คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จินตา บุณยอาคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 811 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้สิทธิในทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลงภายหลัง เบี้ยปรับลดได้ตามสมควร
ล. ซึ่งได้รับสิทธิเข้าทำการก่อสร้างอาคารในที่ดินของกระทรวงการคลังและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ ทำสัญญาให้โจทก์เข้าก่อสร้างและได้รับผลประโยชน์แทน จำเลยบุกรุกเข้าไปอยู่ในอาคารรายพิพาทที่โจทก์มีสิทธิจากการก่อสร้างโจทก์ดำเนินคดีหาว่าจำเลยบุกรุก แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์บางส่วนก่อน และจะชำระให้อีกจำนวนหนึ่งภายในกำหนดสามเดือนหากถึงกำหนดไม่ชำระให้ถือว่าตกลงเลิกสัญญา ให้โจทก์คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยให้แก่จำเลยในวันที่จำเลยออกไปจากอาคาร และหากจำเลยไม่ยอมออกไปต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะได้ออกไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวแล้วถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาท เป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล.ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท)ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้สิทธิในทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลง สัญญาเดิมไม่เป็นเหตุให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
ล. ซึ่งได้รับสิทธิเข้าทำการก่อสร้างอาคารในที่ดินของกระทรวงการคลังและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ ทำสัญญาให้โจทก์เข้าก่อสร้างและได้รับผลประโยชน์แทน จำเลยบุกรุกเข้าไปอยู่ในอาคารรายพิพาทที่โจทก์มีสิทธิจากการก่อสร้างโจทก์ดำเนินคดีหาว่าจำเลยบุกรุก แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันโดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์บางส่วนก่อน และจะชำระให้อีกจำนวนหนึ่งภายในกำหนดสามเดือนหากถึงกำหนดไม่ชำระให้ถือว่าตกลงเลิกสัญญา ให้โจทก์คืนเงินที่รับไว้จากจำเลยให้แก่จำเลยในวันที่จำเลยออกไปจากอาคาร และหากจำเลยไม่ยอมออกไปต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะได้ออกไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวแล้วถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมาย
แม้ต่อมาจะปรากฏว่ากระทรวงการคลังบอกริบเอาอาคารรายพิพาทเป็นของกระทรวงการคลัง ล. หรือโจทก์หมดสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากอาคารนั้นไปแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้วนั้นต้องเสียไป เพราะเป็นเรื่องผูกมัดระหว่างโจทก์จำเลยเท่านั้น การที่ต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หาใช่เป็นการพ้นวิสัยไม่
สัญญาระหว่าง ล. กับโจทก์ ที่ ล. ให้โจทก์เข้าก่อสร้างแทนแล้วให้ได้ผลประโยชน์ในการทำแทนนั้น โดยแท้จะมีผลอย่างใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์เข้าทำการก่อสร้างให้กับ ล. แทนที่ ล. จะต้องทำเอง และ ล. ทำสัญญายกประโยชน์ที่จะได้จากการก่อสร้างนั้นให้โจทก์ เมื่อโจทก์ได้ทำและครอบครองอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการทำแทนหรือเพื่อจะส่งมอบแก่ ล. ซึ่งโจทก์จะใช้อ้างบังคับให้ ล. มอบประโยชน์จากการที่ทำเสร็จนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่จำเลยได้แย่งเข้าอยู่ในอาคารที่ก่อสร้างโดยพลการเป็นการขัดขวางเรื่องการส่งมอบนั้นเสีย ย่อมเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน (ระงับข้อพิพาท) ย่อมมีผลบังคับได้ จะยกเอาสัญญาภายในระหว่าง ล. กับโจทก์มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมิได้
จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลัวโทษทัณฑ์จากคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องหาว่าบุกรุกนั้นความกลัวเช่นว่านี้ไม่ทำให้สัญญาที่ทำไว้ตกเป็นโมฆียะหรือเสียไป เพราะโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องร้องคดีต่อโรงศาลยุติธรรมโดยสุจริตอย่างตรงไปตรงมา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ออกไปจากอาคารรายพิพาทต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะออกไป ค่าเสียหายนี้พอนับเนื่องได้ว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้เมื่อเห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องฎีกาไม่ชัดเจน: การไม่ระบุเหตุผลแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายในฎีกา ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
ที่ฟ้องฎีกาโจทก์กล่าวเพียงแต่ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังไม่ชอบด้วยความเห็นของโจทก์ โดยมิได้แสดงให้เห็นว่าไม่ชอบในข้อไหน เพียงใดก็ดี และที่ว่า โจทก์ขอถือเอาคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องฎีกาก็ดี ถือได้ว่าเป็นการกล่าวข้อความขึ้นลอย ๆ โดยมิได้กล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฟ้องฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องยึดถือระยะเวลาการแจ้งข้อหาใหม่ หากเปลี่ยนข้อหาเดิมเป็นข้อหาใหม่ภายหลัง
บทบัญญัติในมาตรา 9 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ที่ห้ามมิให้ผู้ว่าคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการก่อน นั้น หมายความเฉพาะคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความ ผู้เยาว์มีสิทธิทำนิติกรรมได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องเคยเป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากผู้คัดค้าน แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาล โดยผู้คัดค้านยอมยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องและบุตรผู้เยาว์ และผู้ร้องให้สัญญาว่าจะไม่นำที่ดินส่วนของบุตรผู้เยาว์ไปจำหน่ายจ่ายโอนหรือจำนองทั้งนี้จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณา บุตรผู้เยาว์ผู้ได้รับการให้ที่ดินเป็นบุคคลนอกคดี และสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้มีเงื่อนไขห้ามบุตรผู้เยาว์มิให้จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินส่วนของตนบุตรผู้เยาว์โดยผู้ปกครองย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาล ขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมและความสามารถในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์
ผู้ร้องเคยเป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากผู้คัดค้าน แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาล โดยผู้คัดค้านยอมยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องและบุตรผู้เยาว์ และผู้ร้องให้สัญญาว่าจะไม่นำที่ดินส่วนของบุตรผู้เยาว์ไปจำหน่ายจ่ายโอนหรือจำนองทั้งนี้จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในกระบวนพิจารณา บุตรผู้เยาว์ผู้ได้รับการให้ที่ดินเป็นบุคคลนอกคดี และสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้มีเงื่อนไขห้ามบุตรผู้เยาว์มิให้จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินส่วนของตนบุตรผู้เยาว์โดยผู้ปกครองย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาล ขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์โดยอ้อม ศาลสามารถลงโทษฐานชิงทรัพย์ได้ แม้ไม่ได้อ้างมาตราโดยตรง
ฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำผิดพยายามฆ่าผู้อื่น อ้างบทมาตราที่ขอให้ลงโทษจำเลยมาแต่เพียงมาตรา 288,289,80 เมื่อ ในคำฟ้องโจทก์บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยมาแล้วว่า จำเลยยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ และยังมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายด้วย ดังนี้ ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์อยู่ด้วย และเมื่อศาลฟังว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาเอาทรัพย์ไป การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ จึงเป็นเหตุฉกรรจ์ของความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7), 80 อยู่แล้ว ศาลจึงไม่จำต้องปรับบทว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยอีกบทหนึ่งแต่ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยชิงไปให้แก่เจ้าทรัพย์ในคดีเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษได้แม้โจทก์ไม่ฎีกา
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรมาด้วยกันสองฐาน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ยกข้อหารับของโจร แม้จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิด เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานรับของโจรซึ่งมีอัตราโทษที่จะลงเบากว่าความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช่า: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าห้ามโต้แย้งอำนาจผู้ให้เช่าที่ตนยินยอมทำสัญญาด้วย
ในการให้เช่าทรัพย์สินนั้น ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่านั้นเสมอไปไม่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่าและมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาเช่าได้ จำเลยย่อมถูกปิดปากมิให้คัดค้านโต้แย้งอำนาจของผู้ให้เช่าซึ่งตนยอมรับว่ามีฐานะเช่นนั้นตามสัญญาเช่าซึ่งตนได้ทำไว้กับโจทก์แล้วนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิด: ความสมบูรณ์ของคำฟ้อง, ความเคลือบคลุม, และความรับผิดของนายจ้าง
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง โดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย
of 82