พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ไม่ถือเป็นการชุลมุนต่อสู้ แต่เป็นการฆ่าโดยเจตนา
จำเลยกับพวกเตรียมอาวุธจะไปทำร้ายเพื่อนผู้ตาย เมื่อพบผู้ตายกับเพื่อน พวกของจำเลยได้ใช้ปืนยิง ผู้ตายกับเพื่อนวิ่งหนี โดยไม่ได้ต่อสู้อย่างใด จำเลยตามไปตีผู้ตาย และพวกของจำเลยใช้ปืนยิงจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องสมัครใจเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้กัน แต่เป็นเรื่องจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้จำเลยจะไม่ใช้ปืนยิงผู้ตาย ก็ถือว่าจำเลยได้ร่วมกันกับพวกของจำเลยฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททั้งสองฝ่ายทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลพิพากษายืนความผิด
ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด รถก็จะไม่ชนกัน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ถ้ารอให้รถของจำเลยที่ 1ซึ่งขับมาทางตรงผ่านไปก่อน รถก็จะไม่ชนกัน การที่เกิดชนกันขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยทั้งสองที่ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย จึงเป็นความผิดด้วยกันทั้งคู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททั้งสองฝ่ายทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด รถก็จะไม่ชนกันส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ถ้ารอให้รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับมาทางตรงผ่านไปก่อน รถก็จะไม่ชนกันการที่เกิดชนกันขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยทั้วสองที่ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกฎหมาย จึงเป็นความผิดด้วยกันทั้งคู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการกำหนดสถานที่จอดพักรถและสถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.การขนส่ง
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้ แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของ ทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรี ที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50(1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่งผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรี ที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50(1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่งผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่สถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก กับ พ.ร.บ.การขนส่ง และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50 (1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขอส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานทีที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50 (1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขอส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานทีที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแจ้งความไม่ระบุชื่อจำเลยร่วมกระทำความผิด ทำให้ขาดอายุความฟ้อง
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายไม่ได้ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดจึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ที่ผู้เสียหายประสงค์จะให้จำเลยรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7), 123
ความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องร้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6)
ความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องร้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: การแจ้งความไม่ระบุชื่อจำเลยร่วมกระทำความผิด ทำให้ขาดอายุความฟ้อง
คำร้องทุกข์ของผู้เสียหายไม่ได้ระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดจึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ที่ผู้เสียหายประสงค์จะให้จำเลยรับโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7),123
ความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องร้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)
ความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องร้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โจทก์ไม่สามารถยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ และศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นนำสืบในข้อนี้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอ้างอิงปัญหานี้ขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรค 2
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 3, 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 3, 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุก: ศาลฎีกายกประเด็นนอกเหนือการต่อสู้ในชั้นต้น-ให้สืบเพิ่มเติม
โจทก์ไม่สามารถยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นเนื่องจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ เพราะจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และศาลชั้นต้นมิได้กะประเด็นนำสืบในข้อนี้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะอ้างอิงปัญหานี้ขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม, 240(3)ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย
เมื่อประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นสารสำคัญในประเด็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจให้โจทก์นำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์มาสืบเพิ่มเติม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม, 240(3)ประกอบด้วยมาตรา 247 แล้วให้จำเลยสืบแก้ รวมทั้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิระบุทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารเพิ่มเติมได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกาย แม้มีเจตนาปล้นทรัพย์แต่พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
ฟ้องขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายพวกเจ้าทรัพย์ถึงบาดเจ็บด้วย เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยปล้นทรัพย์แต่ฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย ดังนี้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ได้