พบผลลัพธ์ทั้งหมด 811 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องต่อเจ้าของทุกคน ไม่เฉพาะเจ้าของเดิม และการเช่าไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คำร้องขอให้แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์อย่างเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปีนั้น มิได้หมายความเฉพาะเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเดิมคนเดียว แต่หมายความได้ว่าเป็นปรปักษ์กับเจ้าของที่ดินทุกคนที่เข้ามาเป็นเจ้าของแทนในส่วนของเจ้าของเดิมด้วย โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คัดค้านในข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ควรจะต้องวินิจฉัยให้ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและมีข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยให้เสร็จไปได้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ได้
การครอบครองที่ดินในฐานะผู้เช่า จะถือว่าครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
การครอบครองที่ดินในฐานะผู้เช่า จะถือว่าครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทุกคน ไม่ใช่แค่เจ้าของเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยได้เองหากมีข้อเท็จจริงพอ
คำร้องขอให้แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์อย่างเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปีนั้น มิได้หมายความเฉพาะเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเดิมคนเดียว แต่หมายความได้ว่าเป็นปรปักษ์กับเจ้าของที่ดินทุกคนที่เข้ามาเป็นเจ้าของแทนในส่วนของเจ้าของเดิมด้วย โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คัดค้านในข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ได้และศาลอุทธรณ์ควรจะต้องวินิจฉัยให้ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและมีข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยให้เสร็จไปได้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ได้
การครอบครองที่ดินในฐานะผู้เช่า จะถือว่าครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
การครอบครองที่ดินในฐานะผู้เช่า จะถือว่าครอบครองปรปักษ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยตรงถึงผู้เสียหาย แม้มีผู้ทำนิติกรรมแทน การหลอกลวงคือเหตุสำคัญ
จำเลยได้หลอกลวงด้วยการนำความเท็จมากล่าวแก่ พ. จน พ. หลงเชื่อยอมตกลงรับซื้อฝากที่ดินและจ่ายเงินให้จำเลยไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ในนิติกรรมสัญญารับซื้อฝาก ส. บุตรโจทก์เป็นผู้ลงนามรับซื้อฝากแทน พ. ซึ่งเป็นมารดา ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยจงใจเจตนาฉ้อโกงพ.โดยตรง พ.ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยแล้วพ. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจตามกฎหมายที่จะร้องทุกข์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยผู้ถูกหลอกลวงเป็นผู้เสียหายโดยตรง แม้มีผู้ลงนามในนิติกรรมแทน
จำเลยได้หลอกลวงด้วยการนำความเท็จมากล่าวแก่ พ. จน พ. หลงเชื่อยอมตกลงรับซื้อฝากที่ดินและจ่ายเงินให้จำเลยไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้ในนิติกรรมสัญญารับซื้อฝาก ส. บุตรโจทก์เป็นผู้ลงนามรับซื้อฝากแทน พ. ซึ่งเป็นมารดา ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยจงใจเจตนาฉ้อโกง พ. โดยตรง พ. ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยแล้ว พ. จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจตามกฎหมายที่จะร้องทุกข์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922-1923/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมั่วสุมในสถานค้าประเวณีต้องมีเจตนาเพื่อการค้าประเวณีจึงจะมีความผิดตามกฎหมาย
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลย (ทั้งสอง) ถูกจับในสถานการค้าประเวณีขณะที่กำลังคุยอยู่กับผู้ชาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อการค้าประเวณีแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปมั่วสุมในสถานการค้าประเวณีเพื่อการค้าประเวณีอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 มาตรา 5(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922-1923/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าไปในสถานการค้าประเวณีโดยไม่ปรากฏหลักฐานการค้าประเวณี ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลย (ทั้งสอง) ถูกจับในสถานการค้าประเวณีขณะที่กำลังคุยอยู่กับผู้ชาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อการค้าประเวณีแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปมั่วสุมในสถานการค้าประเวณีเพื่อการค้าประเวณีอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 มาตรา 5(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้นเป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110 กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจาก การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้วการบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้นเป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110 กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจาก การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้วการบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแพ่งสำเร็จก่อนการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น เป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจากการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น เป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจากการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการเพิกถอนนิติกรรมหรือขอให้ศาลสั่งห้ามอ้างสิทธิจากสัญญาที่ลูกหนี้ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมยอมกันทำสัญญากู้เงินย้อนหลังว่าจำเลยที่ 2 กู้เงินจำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลจนศาลพิพากษาตามยอม ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาหรือให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2ตามคำขอดังกล่าวหมายความว่า ถ้าเพิกถอนคำพิพากษาไม่ได้ก็ขออย่าให้มีหรืออ้างสิทธิตามคำพิพากษานั้น ซึ่งศาลอาจพิพากษาให้ได้ โดยไม่จำต้องเพิกถอนสัญญาและคำพิพากษาตามยอมเพราะสัญญาและคำพิพากษานั้นเป็นเรื่องระหว่างจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ และผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้รายอื่น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมยอมกันทำสัญญากู้เงินย้อนหลังว่าจำเลยที่ 2 กู้เงินจำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลจนศาลพิพากษาตามยอม ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาหรือให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2ตามคำขอดังกล่าวหมายความว่า ถ้าเพิกถอนคำพิพากษาไม่ได้ก็ขออย่าให้มีหรืออ้างสิทธิตามคำพิพากษานั้น ซึ่งศาลอาจพิพากษาให้ได้ โดยไม่จำต้องเพิกถอนสัญญาและคำพิพากษาตามยอมเพราะสัญญาและคำพิพากษานั้นเป็นเรื่องระหว่างจำเลย