณาหรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LANCEL ในต่างประเทศเลย คงแต่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCER ในประเทศใกล้เคียงซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าคนละเครื่องหมายการค้า ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้า LANCELก่อนโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเครื่องหมายการค้า: ผู้ขอจดทะเบียนต้องทำข้อตกลงหรือฟ้องผู้มีสิทธิอื่น มิใช่ฟ้องนายทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรมทะเบียนการค้าจำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยเป็นกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการของจำเลยที่ 1ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ และมี คำขอท้ายฟ้องให้จำเลยรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้บรรยายให้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีอำนาจและหน้าที่ อะไรเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และกระทำการใด อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อมาจำเลยที่ 2 ในฐานนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่ ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับของโจทก์ โดย ส. ได้ยื่นคำขอไว้ก่อนโจทก์ จึงดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ต่อไป โจทก์ต้องดำเนินการตามกฎหมาย 2 ประการ คือทำความตกลงกับ ส. เองว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นฝ่ายได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นหรือนำคดีไปสู่ศาลโดยฟ้อง ส.ให้ศาลพิจารณาว่าโจทก์หรือส. ฝ่ายใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่ากัน มิใช่มาฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ไม่ถูกต้องหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 วินิจฉัยว่า เครื่องหมายการค้าตามคำของของโจทก์เหมือนหรือเกือบเหมือนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของ ส. และไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ จะว่าเป็นการไม่ชอบก็ไม่ได้ เพราะมาตรา 17 วรรคแรก ได้ให้อำนาจจำเลยที่ 2 ไว้เช่นนั้น โจทก์จึงต้องดำเนินการ ตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การที่จำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์โดยตรง ถือเป็นประเด็นอำนาจฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 ไว้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จึงเท่ากับจำเลยที่ 2ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของ ส. ที่ยื่นไว้ก่อน โจทก์จึงจดทะเบียนให้ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 17 วรรคแรก โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะผู้ถูกฟ้องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท และต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 ไว้ แต่จำเลยที่ 2ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์จึงเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียน ส. ที่ยื่นไว้ก่อนโจทก์จึงจดทะเบียนให้ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 17 วรรคแรก โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน และความไม่สุจริตของผู้ยื่นขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และbrother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother โดยมีคำว่า triอยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADEMARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brotherคำว่า tri และ TRADEMARK เป็นเพียงส่วนประกอบนอกจำนวนว่าเป้ฯ tribrother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่าTRADEMARK แปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brotherใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอด โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันและมีเจตนาไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และ brother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าbrother โดยมีคำว่า tri อยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADE MARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม 3 ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brother คำว่า triและ TRADE MARE เป็นเพียงส่วนประกอบบอกจำนวนว่าเป็น tri brother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่า TRADE MARK แปลว่า เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม 3 ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่อง-หมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother ใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอดโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อโต้แย้งสิทธิเครื่องหมายการค้า: อำนาจฟ้องและการจดทะเบียน
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ได้เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า "JUNIORGAULTIER" ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน เหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "JeanPaulGAULTIER" และคำว่า "J.P.GAULTIER" ซึ่งจำเลยนำมายื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 17 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งจดทะเบียน, การเพิกถอน, และสิทธิโดยพฤตินัย
โจทก์และจำเลยต่างแย่งกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน แม้จำเลยจะได้ถูกนายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนตามบทกฎหมายก็ถือได้เพียงว่า จำเลยมิได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามนิตินัยต่อไปเท่านั้น แต่เมื่อจำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยพฤตินัย เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างใช้และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยพฤตินัยมาด้วยกัน แต่จำเลยใช้มาก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า เครื่องหมายการค้าที่ไม่ต่ออายุการจดทะเบียนจนนายทะเบียนเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเสียจากทะเบียนนั้น ทำให้ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียนยังคงมีอยู่