คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อราคาที่ดินส่วนที่เหลือ การหักกลบค่าชดเชยและหลักการความเป็นธรรม
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว คงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออกพระราชกฤษฎีกาประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาก็หมายถึงวันที่ออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้นการพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511 แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตามแต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทน สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนออกจากค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี 2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้วคงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48 ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319 ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ.2516 ใช้บังคับ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์...พ.ศ.2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออก พ.ร.ฎ.ประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ.ก็หมายถึงวันที่ออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4433/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและผลกระทบต่อราคาที่ดินส่วนที่เหลือ คณะกรรมการฯ มีอำนาจหักกลบราคาที่สูงขึ้นได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 คำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยการนำเอาราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงได้รับ เมื่อคำนวณหักกลบกันแล้วเกลื่อนกลืนกันจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ เป็นการคำนวณโดยไม่สุจริต ผิดข้อเท็จจริง และไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเดิมโจทก์มีที่ดินทั้งหมด 5 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา เมื่อพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืน 2 งาน 36 ตารางวา ในปี2522 และ 2526 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินของโจทก์ออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว คงเหลืออยู่ตามโฉนดที่ดินเดิมเพียง 2 งาน 48ตารางวา เมื่อนำจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนหักออกจากจำนวนเนื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 5319ของโจทก์ในขณะที่จำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์คงเหลือที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเพียง 12 ตารางวา ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นที่ดินจำนวนเล็กน้อยไม่อาจมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนซึ่งสูงขึ้นนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างรวมทั้งคำขอบังคับไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการดำเนินคดี มิใช่ข้อความที่มีสภาพเป็นข้อหาแห่งคำฟ้องคงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ชอบที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ เมื่อข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาทั้งสองฝ่ายนำสืบรับกันว่า โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้แก่โจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์... พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ ต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21วรรคสอง ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามลำดับว่าให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงาน หรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้และที่ดินส่วนใดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับในกรณีที่มีการออกพระราชกฤษฎีกาประเภทดังกล่าว แต่หากเป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาก็หมายถึงวันที่ออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้นการพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511 แม้ในปี 2522 และ 2526 ซึ่งเป็นปีหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงและแบ่งขายที่ดินเหล่านั้นในส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปบางส่วนแล้ว ก่อนที่คณะกรรมการฯ จะได้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และโดยที่โจทก์ไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ว่าจะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่โจทก์จะพึงได้รับก็ตามแต่ก็ต้องถือว่าที่ดินส่วนที่โจทก์แบ่งแยกและส่วนที่ขายให้แก่บุคคลภายนอกไปทุกแปลงเป็นที่ดินที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน และจะต้องนำราคาที่เพิ่มสูงขึ้นของที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืนอันเนื่องมาจากการเวนคืนทั้งหมดมาหักออกจากค่าทดแทน สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนด้วย แม้โดยข้อเท็จจริงโจทก์จะยังไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ก็ตาม แต่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะนำราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับได้เพราะการทราบหรือไม่ทราบมติของคณะกรรมการฯ ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ มิฉะนั้นแล้วย่อมเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทน และให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือที่ราคาสูงขึ้น และดอกเบี้ยค่าทดแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มีอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืนและมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 เนื่องด้วย พระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างทางและปรับปรุงระบบระบายน้ำสำหรับกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการทำให้มีและการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518และมาตรา 12 ประกอบมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนซึ่งมีอำนาจหน้าที่บริหารราชการทั้งปวงของจำเลยที่ 1 ต่อมามีการยกเลิก พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2528 แต่ก็ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1ความสัมพันธ์ของจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวไว้ในมาตรา 89(6)มาตรา 44 วรรคหนึ่ง และมาตรา 49 ดังนั้น การดำเนินการของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ถือเป็นการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ. 2516 แต่ภายหลังจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสอง และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับ 44 ข้อ 4 วรรคหนึ่งและเนื่องจาก พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะ การกำหนดเงินค่าทดแทนจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอนุมาตรา (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้น ย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2511 แล้วแต่กลับปรากฏว่าฝ่าจำเลยเพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 3 มิถุนายน2534 แจ้งราคาค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทราบการที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการกำหนดค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 20 ปี เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21(1) ถึง (5) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบ สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ในปีที่ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกากับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังกล่าวอย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯ ซึ่งเป็นชุดที่ทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนนั้นได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2531หลังจากนั้นคณะกรรมการชุดนี้จึงได้ประชุมกันเพื่อกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ถูกเวนคืนตามระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 และฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 3 มิถุนายน 2534 แจ้งราคาค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทราบ การดำเนินการเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้เพิ่งเริ่มต้นใหม่ในปี 2531 ดังนั้นการใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) เว้นแต่วันที่เป็นฐานที่ตั้งสำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นปี 2531 อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่ ย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ตรงกับหลักการสำคัญของการกำหนดเงินทดแทนอสังหาริมทรัพย์แล้ว เมื่อราคาที่ดินโจทก์สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ การที่คณะกรรมการฯ กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยถือตามราคาประเมินที่ดินเป็นเกณฑ์กำหนด อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าว ย่อมมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามความเป็นจริง ทั้งที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ไม่มากจนถึงกับว่าเมื่อมีการซื้อขายกันจะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เฉลี่ยตามตารางวา โดยถือเกณฑ์ราคาประเมินที่ดินรวมกับราคาเฉลี่ยของราคาที่ดินที่สูงขึ้นต่อปีใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในปี 2531 จึงนับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมแล้ว แม้โจทก์จะได้ขายที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนให้แก่บุคคลภายนอกไปก่อนที่คณะกรรมการจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ประมาณ 10 ปี แล้วก็ตาม แต่การที่จะพิจารณาว่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแปลงใดมีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ จะต้องพิจารณาในขณะเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่ที่จะถูกเวนคืนมีผลใช้บังคับเป็นสำคัญนั่นก็หมายถึงว่าพิจารณาถึงวันบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือขณะบังคับใช้ พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ที่จะเวนคืนแล้วแต่กรณี พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ใช้บังคับ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับในขณะที่มีการดำเนินการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ. 2516 ใช้บังคับต่างบัญญัติไว้ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง และมาตรา 21 วรรคสองตามลำดับ ให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนอันเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้ ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินเหลือจากการดำเนินการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ทั้งหมดตามโฉนดที่ดินของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ. 2511 มีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2511 แม้ภายหลังโจทก์ได้โอนขายที่ดินโฉนดที่แบ่งแยกจากโฉนดที่ดินแปลงเดิมที่ถูกเวนคืนอันเป็นที่ดินส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้วตั้งแต่ปี 2523 ก่อนที่คณะกรรมการฯจะกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ประมาณ 10 ปีก็ตาม ที่ดินส่วนที่มิได้อยู่ในแนวเขตเวนคืนซึ่งโจทก์ได้ขายไปแล้วนั้นก็ยังต้องถือว่าเป็นที่ดินส่วนที่เหลือจากการดำเนินการเวนคืน เมื่อที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์อยู่ในทำเลที่ดีกว่าเดิมเช่นนี้ ราคาที่ดินแปลงดังกล่าวก็ย่อมจะสูงกว่าเดิมอันเนื่องมาจากการตัดถนนของทางราชการอย่างแน่นอน การที่ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมดังกล่าวจะต้องนำราคาที่ดินที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสองมิฉะนั้นแล้วจะเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนหลีกเลี่ยงบทบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม และบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสาม ที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนและให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติ ที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้เมื่อปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้น เพราะการเวนคืน จึงต้องนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนที่ยุติธรรมเมื่อราคาที่ดินที่เหลือสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวง-เทศบาลฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน ดังนั้น การดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36 วรรคสอง แม้ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใด ที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน...และวรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21วรรคหนึ่ง ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสาม ใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ โดยมิได้มีการออกพ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.นี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา 21 เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง 40 เมตร คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน และพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้ และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน 20 เมตร เท่านั้นเป็นเนื้อที่ 212 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน 40 เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน 1 กิโลเมตร ตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 4 : 1 จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212 : 166.5 ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า 3 เท่าตัว และอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้น คงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แล้ว แม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้น จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 22 กันยายน 2535 ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่า ที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิม อันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนเมื่อที่ดินส่วนที่เหลือมีราคาสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯยังไม่เสร็จสิ้นเพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสองและพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา36วรรคสองแม้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตามแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองบัญญัติว่าถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนและวรรคสามบัญญัติว่าถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยมาตรา21วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งเท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯโดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องตามมาตรา23แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา21เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดินที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง40เมตรคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอนและพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน20เมตรเท่านั้นเป็นเนื้อที่212ตารางวาเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน40เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน1กิโลเมตรตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า4:1จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212:166.5ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า3เท่าตัวและอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้นคงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วยจึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21แล้วแม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯคือวันที่1มกราคม2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้นจนถึงวันฟ้องคือวันที่22กันยายน2535ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่าที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิมอันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการชดเชยที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และผลกระทบจากกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์...พ.ศ.2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2530 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36 วรรคสอง บัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ทั้งสองนี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใชับังคับด้วย ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์ และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองใน พ.ศ.2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากการล่าช้าในการชดใช้
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์... พ.ศ. 2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสองบัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติทั้งสองนี้ เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองในพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาตลาด: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ราคาซื้อขายจริงเป็นเกณฑ์
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 มิได้บังคับว่าหากในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานทะเบียนที่ดินแล้ว จะต้องถือเอาราคาที่ดินของกรมที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์ การที่จำเลยที่ 2 ถือเอาราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ถูกต้องเพราะมิใช่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด โจทก์จึงมีอำนาจขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดได้ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ ใช้บังคับ ไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณที่ถูกเวนคืนการที่โจทก์นำสืบว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่มีสภาพและทำเลที่ตั้งเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ ในราคาตารางวาละ 15,000 บาทจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลจะใช้ดุลพินิจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบเพื่อคำนวณหาราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับได้ จะถือว่าโจทก์ไม่นำสืบจึงต้องถือตามที่จำเลยที่ 2กำหนดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินกับการเวนคืน: หลักเกณฑ์การประเมินความเสียหายที่แตกต่างกัน
แม้พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511มาตรา 28 วรรคสาม ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งกำหนดให้จ่ายค่าทดแทนตามราคาที่ดินที่ซื้อขายกันในท้องตลาด แต่คดีนี้เจ้าของที่ดินที่ถูกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเดินสายไฟฟ้าผ่านมิได้เสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ เพียงแต่เสียสิทธิเกี่ยวกับการใช้ที่ดินดังกล่าวไปบ้างจึงแตกต่างจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียไปซึ่งกรรมสิทธิ์ การจ่ายค่าทดแทนการใช้ที่ดินย่อมต้องให้ต่ำกว่าการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนค่าใช้ที่ดินของโจทก์เท่ากับอัตราร้อยละห้าสิบของราคาที่ดินจึงชอบแล้ว
of 3