คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พยุง วัฒนสิงหะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเข้าข่ายค้าหากำไร ต้องพิจารณาพฤติการณ์รายกิจการ การมีสถานการค้าทำให้ต้องเสียภาษี
การขายที่ดินในกรณีใดจะถือว่าเป็นทางค้าหากำไร ต้องพิจารณาจากกิจการเป็นรายๆไปว่ามีพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่
พฤติการณ์ที่แสดงว่าได้ดำเนินกิจการในลักษณะเป็น "การค้า"ตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่มีสถานการค้า ฯลฯ มีหน้าที่เสียภาษีการค้านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเป็นเจ้าของสถานการค้าเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการค้าได้ใช้สถานการค้าใดดำเนินการค้าของตนได้ ประมวลรัษฎากรก็ถือว่าผู้ประกอบการค้านั้นมีสถานการค้า และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิทธิรับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืน การพิจารณาว่าเป็นคดีที่คำนวณราคาได้
โจทก์อ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิครอบครองที่ดินรวม 5 โฉนดและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ด้วยการส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งตราสารแห่งสิทธิให้โจทก์ ต่อมาจำเลยได้บอกเลิกสัญญาโอนสิทธิ ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาโอนสิทธิครอบครองใช้ได้ตามกฎหมาย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอน ห้ามมิไห้จำเลยขัดขวางในการที่โจทก์จะใช้สิทธิบนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยต่อสู้ว่ากรรมสิทธิในที่ดินยังเป็นของจำเลย ดังนี้จึงเห็นได้ว่าข้อพิพาทในคดีคือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเป็นของโจทก์ หรือของจำเลย ถึงแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้บ่งชัดขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ก็เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต่อไป ดังนี้ จึงเป็นคดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 ถึงแม้ว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่พิพาทจะถูกเวนคืนแล้วก็ตาม ก็จำต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของ อันมีสิทธิรับเงินค่าทดแทนอยู่นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสิทธิในที่ดินและผลกระทบต่อสิทธิรับเงินค่าเวนคืน ศาลพิจารณาเป็นคดีที่คำนวณราคาเงินได้
โจทก์อ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิครอบครองที่ดินรวม 5 โฉนดและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ด้วยการส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พร้อมทั้งตราสารแห่งสิทธิให้โจทก์ ต่อมาจำเลยได้บอกเลิกสัญญาโอนสิทธิ ขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาโอนสิทธิครอบครองใช้ได้ตามกฎหมาย จำเลย ไม่มีสิทธิเพิกถอน ห้ามมิให้จำเลยขัดขวางในการที่โจทก์จะใช้สิทธิบนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยต่อสู้ว่ากรรมสิทธิในที่ดินยังเป็นของจำเลย ดังนี้จึงเห็นได้ว่าข้อพิพาทในคดีคือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเป็นของโจทก์ หรือของจำเลย ถึงแม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้บ่งชัดขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโจทก์ก็เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนต่อไป ดังนี้ จึงเป็นคดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 ถึงแม้ว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่พิพาทจะถูกเวนคืนแล้วก็ตาม ก็จำต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของ อันมีสิทธิรับเงินค่าทดแทนอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์สิน แม้ทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่พอชำระหนี้ทั้งหมด
การที่จำเลยยังมีทรัพย์อยู่ แต่ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้โดยสิ้นเชิงนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์สินลูกหนี้ แม้ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าไม่พอชำระหนี้ทั้งหมด
การที่จำเลยยังมีทรัพย์อยู่ แต่ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้โดยสิ้นเชิงนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคลและการป้องกันเกินกว่ากรณี: ความผิดฐานฆ่าโดยเจตนาและประมาท
จำเลยใช้ปืนยิงเด็กซึ่งส่องไฟหากบที่ริมรั้วบ้านจำเลยถึงแก่ความตายโดยจำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จำเลย เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,69
ความสำคัญผิดว่ามีภยันตรายอันต้องป้องกันนั้น เป็นความสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 ไม่ใช่มาตรา 61
ความสำคัญผิดตามมาตรา 61 เป็นเรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งแม้จะกระทำต่อบุคคลใดก็เป็นผิดทั้งนั้น ส่วนความสำคัญผิดตามมาตรา 62 นั้น เป็นความสำคัญผิดซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยลงได้
จำเลยยิงคนตายโดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย เป็นการกระทำโดยเจตนาแต่เป็นการป้องกันซึ่งเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จึงเป็นผิดตามมาตรา 288,69 และความสำคัญผิดนั้นก็เกิดโดยความประมาทของจำเลย เช่นนี้จำเลยย่อมผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท โดยผลของมาตรา 62วรรคสอง ด้วย กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในเรื่องฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณี อันเป็นบทหนักตามมาตรา 90 แต่ถ้าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งไม่เป็นความผิดก็คงเหลือเพียงความผิดในส่วนที่สำคัญผิดโดยประมาทตามมาตรา 62วรรคสอง คือความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามมาตรา 291 ฐานเดียว
ผู้ที่กระทำการป้องกันด้วยกันหาได้ร่วมกันกระทำผิดไม่ เมื่อผลของการกระทำของผู้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่มีความผิด แม้ว่าผู้ร่วมป้องกันคนอื่นจะได้รับโทษฐานป้องกันเกินกว่ากรณีจากผลแห่งการกระทำส่วนของคนอื่นนั้นก็ตาม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่10/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและนายจ้าง แม้มีสัญญาเช่าระบุความรับผิดของผู้เช่า
แม้นายหัดผู้เช่ารถโจทก์จะมีข้อสัญญารับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างนายหัดกับโจทก์ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 2 จ้าง จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบุคคลภายนอกมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาดูหมิ่นพระภิกษุ: ศาลลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องผิดฐาน
คดีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 142 วรรค 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาดูหมิ่นพระภิกษุ: ศาลลงโทษฐานความผิดตามข้อเท็จจริง แม้ฟ้องผิดฐาน
คดีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายยักยอกเงินค่าธรรมเนียมศาล แล้วบิดเบือนข้อเท็จจริงจนลูกความเสียคดี ถือเป็นตระบัดสินและประพฤติผิดมารยาททนายความ
ผู้ถูกกล่าวหารับเป็นทนายให้ลูกความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาตามหน้าที่ในกฎหมายแล้ว การที่ศาลสั่งให้ลูกความซึ่งเป็นโจทก์ชำระค่าธรรมเนียมขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ผู้ถูกกล่าวหารับเงินค่าธรรมเนียมจากโจทก์เพื่อนำมาชำระต่อศาลแทนโจทก์ กลับนำเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วไปแถลงต่อศาลว่าโจทก์ขอผัด เป็นกิริยาตระบัดสินแล้ว แม้คิดจะหาเงินไปชำระให้ในภายหลังแต่หาไม่ได้เลยไม่ได้ชำระ ศาลจึงยกฟ้อง และแม้จะมีความตั้งใจจะหาเงินมาใช้คืน แต่การตระบัดสินได้เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เอาเงินลูกความไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว และถือว่าลูกความได้รับความเสียหายแล้ว ส่วนการที่ลูกความฟ้องคดีใหม่ เป็นเรื่องลูกความหาทางแก้ของเขาเอง คดีเก่าที่ถูกยกฟ้องก็คงเป็นเพราะความผิดของทนายความผู้ถูกกล่าวหาอยู่ตามเดิม
of 6