พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชกมวยพนันสมัครใจ ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย บิดาไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจชกมวยพนันเอาเงินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะการชกมวยนั้น ผู้ตายก็ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076-1079/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองในที่ดิน: การได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายต้องมีฐานะเป็นเจ้าของเดิมหรือผู้มีสิทธิ
ผู้ที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะได้ไปแจ้งการครอบครองได้รับ ส.ค.1และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครอง ในที่นั้น
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076-1079/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: สิทธิของผู้รับโอนย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริตและจดทะเบียน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะได้ไปแจ้งการครอบครอง ได้รับ ส.ค.1 และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่นั้น
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีค่าเสียหายจากรถชน มีประเด็นคู่ความเดียวกัน ศาลสั่งห้ามฟ้องซ้ำตามมาตรา 144
คดีก่อนจำเลยได้เคยยื่นฟ้องโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ชนกันศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายรายเดียวกันอีก เมื่อคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันและคู่ความรายเดียวกัน และศาลได้พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยโดยวินิจฉัยถึงข้อที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดีนั้นว่า จำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อในการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยฟ้องของโจทก์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีประมาทจากอุบัติเหตุรถชน เมื่อศาลเคยพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายแล้ว ฟ้องใหม่เป็นฟ้องต้องห้าม
คดีก่อนจำเลยได้เคยยื่นฟ้องโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ชนกันศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายรายเดียวกันอีก เมื่อคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันและคู่ความรายเดียวกัน และศาลได้พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยโดยวินิจฉัยถึงข้อที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดีนั้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อในการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: อำนาจร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: ผู้ไม่รู้เห็นการก่อหนี้มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตน
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีอาญา: การใช้บทบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุมาติตามกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องการขอเลื่อนคดีไว้โดยเฉพาะ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 มาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในคดีอาญาเพื่อเลื่อนการไต่สวน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องการขอเลื่อนคดีไว้โดยเฉพาะ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 มาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาแม้โจทก์ถึงแก่กรรม: ศาลฎีกาสามารถพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยฎีกาส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์ถึงแก่กรรมไปแล้ว ดังนี้ ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้