พบผลลัพธ์ทั้งหมด 244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการประนอมหนี้ส่งผลให้สัญญาค้ำประกันระงับ และจำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดล้มละลาย
เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว หนี้ตามที่ลูกหนี้ขอประนอมและจำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกันก็เป็นอันระงับไป จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698
การใดที่ได้ทำไปแล้วตามข้อประนอมหนี้ ก่อนศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประนอมหนี้ การนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์แต่กิจการใดถ้าได้กระทำภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประนอมหนี้ก็ดีหรือที่จะกระทำต่อไปภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประนอมหนี้ก็ดี กิจการนั้นไม่มีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นแล้วมูลหนี้ที่โจทก์อ้างเพื่อขอให้พิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายก็เป็นอันระงับไปตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้พิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย หากจำเลยถูกฟ้องล้มละลายเกี่ยวกับหนี้ที่ค้ำประกันนี้และร้องขอประนอมหนี้จนกระทั่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบตามคำขอประนอมหนี้คำสั่งนั้นก็ไม่ผูกพันจำเลยแต่อย่างใด
การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย)และดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเท่านั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายระงับไปแล้ว ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียได้
การใดที่ได้ทำไปแล้วตามข้อประนอมหนี้ ก่อนศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประนอมหนี้ การนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์แต่กิจการใดถ้าได้กระทำภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประนอมหนี้ก็ดีหรือที่จะกระทำต่อไปภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประนอมหนี้ก็ดี กิจการนั้นไม่มีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นแล้วมูลหนี้ที่โจทก์อ้างเพื่อขอให้พิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายก็เป็นอันระงับไปตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้พิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย หากจำเลยถูกฟ้องล้มละลายเกี่ยวกับหนี้ที่ค้ำประกันนี้และร้องขอประนอมหนี้จนกระทั่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบตามคำขอประนอมหนี้คำสั่งนั้นก็ไม่ผูกพันจำเลยแต่อย่างใด
การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์ของลูกหนี้ (จำเลย)และดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเท่านั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เมื่อหนี้ที่โจทก์อ้างเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายระงับไปแล้ว ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินมรดกให้ผู้อื่นโดยเสน่หา ต้องไม่เกินฐานะและส่วนแบ่งสินสมรส จึงไม่จำต้องมีหนังสือยินยอมจากคู่สมรส
สามีได้รับมรดกที่ดินมาในระหว่างสมรส แล้วทำนิติกรรมยกที่ดินนั้นครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หา เมื่อปรากฏว่าการให้นั้นเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473 (3) แล้ว ก็ไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยา ภริยาไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินมรดกโดยเสน่หาให้แก่ผู้อื่น ต้องไม่เกินฐานะและถือเป็นการตอบแทนคุณงามความดี จึงไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
สามีได้รับมรดกที่ดินมาในระหว่างสมรส แล้วทำนิติกรรมยกที่ดินนั้นครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หา เมื่อปรากฏว่าการให้นั้นเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) แล้ว ก็ไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยาภริยาไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความขาดเมื่อทายาทปล่อยให้บิดาครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะเจ้าของหลังบรรลุนิติภาวะ
มารดาถึงแก่กรรม บรรดาบุตรรวมทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่ในปกครองของบิดา บิดาได้ครอบครองทรัพย์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวตลอดมาโดยบุตรทุกคนไม่ได้เกี่ยวข้องทรัพย์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจจัดการของบิดาแต่ผู้เดียว แสดงว่าบิดาถือตนเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา บิดาได้แบ่งสินเดิมของมารดาให้แก่บุตรทุกคนเท่า ๆ กัน แต่สินสมรสไม่แบ่งบิดาได้ยุบร้านค้าเดิมมาเปิดร้านค้าใหม่กู้เงินบุคคลภายนอกมาลงทุนโดยไม่มีบุตรคนใดเกี่ยวข้อง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าบิดามิได้ครอบครองทรัพย์สินแทนบุตรแต่ประการใด กลับมีพฤติการณ์แสดงว่าบุตรปล่อยให้บิดาครอบครองอย่างเจ้าของ และเมือโจทก์และโจทก์ร่วมบรรลุนิติภาวะแล้ว อำนาจการปกครองโจทก์และโจทก์ร่วมของบิดาก็สิ้นสุดลงอำนาจการครอบครองทรัพย์ของโจทก์และโจทก์ร่วมก็สิ้นไปด้วย โจทก์กับโจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของมารดาอันเป็นส่วนแบ่งของตนจากบิดาได้ แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้บังคับ จนล่วงเลยมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 114/2482)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องมรดก: การครอบครองทรัพย์สินโดยบิดาหลังบุตรบรรลุนิติภาวะและการขาดอายุความ
มารดาถึงแก่กรรม บรรดาบุตรรวมทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่ในปกครองของบิดา บิดาได้ครอบครองทรัพย์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวตลอดมา โดยบุตรทุกคนไม่ได้เกี่ยวข้องทรัพย์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจจัดการของบิดาแต่ผู้เดียว แสดงว่าบิดาถือตนเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา บิดาได้แบ่งสินเดิมของมารดาให้ แก่บุตรทุกคนเท่า ๆ กัน แต่สินสมรสไม่แบ่ง บิดาได้ยุบร้านค้าเดิมมาเปิดร้านค้าใหม่กู้เงินบุคคลภายนอกมาลงทุนโดยไม่มีบุตรคนใดเกี่ยวข้องพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าบิดามิได้ครอบครองทรัพย์สินแทนบุตรแต่ประการใดกลับมีพฤติการณ์แสดงว่าบุตรปล่อยให้บิดาครอบครองอย่างเจ้าของและเมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมบรรลุนิติภาวะแล้ว อำนาจการปกครองโจทก์และโจทก์ร่วมของบิดาก็สิ้นสุดลงอำนาจการครอบครองทรัพย์ของโจทก์และโจทก์ร่วมก็สิ้นไปด้วย โจทก์กับโจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของมารดาอันเป็นส่วนแบ่งของตนจากบิดาได้ แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้บังคับ จนล่วงเลยมาเป็นเวลาเกินกว่า10 ปีแล้ว คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 114/2482)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์มีผลผูกพันบังคับได้ หากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คำว่า "ทรัพย์สินอย่างใด ๆ ดังว่ามานี้ก็ดี" และคำว่า "ทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 นั้นหมายถึงทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรคต้น ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์มีผลผูกพันบังคับได้ หากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คำว่า 'ทรัพย์สินอย่างใด ๆ ดังว่ามานี้ก็ดี' และคำว่า 'ทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี' ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองนั้น หมายถึงทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรคต้น ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
โจทย์ฟ้องจำเลย 3 คน ปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ ส่วนคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อจำต้องอาศัยผลของข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ก่อน แต่โจทก์ดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โดยไม่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น คดีที่โจทย์ฟ้องจำเลยที่ 3 ร่วมเข้ามา จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณาเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ และผลกระทบต่อการฟ้องจำเลยอื่นร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลย 3 คน ปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ ส่วนคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อจำต้องอาศัยผลของข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ก่อน แต่โจทก์ดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โดยไม่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ร่วมเข้ามา จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณาเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดเวลา การบอกเลิกสัญญา และสิทธิในสิ่งปลูกสร้าง
สัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลานั้น ประมวนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 บัญญัติว่าคู่สัญญาฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาในขณะเมื่อสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ จำเลยจะนำสืบว่าการเช่าไม่มีกำหนดเวลารายนี้คู่สัญญาเข้าใจกันหรือตามประเพณีว่าให้จำเลยมีสิทธิเช่าได้ตลอดไปหาได้ไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องนี้ไว้ชัดแจ้งแล้วการที่จะให้จำเลยนำสืบจึงไม่มีประโยชน์แก่คดี ศาลชอบที่จะตัดไม่ให้จำเลยสืบได้
สิ่งปลูกสร้างที่ปลูกในที่ดินซึ่งเช่ามาเมื่อสัญญาเช่าระงับลง ผู้เช่าก็ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไป จะบังคับให้ผู้ให้เช่าที่ดินต้องซื้อสิ่งปลูกสร้างนั้นหาได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
คำสั่งระหว่างพิจารณา ถ้าไม่ได้โต้แย้งไว้จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
สิ่งปลูกสร้างที่ปลูกในที่ดินซึ่งเช่ามาเมื่อสัญญาเช่าระงับลง ผู้เช่าก็ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไป จะบังคับให้ผู้ให้เช่าที่ดินต้องซื้อสิ่งปลูกสร้างนั้นหาได้ไม่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310
คำสั่งระหว่างพิจารณา ถ้าไม่ได้โต้แย้งไว้จะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้