คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ โชติรัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 452 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การใช้ขวานเพื่อป้องกันการถูกแทงด้วยมีด
ผู้ตายกับจำเลยโต้เถียงกันด้วยเรื่องโคของบิดาจำเลยกับพวกก่อนแล้วผู้ตายใช้มีดยาวทั้งตัวและด้ามประมาณ 1 ฟุตแทงจำเลยถูกแขนทะลุ จำเลยหนีขึ้นเรือน ผู้ตายไล่ตามขึ้นไปถือมีดจ้องแทงจำเลย จำเลยหนีต่อไปไม่ได้ติดฝาระเบียงเรือน จึงหยิบขวานที่พื้นเรือนตรงนั้นแกว่งตีไป 2-3 ที ถูกศีรษะผู้ตายตกลงพื้นดินแล้วจำเลยโดดเรือนหนีไป ดังนี้เป็นการที่จำเลยกระทำไปเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีซื้อขายที่ดินพิพาทเดิมชี้ขาดแล้ว การฟ้องเรื่องบุกรุกจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะขายที่ดิน คือ ที่พิพาทในคดีนี้ให้โจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า ลายมือชื่อผู้ขายไม่ใช่ลายเซ็นที่แท้จริงของจำเลยสำหรับคดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์และขอเรียกค่าเสียหายก็ดี ก็คงได้ความตามฟ้องของโจทก์ว่าที่โจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ก็โดยโจทก์ถือว่าจำเลยได้ขายขาดที่พิพาทให้โจทก์แล้วเช่นเดียวกัน มูลเหตุที่โจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ศาลได้พิพากษาชี้ขาดมาแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพาทเรื่องสัญญาซื้อขายที่ดิน คดีใหม่อ้างบุกรุก แต่เหตุผลอ้างอิงจากคดีเดิม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะขายที่ดินคือ ที่พิพาทในคดีนี้ให้โจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าลายมือชื่อผู้ขายไม่ใช่ลายเซ็นที่แท้จริงของจำเลย สำหรับคดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์และขอเรียกค่าเสียหายก็ดี ก็คงได้ความตามฟ้องของโจทก์ว่าที่โจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ก็โดยโจทก์ถือว่าจำเลยได้ขายขาดที่พิพาทให้โจทก์แล้วเช่นเดียวกัน มูลเหตุที่โจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ศาลได้พิพากษาชี้ขาดมาแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลกฎหมายและการฟ้องคดี การพิจารณาประเภทมูลคดีและอายุความ
คำฟ้องที่โต้เถียงการแปลกฎหมายของจำเลยว่าจำเลยแปลกฎหมายมาใช้บังคับกับโจทก์ไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นคำฟ้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด แม้ตามคำฟ้องจะเขียนว่าเป็นการฟ้องเรื่องละเมิด และในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่า จำเลยใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมายและงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้ ก็ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟ้องของโจทก์กลายเป็นฟ้องในมูลละเมิด เพราะต้องถือเอาคำบรรยายฟ้องเป็นสำคัญ
เมื่อมูลคดีที่โจทก์ต้องไม่ใช่เป็นเรื่องละเมิดจะนำเอาบทบัญญัติเรื่องอายุความอันเกิดแต่มูลละเมิดมาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลกฎหมายและการฟ้องคดีที่ไม่ใช่ละเมิด อายุความไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้
คำฟ้องที่โต้เถียงการแปลกฎหมายของจำเลยว่าจำเลยแปลกฎหมายมาใช้บังคับกับโจทก์ไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นคำฟ้องให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด แม้ตามคำฟ้องจะเขียนว่าเป็นการฟ้องเรื่องละเมิด และในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่า จำเลยใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมายและงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์อันพึงมีพึงได้ ก็ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟ้องของโจทก์กลายเป็นฟ้องในมูลละเมิด เพราะต้องถือเอาคำบรรยายฟ้องเป็นสำคัญ
เมื่อมูลคดีที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่เป็นเรื่องละเมิด จะนำเอาบทบัญญัติเรื่องอายุความอันเกิดแต่มูลละเมิดมาใช้บังคับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้นและกิจการโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันของผู้ทำสัญญา และการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องกระทำการไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และอยู่ในครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และ 1144 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาโอนขายกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และบรรดาผู้ถือหุ้นก็ไม่เคยประชุมใหญ่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโอนขายได้ และสัญญานั้นจะโอนขายหุ้นทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนี้สัญญาโอนหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 กระทำไปนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกผูกพันที่จะโอนหุ้นและส่งมอบกิจการของบริษัทให้แก่โจทก์ด้วย
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วย ในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้นและกิจการเดินรถโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำโดยไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องกระทำการไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และอยู่ในครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 และ 1144 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาโอนขายกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และบรรดาผู้ถือหุ้นก็ไม่เคยประชุมใหญ่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโอนขายได้ และสัญญานั้นจะโอนขายหุ้นทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนี้ สัญญาโอนหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 กระทำไปนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกผูกพันที่จะโอนหุ้นและส่งมอบกิจการของบริษัทให้แก่โจทก์ด้วย
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วยในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ว่าผู้รับเช็คสมคบกันฉ้อฉล จำเลยมีสิทธิสืบพยานเพื่อปฏิเสธความรับผิด
จำเลยให้การว่าออกเช็คให้ผู้อื่นเพื่อไปซื้อของให้จำเลยแล้วผู้นั้นพาเช็คหลบหนีไป ต่อมาโจทก์ได้รับเช็คดังกล่าวจากผู้พาเช็คหลบหนีไปโดยสมคบกันเพื่อมาเรียกร้องเอาเงินจากจำเลย ด้วยเจตนาทุจริตและปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับเช็ครายพิพาทจากผู้ที่พาเช็คหลบหนีไป โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยฉะนั้นจำเลยชอบที่จะนำพยานสืบปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้เรื่องการโอนเช็คโดยเจตนาทุจริตและการสมคบคิดฉ้อฉล ผู้รับโอนมีอำนาจฟ้องหรือไม่
จำเลยให้การว่าออกเช็คให้ผู้อื่นเพื่อไปซื้อของให้จำเลย แล้วผู้นั้นพาเช็คหลบหนีไป ต่อมาโจทก์ได้รับเช็คดังกล่าวจากผู้พาเช็คหลบหนีไปโดยสมคบกันเพื่อมาเรียกร้องเอาเงินจากจำเลย ด้วยเจตนาทุจริตและปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับเช็ครายพิพาทจากผู้ที่พาเช็คหลบหนีไป โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยฉะนั้นจำเลยชอบที่จะนำพยานสืบปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้เป็นสามีภริยาก็ไม่สามารถทำพินัยกรรมยกสิทธิให้ผู้อื่นได้
บิดาโจทก์อยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของ บิดาโจทก์ทำพินัยกรรมโอนสิทธิในที่เช่านั้นให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง พินัยกรรมนั้นไม่มีผลที่จะนำมาใช้ยันจำเลยได้
of 46