พบผลลัพธ์ทั้งหมด 244 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรในโรงงานเดิม ไม่ถือเป็นการตั้งโรงงานใหม่ หากมีใบอนุญาตโรงงานเดิมอยู่แล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตั้งโรงงานสีข้าวก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยตั้งโรงงานโดยได้รับอนุญาตอยู่แล้ว เพียงแต่จำเลยเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ใช้ในโรงงานเดิมเท่านั้น ไม่ถือว่าตั้งโรงงานขึ้นใหม่ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรในโรงงานเดิม ไม่ถือเป็นการตั้งโรงงานใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตั้งโรงงานสีข้าวก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยตั้งโรงงานโดยได้รับอนุญาตอยู่แล้ว เพียงแต่จำเลยเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ใช้ในโรงงานเดิมเท่านั้น ไม่ถือว่าตั้งโรงงานขึ้นใหม่ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรในโรงงานเดิม ไม่ถือเป็นการตั้งโรงงานใหม่ หากได้รับอนุญาตแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตั้งโรงงานสีข้าวก่อนที่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยตั้งโรงงานโดยได้รับอนุญาตอยู่แล้ว เพียงแต่จำเลยเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ใช้ในโรงงานเดิมเท่านั้นไม่ถือว่าตั้งโรงงานขึ้นใหม่ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ผิดฐานตั้งโรงงานโดยไม่รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไขพิจารณารวมกับฟ้องเดิมไม่ได้ ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าเพื่อขอให้ยกฟ้องโจทก์ และฟ้องแย้งว่าเมื่อโจทก์จะให้จำเลยเลิกเช่า โจทก์จะต้องคืนเงินค่าเช่าบางส่วนแก่จำเลย ดังนี้ เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขพิจารณารวมไปกับฟ้องเดิมไม่ได้ จึงไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งเช่นนี้ไว้พิจารณา (อ้างฎีกาที่ 956/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไขไม่ชอบ ศาลไม่รับพิจารณารวมกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้เพื่อขอให้ยกฟ้องโจทก์ และฟ้องแย้งว่าเมื่อโจทก์จะให้จำเลยเลิกเช่าโจทก์จะต้องคืนเงินค่าเช่าบางส่วนแก่จำเลย ดังนี้เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขพิจารณารวมไปกับฟ้องเดิมไม่ได้จึงไม่ชอบที่จะรับฟ้องแย้งเช่นนี้ไว้พิจารณา (อ้างฎีกาที่ 956/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัด อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวินี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวินี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิขึ้น ส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อจำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ เพราะมาตรา 27 ทิวไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวิ นี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิ ขึ้นส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อ จำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้เพราะมาตรา 27 ทวิ ไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลาง มาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นถือเป็นที่สุด
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า เรือนที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดใช้หนี้ตามคำพิพากษาเป็นของผู้ร้อง ราคา 2,000 บาท ศาลชั้นต้นสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์สั่งว่าคดีมีทุนทรัพย์ 2,000 บาท และเรือนในลักษณะถูกยึดมาขายเช่นคดีนี้ย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์นี้ให้เป็นที่สุดผู้ร้องฎีกาไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา236
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้เป็นงวด การผิดนัดชำระแม้เพียงงวดเดียวถือเป็นผิดนัดทั้งหมด
จำเลยทำสัญญายอมความชำระหนี้จำนองจำนวนหนึ่ง โดยมีข้อตกลงกำหนดและเวลาชำระหนี้ว่า จะต้องชำระภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน เดือนละ 1,000 บาท แต่ไม่มีข้อความว่าถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดสัญญายอม การที่จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นงวด ๆ นี้ หาได้แยกหนี้ออกเป็นราย ๆ ต่างรายกันไม่ เหตุนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ แม้แต่งวดหนึ่งงวดใดก็ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้จำนองรายนั้นทั้งหมด หาใช่ผิดนัดแต่เฉพาะงวดไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้เป็นงวดๆ หากผิดนัดแม้หนึ่งงวด ถือผิดนัดทั้งหมดและถูกบังคับจำนองได้
จำเลยทำสัญญายอมความชำระหนี้จำนองจำนวนหนึ่ง โดยมีข้อตกลงกำหนดและเวลาชำระหนี้ว่า จะต้องชำระภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน เดือนละ 1,000 บาท แต่ไม่มีข้อความว่าถ้าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดสัญญายอมการที่จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นงวดๆ นี้ หาได้แยกหนี้ออกเป็นรายๆ ต่างรายกันไม่เหตุนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ แม้แต่งวดหนึ่งงวดใดก็ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้จำนองรายนั้นทั้งหมด หาใช่ผิดนัดแต่เฉพาะงวดไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)