คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนด 30 วันจากวันที่ทราบการเสียสัญชาติไทย
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนด30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไป เพราะหากโจทก์ไม่มีใบสำคัญประจำตัวแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น แม้พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทย โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคือหนังสือประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอใบสำคัญคนต่างด้าวไม่ระงับแม้ยื่นหลังกำหนด-นายทะเบียนต้องออกใบสำคัญตามกฎหมาย
แม้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเกินเวลา 30 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ก็ตาม แต่ก็หาหมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ของผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยโดยมีเวลาบังคับให้ปฏิบัติตาม ถ้าหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ ก็จะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ ตามมาตรา 21 แห่ง พระราชบัญญัติ เดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิหรือหมดสิทธิไม่ จำเลยมีฐานะเป็นนายทะเบียนตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ประกอบกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตาม พระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ข้อ 3 จึงมีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่จะต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ผู้ยื่นคำร้องขอ การที่จำเลยยังไม่ออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ และเป็นเวลานานเกินสมควรแก่เหตุ ถือว่าจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการโดยอ้างว่าเป็นระเบียบของกรมตำรวจหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งมิใช่กฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยนายทะเบียน ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ฟ้องร้องได้
กำหนดเวลาในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยมีหน้าที่ต้องไปทำการร้องขอต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ ให้ออกใบสำคัญประจำตัวให้เพื่อแสดงว่าตนเป็นบุคคลต่างด้าว มิใช่เป็นคนสัญชาติไทยภายในเวลา 30 วัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ผู้ซึ่งเสียสัญชาติไทยเพิกเฉยหรือละเลย มิฉะนั้นจะมีความผิดและถูกลงโทษตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน หาใช่เป็นการกำหนดเรื่องอายุความเสียสิทธิอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิหรือเสียสิทธิที่จะขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
จำเลยรับคำร้องขอพร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำของโจทก์ไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผล จำเลยก็ไม่ได้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ จนล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยนัดให้โจทก์มาฟังผลนานถึง 3 ปี จำเลยก็ยังมิได้จัดการออกใบสำคัญดังกล่าวให้โจทก์ แม้จำเลยอ้างว่าได้ส่งเรื่องให้ผู้อื่นดำเนินการตามระเบียบของกรมตำรวจ ก็เป็นเรื่องการดำเนินการภายในของจำเลยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย จะยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุขัดข้องหรือต่อสู้ยันกับโจทก์หาได้ไม่ และตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493ประกาศ ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 3 ระบุว่า ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอหรือหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอเป็นนายทะเบียนตามประกาศดังกล่าว จำเลยจึงมีอำนาจโดยตรงอยู่แล้วที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกิดในไทยและสัญชาติ: การเสียสัญชาติด้วยการถือเอกสารคนต่างด้าว
ผู้ร้องเกิดในประเทศไทย จึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2408 มาตรา 7(3) การที่ผู้ร้องซึ่งมีสัญชาติเป็นไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย โดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จะเสียสัญชาติไทยตามความในมาตรา 21 ก็ต่อเมื่อได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว แม้ผู้ร้องได้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรโดยขอรับใบแสดงหลักฐานการแจ้งออกเพื่อเข้ามาในราชอาณาจักร (แบบ ต.ม.1) ซึ่งเป็นแบบที่เจ้าหน้าที่จะออกให้แก่ผู้ขอที่เป็นคนต่างด้าว แต่เอกสารดังกล่าวนี้หาใช่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำคนต่างด้าวไม่ ผู้ร้องจึงไม่เสียสัญชาติไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องความผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดสำเร็จเป็นรายปี
การไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใดถือว่าเป็นความผิดสำหรับปีที่ไม่มีนั้น
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีจึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
(อ้างฎีกาที่ 942/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487-1489/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศไทย แม้บิดามารดาเป็นต่างด้าว และจดทะเบียนชื่อกับสถานทูตอังกฤษ
จำเลยเกิดในประเทศไทยในขณะที่ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ใช้บังคับ บิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่มารดาเกิดในประเทศไทย แม้เมื่อจำเลยเป็นผู้เยาว์ บิดาได้นำชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456มาตรา 3 ข้อ 3 การที่บิดานำเอาชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ หาทำให้จำเลยเสียสัญชาติไทยไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสัญชาติไทยต้องเกิดจากเจตนาสมัครใจ การได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวภายใต้ความกลัวผิดกฎหมาย ไม่ถือเป็นการสละสัญชาติ
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเมื่อจำเลยรับมาเพราะกลัวความผิดตามประกาศของอำเภอจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมาด้วยความสมัครใจ จำเลยจึงไม่มีเจตนาจะสละสัญชาติไทย
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอ จำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสัญชาติไทยต้องเกิดจากเจตนาสมัครใจ การรับใบสำคัญคนต่างด้าวเพราะความกลัวผิดกฎหมาย ไม่ถือเป็นการสละสัญชาติ
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเมื่อจำเลยรับมาเพราะกลัวความผิดตามประกาศของอำเภอจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมาด้วยความสมัครใจ จำเลยจึงไม่มีเจตนาจะสละสัญชาติไทย
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตาม ก.ม. จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอจำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) ม.5 พ.ศ. 2496 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้.