คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ถือเป็นการฟ้องคดีที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุฯลฯ ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์กลับยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีกเห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่ ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำแม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างแต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมายคนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้ เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำเรื่องสิทธิเครื่องหมายการค้าในขณะที่คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการฟ้องคดีซ้ำที่กฎหมายห้าม
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีก เห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่ ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำ แม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมาย คนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้ เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องซ้ำเรื่องเครื่องหมายการค้าเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ถือเป็นการฟ้องซ้ำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ. และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้. เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าHYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุฯลฯ. ศาลพิพากษายกฟ้อง. โจทก์กลับยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก. ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด. โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีก. เห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าHIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่. ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว. ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำ. แม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้าง. แต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX. ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น. ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมายคนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้. เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา. โจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือนและความแตกต่างโดยคำนึงถึงสำเนียงการออกเสียงและการใช้สินค้าประเภทเดียวกัน
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษร WINNER ประกอบกับภาพคนยืนยกมือ ภาพคนขี่ม้ากระโดดข้ามรั้วและอักษรว่าด้วยคุณภาพสินค้า ตามเอกสารหมาย จ.2 ต่อมาโจทก์ขอจดทะเบียนการค้าอักษรWINNERR ไม่มีภาพประกอบตามเอกสารหมายจ.1 ดังนี้เห็นได้ว่าความสำคัญเด่นชัดอยู่ที่คำว่า'WINNERR' กับ 'WINNER' ภาพและอักษรอื่นเป็นแต่ส่วนประกอบ และการที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่จะเพียงแต่เอามาเทียบกันแล้วชี้ขาดว่าไม่เหมือนกันเพราะมีความแตกต่างกันบางประการเท่านั้น หาได้ไม่ยังจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆประกอบด้วยว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้หรือไม่เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวในลักษณะสำคัญได้ใช้ภาษาต่างประเทศมีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันผู้ซื้อย่อมติดใจยึดถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ง่ายว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกันเครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงมีลักษณะเหมือนกัน
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายและการใช้ก่อน
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษร winner ประกอบกับภาพคนยืนยกมือ ภาพคนขี่ม้ากระโดดข้ามรั้วและอักษรว่าด้วยคุณภาพสินค้า ตามเอกสารหมาย จ.2 ต่อมาโจทก์ขอจดทะเบียนการค้าอักษร winnerr ไม่มีภาพประกอบตามเอกสารหมาย จ.1 ดังนี้ เห็นได้ว่าความสำคัญเด่นชัดอยู่ที่คำว่า "winnerr" กับ "winner" ภาพและอักษรอื่นเป็นแต่ส่วนประกอบ และการที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่ จะเพียงแต่เอามาเทียบกันแล้วชี้ขาดว่าไม่เหมือนกัน เพราะมีความแตกต่างกันบางประการเท่านั้น หาได้ไม่ ยังจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่าง ๆ ประกอบด้วยว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้หรือไม่ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวในลักษณะสำคัญได้ใช้ภาษาต่างประเทศ มีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน ผู้ซื้อย่อมติดใจยึดถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ง่าย ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงมีลักษณะเหมือนกัน
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่ พิจารณาจากความสำคัญของคำ, สำเนียง, สินค้าประเภทเดียวกัน, และการใช้ก่อน
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษร WINNER ประกอบกับภาพคนยืนยกมือ ภาพคนขี่ม้ากระโดดข้ามรั้วและอักษรว่าด้วยคุณภาพสินค้า ตามเอกสารหมาย จ.2. ต่อมาโจทก์ขอจดทะเบียนการค้าอักษร WINNERR ไม่มีภาพประกอบตามเอกสารหมายจ.1. ดังนี้เห็นได้ว่าความสำคัญเด่นชัดอยู่ที่คำว่า'WINNERR' กับ 'WINNER' ภาพและอักษรอื่นเป็นแต่ส่วนประกอบ และการที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนกันหรือไม่. จะเพียงแต่เอามาเทียบกันแล้วชี้ขาดว่าไม่เหมือนกัน.เพราะมีความแตกต่างกันบางประการเท่านั้น หาได้ไม่.ยังจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ต่างๆประกอบด้วยว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้หรือไม่. เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวในลักษณะสำคัญได้ใช้ภาษาต่างประเทศ. มีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน.ผู้ซื้อย่อมติดใจยึดถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ง่ายว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกัน. เครื่องหมายการค้าตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 จึงมีลักษณะเหมือนกัน. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2510).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อตัดสินว่าเป็นการละเมิดหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการคือ ลิงควายและกวางเฉพาะลิงนั้นถือธงด้วย ซึ่งมองไปก็เห็นลักษณะอันเด่นชัดของภาพทั้ง 3 ได้ทันทีตลอดถึงธงที่ถือก็เห็นได้ชัดเจนส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะคนขี่ควายอย่างเดียวไม่เหมือนกันรูปร่างและลักษณะท่าทางของลิงก็แตกต่างกับรูปร่างลักษณะท่าทางของคน เห็นได้ชัดดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความต่างของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือ ลิง ควายและกวาง เฉพาะลิงนั้นถือธงด้วย ซึ่งมองไปก็เห็นลักษณะอันเด่นชัดของภาพทั้ง 3 ได้ทันที ตลอดถึงธงที่ถือก็เห็นได้ชัดเจน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะคนขี่ควายอย่างเดียว ไม่เหมือนกัน รูปร่างและลักษณะท่าทางของลิงก็แตกต่างกับรูปร่างลักษณะท่าทางของคน เห็นได้ชัด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 17 และการไม่นำอายุความมาใช้
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จะนำอายุความตามมาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้ เพราะกรณีต่างกัน
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีเจตนาไม่สุจริตและอาศัยความนิยมของเครื่องหมายผู้อื่นเพื่อแสวงหาประโยชน์
โจทก์ได้ใช้คำว่า แฟ๊บ (FAB) เป็นเครื่องหมายการค้า สำหรับผงซักฟอกมาช้านานและแพร่หลาย จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้า FAB สำหรับผงซักฟอกมาช้านานและแพร่หลาย จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้า FAB ให้เหมือนกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ สำหรับสินค้าแปรงสีฟันของจำเลย โดยจำเลยเห็นว่า สินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพื่อให้ผู้ซื้อหลงว่าสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้เป็นสินค้าของเจ้าของสินค้ารายเดียวกัน สินค้าของจำเลยจะได้ขายได้ดีตามที่ผู้คนนิยมเชื่อถือสินค้าที่มีเครื่องหมายนี้มาแล้ว เมื่อโจทก์ไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายแฟ๊บ (FAB) สำหรับสินค้าจำพวกแปรงสีฟัน ปรากฏว่าจำเลย ได้ขอจดทะเบียนคำว่าแฟ๊บ (FAG) สำหรับสินค้าจำพวกแปรงสีฟันไว้ก่อนแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิง เอารูปเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเพื่อใช้กับสินค้าของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ดีกว่า จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2502)
of 7