คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โกวิท ถิระวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 244 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาประกันภัย: การคืนเงินค่าเคลมเมื่อผู้เอาประกันผิดสัญญาชำระเบี้ยประกัน
เดิมบริษัทประกันภัยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัย.ศาลฎีกาพิพากษาว่าตามเงื่อนไขท้ายสัญญาประกันภัย.มิใช่ให้โจทก์เรียกเบี้ยประกันภัยระหว่างที่พักกรมธรรม์นั้นได้. แต่ให้อำนาจเพียงที่จะเรียกร้องเงินค่าเคลมคืนเท่านั้น(ค่าเคลมคือค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปตามกรมธรรม์ประกันภัย). จึงพิพากษายกฟ้องบริษัทประกันภัยโจทก์มาฟ้องคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระเงินค่าเคลมคืนตามเงื่อนไขในท้ายสัญญาประกันภัยได้. ไม่เป็นฟ้องซ้ำ. เพราะคดีแรกกับคดีนี้เป็นประเด็นคนละเรื่องกัน.
เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า 'กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องชำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปีแต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันได้. ทั้งนี้ต้องชำระเบี้ยประกันทุกๆ งวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์. หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้. ผู้เอาประกันภัยยินดีจะให้เรียกร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆทั้งหมด' นั้น เป็นการทำสัญญาประกันภัยมีกำหนด 1 ปี จำเลยส่งเบี้ยประกันเพียง 29 งวด.ไม่ได้ส่งจนครบอายุ 1 ปี.จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย.
โจทก์เป็นบริษัทรับประกันภัย. ไม่ได้ทำการค้าขายอย่างใด. ไม่ใช่พ่อค้า.การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินค่าเคลมที่จ่ายไปคืนจากจำเลยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์สัญญาประกันภัย. ไม่ใช่การเรียกเอาค่าที่ (พ่อค้า) ได้ส่งมอบของ. แต่เรียกเอาในฐานที่จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันภัย. จึงไม่จำต้องฟ้องภายในอายุความ 2 ปี. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก, อายุความ, และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำโดยผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 สัญญาประนีประนอมยอมความ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกและการทำสัญญาของผู้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์ มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกและการทำสัญญาประนีประนอมของผู้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก. ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755.
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก. โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์. มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1546. สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967-969/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาของจำเลยร่วมผูกพันจำเลยร่วมอื่น เมื่อมูลคดีเกี่ยวกับการชำระหนี้และสิทธิการเช่า
ในกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมอีก 2 สำนวนแต่งตั้งทนายคนเดียวกัน และทนายได้ยื่น ฎีกาเฉพาะในนามของจำเลยร่วม 2 สำนวน โดยทนายเป็นผู้เซ็นชื่อในฐานะผู้ฎีกา เมื่อปรากฏว่าฎีกาฉบับนี้เสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามา 3 สำนวน และในฎีกามีข้อความว่า "จำเลยอาศัยสิทธิของจำเลยร่วม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย" ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าฎีกาที่ทนายยื่นนั้นเป็นฎีกาของจำเลยด้วย
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967-969/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาของทนายมีผลถึงจำเลยร่วม แม้ไม่ได้ร่วมฎีกา หากมูลคดีเกี่ยวเนื่องกับการชำระหนี้
ในกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมอีก 2 สำนวนแต่งตั้งทนายคนเดียวกัน และทนายได้ยื่นฎีกาเฉพาะในนามของจำเลยร่วม 2สำนวน โดยทนายเป็นผู้เซ็นชื่อในฐานะผู้ฎีกา เมื่อปรากฏว่าฎีกาฉบับนี้เสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามา 3 สำนวนและในฎีกามีข้อความว่า "จำเลยอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย" ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าฎีกาที่ทนายยื่นนั้นเป็นฎีกาของจำเลยด้วย
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967-969/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของฎีกาที่ยื่นโดยทนายร่วม และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาฎีกาต่อจำเลยร่วมที่ไม่ฎีกา
ในกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมอีก 2 สำนวนแต่งตั้งทนายคนเดียวกัน. และทนายได้ยื่นฎีกาเฉพาะในนามของจำเลยร่วม 2สำนวน โดยทนายเป็นผู้เซ็นชื่อในฐานะผู้ฎีกา. เมื่อปรากฏว่าฎีกาฉบับนี้เสียค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามา 3 สำนวนและในฎีกามีข้อความว่า 'จำเลยอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย'. ดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าฎีกาที่ทนายยื่นนั้นเป็นฎีกาของจำเลยด้วย.
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่พิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์. โจทก์ก็ไม่อาจขับไล่จำเลยได้. ดังนั้น แม้จำเลยร่วมคนหนึ่งจะไม่ได้ฎีกาก็ตาม. แต่เมื่อจำเลยฎีกา และจำเลยร่วมนั้นเป็นผู้รับโอนสิทธิการเช่าที่พิพาทจากจำเลย.จำเลยร่วมนั้นก็ไม่จำต้องถูกขับไล่ด้วย. เพราะมูลคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดของทั้งสองฝ่าย, การแก้ไขงาน, และการชดใช้ค่าก่อสร้างเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ.พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไข. ดังนี้ ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ได้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่. แต่ข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่. จะเอาการที่ ฟ.ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้. เพราะ ฟ.เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้าง. ไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงาน. โจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข. ย่อมผิดสัญญา.
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้าง. โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้าง. แต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ. เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วย.จำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา. จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย. เพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้.
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว. การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391. เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม. ส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ. การจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก. การก่อสร้างที่ทำไปแล้ว ใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียว.จำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้าง, การเลิกสัญญา, ค่าชดใช้การงาน
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ. พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไขดังนี้ ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ได้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่ แต่ข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่จะเอาการที่ ฟ. ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้เพราะ ฟ. เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้างไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงานโจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข ย่อมผิดสัญญา
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้างโจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างแต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วยจำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆการจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้วใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียวจำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดชอบของคู่สัญญา, การแก้ไขงาน, และการชดใช้ค่าก่อสร้างเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ.พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไข ดังนี้ ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ให้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่ แต่ข้อบกพร่องอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่ จะเอาการที่ ฟ.ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้เพราะ ฟ.เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้าง ไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงาน โจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข ย่อมผิดสัญญา
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่า ๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้าง แต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ
เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อย ๆ ถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วย จำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย เพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ การจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้ว ใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียว จำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์
of 25