คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 141 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษา: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. การวินิจฉัยจำเลยที่ 2 ที่ศาลยังมิได้ตัดสิน
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยในส่วนวินิจฉัยรับฟังว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ หลังจากทำสัญญาจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ แล้วผิดนัดชำระเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน ต่อมาจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ อันเป็นการวินิจฉัยถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเท่านั้น มิได้วินิจฉัยถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย จึงไม่อาจแปลไปว่าได้วินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยที่ 1 แล้ว แม้การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยและพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 จะเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) และ (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์อันเป็นการให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดโดยศาลมิได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดนั้น จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: จำเป็นต้องสอบคำให้การจำเลยในส่วนแพ่งก่อนพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 พร้อมทั้งขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งการพิจารณาคดีในส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 และคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งจะต้องกล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง กับต้องวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งโดยยังมิได้สอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพตามฟ้องเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: ศาลอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลรองรับคำสั่ง และต้องทำเป็นคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินสวนยางพาราของโจทก์ทั้งสอง ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา โดยให้จำเลยนำเงินมาวางศาลทุกเดือนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (2) ตอนท้าย เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 (2) (ข) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งต้องทำเป็นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 และชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษา มิใช่ทำเป็นคำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างการพิจารณา ทั้งมิได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ประกอบด้วยมาตรา 246 คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบในชั้นไต่สวนจนเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร การแยกข้อหาฟ้อง และอำนาจฟ้องที่ยังไม่ถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 7 ฉบับ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาลรวม 7 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสีย ค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาทั้ง 7 ข้อหา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8
การกำหนดให้คู่ความชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ผู้แพ้คดีได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ต้องทำเป็นหนังสือนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ให้แสดงเหตุแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง ฉะนั้น เมื่อศาลต้องวินิจฉัยข้อหาในคำฟ้องทุกข้ออันเป็นเรื่องในประเด็นแห่งคดีแต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความต้องรับผิดตามมาตรา 161 มิใช่เรื่องในประเด็นแห่งคดี เพียงแต่มาตรา 141 (5) ให้มีคำวินิจฉัยตลอดทั้งค่าฤชาธรรมเนียมด้วยเท่านั้น ในส่วนค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ต้องแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บังคับใช้ย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.1 ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม อ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ในส่วนนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์ และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 2 จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยต่อไปว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้ว ก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90 นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม อย่างไร ไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมาย และแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังย้อนหลังในคดีแพ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.1ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค2กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค2ในส่วนนี้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา3ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา2จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยต่อไปว่าแม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้วก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมอย่างไรไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมายและแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(4)ประกอบด้วยมาตรา246ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค2เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง และการโอนลอยพันธบัตรโดยไม่ได้รับความยินยอม
ศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็อนุญาตให้รับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องกล่าวแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ในคำสั่งอนุญาต เพราะข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยปรากฏอยู่ในความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเป็นการสั่งตามมาตรา 106 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แม้จะมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่มีข้อตกลงว่าวงเงินกู้ไม่เกิน 10,000,000บาท ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี เมื่อเงินกู้ที่ค้างชำระเพียง 5,259,980.74 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามข้อตกลงเท่านั้น ลูกหนี้โอนลอยพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ส. นำไปวางเป็นประกันในการกู้เงินของบริษัท บ.ต่อเจ้าหนี้ โดยกรรมการบริษัทลูกหนี้มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย และมิได้จดทะเบียนภาระผูกพันกับธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหนี้จึงไม่มีมูลหนี้ใดที่จะกล่าวอ้างได้ต้องคืนพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่ และการไม่วินิจฉัยประเด็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลมีอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยอาศัยยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งผนวกหนี้นอกเหนือความรับผิดของจำเลยที่ 2 เข้าไว้ด้วยและคิดดอกเบี้ยทบต้นตลอดมา ทำให้ไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใด แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความนั้น เป็นการใช้อำนาจตามป.วิ.พ. มาตรา 148(3) แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้เรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไว้ แต่เมื่อศาลเห็นว่าจะต้องยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุอื่นแล้วย่อมมีอำนาจที่จะไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยและแม้จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ก็ถือว่าศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีที่ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใด โจทก์ย่อมจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้ศาลชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวได้ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ คำพิพากษาศาลชั้นต้นหาขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 141(4)(5),142 และ 148 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745-3747/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยซ้ำซ้อน, ความรับผิดของบริษัทประกันภัย, การเรียกร้องค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้, และดอกเบี้ยชดใช้
สต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าระหว่างผลิตส่วนสต๊อกสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นสินค้าที่เก็บในโกดัง เป็นสต๊อกสินค้าต่างรายการกัน จึงมิใช่การเอาประกันภัยซ้ำซ้อน โจทก์ไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดที่ว่าโจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงการประกันภัยสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัทประกันภัยอื่น โจทก์แจ้งความเสียหายและมูลค่าของทรัพย์สูงกว่าความเป็นจริงมากมาย ถือว่าเป็นการฉ้อฉล และโจทก์ละเลยไม่สงวนรักษาซากทรัพย์สินอันเป็นเหตุให้ซากทรัพย์สินสูญหาย เป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น นอกจากข้อเท็จจริงฟังไม่ได้เช่นนั้น หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสามไม่เคยยกข้ออ้างเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดกลับเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
ธนาคารผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้จากจำเลยที่ 3
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่ตอนวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ไม่ได้กล่าวถึงดอกเบี้ยที่ให้จำเลยที่ 3 ใช้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องไม่ให้เหตุผลในคำวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยใหัชัดเจน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโดยกรรมการผู้จัดการ แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันหากทำในนามบริษัท และจำเลยไม่โต้แย้งอำนาจกรรมการ
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน แม้มิได้ประทับตราบริษัทซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนนั้นจะต้องประทับตราด้วย ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยบริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและบริษัทโจทก์ ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.
of 2