คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โกวิท ถิระวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 244 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรบกวนการครอบครองของผู้อื่น แม้การโอนทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ ก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
ที่ดินและบ้านพิพาทจะเป็นของผู้ใดไม่สำคัญ เมื่อจำเลยครอบครองอยู่เดิมแล้วสละการครอบครองให้ผู้เสียหายเป็นการตีใช้หนี้ไป การยกที่ดินและบ้านตีใช้หนี้จะสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้เสียหายก็ได้ไปซึ่งการครอบครอง จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้เสียหายครอบครองอยู่โดยชอบ หากจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายไม่มีสิทธิในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีอำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของเขา เมื่อจำเลยยังขืนเข้าไปอยู่อาศัยก็เป็นการรบกวนการครอบครองของผู้เสียหายโดยปกติสุข จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 (อ้างฎีกาที่ 1/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรบกวนการครอบครองโดยชอบธรรม แม้การตีใช้หนี้ไม่สมบูรณ์ ก็ถือเป็นการรบกวนการครอบครองได้
ที่ดินและบ้านพิพาทจะเป็นของผู้ใดไม่สำคัญ เมื่อจำเลยครอบครองอยู่เดิมแล้วสละการครอบครองให้ผู้เสียหายเป็นการตีใช้หนี้ไป การยกที่ดินและบ้านตีใช้หนี้จะสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้เสียหายก็ได้ไปซึ่งการครอบครอง จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า ผู้เสียหายครอบครองอยู่โดยชอบธรรม หากจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายไม่มีสิทธิในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีอำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของเขา เมื่อจำเลยยังขืนเข้าไปอยู่อาศัยก็เป็นการรบกวนการครอบครองของผู้เสียหายโดยปกติสุข จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
(อ้างฎีกาที่ 1/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของหญิงมีสามีในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน: ความรู้เห็นของสามี
การที่หญิงมีสามีได้กระทำกิจการค้าด้วยความรู้เห็นของสามีนั้น. ย่อมถือได้ว่าสามีได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย. ฉะนั้นหญิงมีสามี. จึงฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนได้. หาจำต้องได้รับอนุญาตจากสามีอีกไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหญิงมีสามีในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน: ความรู้เห็นของสามีถือเป็นอนุญาตโดยปริยาย
การที่หญิงมีสามีได้กระทำกิจการค้าด้วยความรู้เห็นของสามีนั้น ย่อมถือได้ว่าสามีได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย ฉะนั้นหญิงมีสามี จึงฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนได้ หาจำต้องได้รับอนุญาตจากสามีอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของภรรยาผู้จัดการห้างหุ้นส่วน: ความยินยอมโดยปริยายของสามี
การที่หญิงมีสามีได้กระทำกิจการค้าด้วยความรู้เห็นของสามีนั้น ย่อมถือได้ว่าสามีได้อนุญาตแล้วโดยปริยาย ฉะนั้นหญิงมีสามี จึงฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนได้ หาจำต้องได้รับอนุญาตจากสามีอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีต้องชำระค่าภาษีก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมินตามมาตรา 39
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้ถึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่าเพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษีในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูก จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อนศาลย่อมจะรับฟังไว้พิจารณามิได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีมีหน้าที่ชำระภาษีก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่า เพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษี ในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูก จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อน ศาลย่อมจะรับฟ้องไว้พิจารณามิได้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีต้องชำระภาษีตามประเมินก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมิน
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด.บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น. ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่า.เพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษี.ในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย. บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าว่าการประเมินไม่ถูก. จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง. หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อน.ศาลย่อมจะรับฟ้องไว้พิจารณามิได้. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประกันภัย: การคืนเงินค่าเคลมเมื่อผู้เอาประกันผิดสัญญาชำระเบี้ยประกัน
เดิมบริษัทประกันภัยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัย.ศาลฎีกาพิพากษาว่าตามเงื่อนไขท้ายสัญญาประกันภัย.มิใช่ให้โจทก์เรียกเบี้ยประกันภัยระหว่างที่พักกรมธรรม์นั้นได้. แต่ให้อำนาจเพียงที่จะเรียกร้องเงินค่าเคลมคืนเท่านั้น(ค่าเคลมคือค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามกรมธรรม์ประกันภัย). จึงพิพากษายกฟ้องบริษัทประกันภัยโจทก์มาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเคลมคืนตามเงื่อนไขในท้ายสัญญาประกันภัยได้. ไม่เป็นฟ้องซ้ำ. เพราะคดีแรกกับคดีนี้เป็นประเด็นคนละเรื่องกัน.
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า 'กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้. ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์. หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้. ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด' นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด.ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปี.จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย.
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย. ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใด. ไม่ใช่พ่อค้า.การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย. ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ. แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย. จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประกันภัย: การผิดสัญญาชำระเบี้ยประกันและสิทธิเรียกร้องค่าเคลมคืน
เดิมบริษัทประกันภัยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยศาลฎีกาพิพากษาว่าตามเงื่อนไขท้ายสัญญาประกันภัย มิใช่ให้โจทก์เรียกเบี้ยประกันภัยระหว่างที่พักกรมธรรม์นั้นได้ แต่ให้อำนาจเพียงที่จะเรียกร้องเงินค่าเคลมคืนเท่านั้น(ค่าเคลมคือค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามกรมธรรม์ประกันภัย) จึงพิพากษายกฟ้องบริษัทประกันภัยโจทก์มาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเคลมคืนตามเงื่อนไขในท้ายสัญญาประกันภัยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีแรกกับคดีนี้เป็นประเด็นคนละเรื่องกัน
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า "กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้ ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด" นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปีจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใดไม่ใช่พ่อค้า การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
of 25