คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลังแต่มีสิทธิเหนือกว่าจากความเป็นเจ้าของเดิมและการเลียนแบบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ไว้ในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 19 เบญจ คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายังไม่เป็นที่สุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN กับสินค้าของโจทก์จำหน่ายในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปีแล้วรวมทั้งในประเทศไทยด้วย โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ที่ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศและส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเรื่อยมาก่อนที่จำเลยจะมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยถือได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง & การเลียนแบบทำให้สาธารณชนหลงผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 19 เบญจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN(นิวแมน) จำหน่ายในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปี และยังจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2512 กับที่ประเทศอื่น ๆอีกหลายประเทศ สินค้าของโจทก์ได้ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เรื่อยมา จำเลยเพิ่งมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้คำว่า NNEWMEN(เอ็นนิวแมน) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2521 ถือว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริต และการที่จำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายที่จำเลยผลิตและจำหน่ายซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิมมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า mita มาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า mita ดีกว่าจำเลย จำเลยเป็นกรรมการของบริษัท ร. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จำเลยย่อมรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า mita โดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นเจ้าของ แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนแล้วก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเครื่องหมายการค้านั้นได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยไม่มีความตกลงคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในลักษณะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กับรัฐบาลต่างประเทศนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ เป็นเรื่องนอกประเด็น แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น และยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากมิได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 2729 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: แม้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนต่างประเทศ แต่หากไม่ได้จดทะเบียนในไทย โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
แม้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศ อังกฤษ ก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความทั้งไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศ ไทยอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 27 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนโดยฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียน แม้เป็นเจ้าของต่างประเทศ
เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ และไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายยการค้าดังกล่าวในประเทศไทย อันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 27,29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเกือบเหมือนกัน สิทธิการจดทะเบียน และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยลูกจ้าง
แม้เครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 ที่ 2จะไม่มีรูปสิงโต และดาว ภายในวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้า-เหมือนกับเครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของโจทก์ โดย มีแต่ รูปวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้าเท่านั้นแต่ ตอนบนของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอจดทะเบียนดังกล่าว มีข้อความเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่า ไลอ้อนแบรนด์เหมือนกัน ถัด จากตัวอักษรโรมันดังกล่าว เครื่องหมายการค้าทั้งสองยังมีข้อความเป็นอักษรโรมันและอักษรจีนที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันตลอดจนมีอักษรไทยเขียนว่าผงวุ้นชั้นพิเศษตราไลอ้อน เหมือนกันและตัวอักษรทั้งสามภาษาดังกล่าวมีขนาดใกล้เคียงกัน และถูก จัดวางในลักษณะเดียวกันส่วนตอนล่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็เป็นชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งต่าง ก็มีคำว่าพัฒนาสินอยู่ด้วย พร้อมทั้งเบอร์ โทรศัพท์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่าง ใช้ กับสินค้าผงวุ้นเหมือนกันตลอดจนอาจถูก เรียกขานว่าตรา ไลอ้อน ได้ เหมือนกัน จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าว เป็นเครื่องหมายการค้าที่เกือบเหมือนกันใช้ สำหรับสินค้าเดียว หรือชนิดเดียวกัน ตาม นัยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 แม้จำเลยที่ 2 จำหน่ายผงวุ้นบรรจุซอง พลาสติกร่วมกับโจทก์มาแต่ แรก ก็เป็นเพียงช่วย จำหน่ายในฐานะ ลูกจ้างโจทก์เท่านั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีข้อความและภาพเกือบเหมือนกับที่โจทก์ใช้ บรรจุผงวุ้นมาก่อนดีกว่าสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ 2 การนำเอาเหตุผลในคำพิพากษาฎีกาในคดีซึ่ง จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ในคดีนี้มาประกอบคำเบิกความของพยานเพื่อวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ มิใช่เป็นการนำคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 คดีนี้ซึ่ง มิใช่คู่ความในคดีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าเมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นก่อน – สิทธิในการฟ้องเพิกถอนยังคงมี
แม้โจทก์จะมิได้แจ้งต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าได้ตกลงกับจำเลยหรือได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดสามเดือนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 17 มาตรานี้ ก็เพียงแต่ให้นายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของฝ่ายที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อนเท่านั้นต่อมาเมื่อนายทะเบียนฯประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 21 เพื่อดำเนินการรับจดทะเบียนต่อไปโจทก์กลับยื่นคำคัดค้านตามมาตรา 22 และจำเลยยื่นคำโต้แย้งแล้ว นายทะเบียนฯก็หาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 โจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 22 วรรคสี่และวรรคห้า ดังนั้นเมื่อนายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้วถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิจารณาจากผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อนและยื่นคำขอจดทะเบียนก่อน
โจทก์จำเลยต่างไม่มีสินค้าผงวุ้นเป็นของตนเอง ต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเกือบเหมือนกันเพื่อให้ห้างที่ตนถือหุ้นซึ่งประกอบการค้าผงวุ้นได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนค้าผงวุ้นและใช้เครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2517 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าส่วนโจทก์ยื่นคำขอภายหลังจำเลยถึง 1 ปีเศษและห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ดังนี้จำเลยผู้ยื่นคำขอก่อนเพื่อประโยชน์ของห้าง พ. ซึ่งได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ยื่นก่อนและผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นผู้ยื่นก่อนแต่ละทิ้งไป
โจทก์จำเลยต่างไม่มีสินค้าผงวุ้นเป็นของตนเอง ต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเกือบเหมือนกันเพื่อให้ห้างที่ตนถือหุ้นซึ่งประกอบการค้าผงวุ้นได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า เมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนค้าผงวุ้นและใช้เครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2517 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าส่วนโจทก์ยื่นคำขอภายหลังจำเลยถึง 1 ปีเศษ และห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ดังนี้จำเลยผู้ยื่นคำขอก่อนเพื่อประโยชน์ของห้าง พ. ซึ่งได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
of 7