คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ โชติรัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 452 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
สลากเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดที่ฝากล่องใส่ตะไบนอนไปตามส่วนยาวของกล่อง ตอนส่วนบนสลากของโจทก์เป็นรูปตะไบ 2 อันไขว้ทับกันเป็นเส้นทะแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางระหว่างโคนตะไบมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ ยู.เอส.เอ. เป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนของจำเลยเป็นรูปตะไบ 2 อันวางอยู่ห่างกัน หันปลายตะไบเข้าหากัน โคนตะไบถ่างออกจากกันตรงกลางระหว่างโคนตะไบเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวต่อลงไปทางส่วนกลางของสลากของโจทก์เป็นรูปผู้ชายกำลังยืนใช้ตะไบถูเหล็ก ส่วนของจำเลยเป็นรูปโรงงานมีควันไฟกำลังออกจากปล่องของโรงงานรูปทั้งสองบนสลากดังกล่าวนี้มีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจนที่สุด ไม่มีทางที่จะทำให้เห็นได้เลยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีลักษณะไปในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และไม่ชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันหรือเกือบเหมือนกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน การที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่จำเลยสั่งตะไบที่มีเครื่องหมายการค้าตามหมาย จ.11 มาขาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ตามกำหนดเวลา ถือเป็นการทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์
การที่โจทก์ผู้อุทธรณ์ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยอุทธรณ์คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จะเป็นโดยจงใจหรือหลงลืมพลั้งเผลอย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม และมาตรา 229 กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ ฉะนั้น การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่จะละเว้นเสียมิได้และบทบัญญัติแห่งมาตรา 174(2) ย่อมนำมาใช้บังคับในชั้นพิจารณาขอศาลอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาถือเป็นการทิ้งฟ้อง แม้จะติดใจดำเนินคดีต่อ
การที่โจทก์ผู้อุทธรณ์ไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยอุทธรณ์คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จะเป็นโดยจงใจหรือหลงลืมพลั้งเผลอย่อมเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลม และมาตรา 229 กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาลเพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ ฉะนั้น การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่จะละเว้นเสียมิได้และบทบัญญัติแห่งมาตรา 174(2) ย่อมนำมาใช้บังคับในชั้นพิจารณาขอศาลอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนที่ดินเวนคืนเพื่อกิจการรถไฟ แม้จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จริง เจ้าของไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32กำหนดให้เจ้าของเดิมหรือทายาทหรือผู้รับโอนมีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนได้เฉพาะแต่ในกรณีที่เวนคืนมาเพื่อการสาธารณูปโภคหรือการเหมืองแร่แต่ถ้าเวนคืนมาเพื่อใช้ในกิจการของรถไฟ และที่ดินที่เวนคืนได้ตกเป็นของรถไฟโดยโดยชอบแล้ว แม้รถไฟจะมิได้เคยใช้หรือกำลังใช้ในกิจการของรถไฟ เจ้าของหรือทายาทหรือผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามมาตรา 32 นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนที่ดินเวนคืนเพื่อกิจการรถไฟ แม้ยังมิได้ใช้ประโยชน์ ย่อมไม่มีสิทธิเรียกคืนได้ตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 32 กำหนดให้เจ้าของเดิมหรือทายาทหรือผู้รับโอนมีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนได้เฉพาะแต่ในกรณีที่เวนคืนมาเพื่อการสาธารณูปโภคหรือการเหมืองแร่แต่ถ้าเวนคืนมาเพื่อใช้ในกิจการของรถไฟ และที่ดินที่เวนคืนได้ตกเป็นของรถไฟโดยโดยชอบแล้ว แม้รถไฟจะมิได้เคยใช้หรือกำลังใช้ในกิจการของรถไฟ เจ้าของหรือทายาทหรือผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามมาตรา 32 นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาขัดต่อดุลพินิจศาลในการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมแทนการลงโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรม ณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กโดยอาศัยอำนาจตามความในบทบัญญัติมาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้มิใช่การพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ก็เป็นการสั่งใช้วิธีการที่เบากว่าโทษจำคุกจึงต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 218 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้กำหนดระยะเวลาที่จะให้จำเลยไปอยู่ฝึกและอบรม จำเลยกลับฎีกาอ้างเหตุมาว่า ถูกคุมขังในระหว่างอุทธรณ์มาเกินกำหนดระยะเวลาแล้ว ถือว่าเป็นการลงโทษและจำเลยได้รับโทษตามคำพิพากษาแล้ว ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่า ขังมาพอกับโทษและให้ปล่อยตัวไป เช่นนี้เท่ากับจำเลยฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลและขอให้เปลี่ยนจากใช้วิธีการที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาเป็นการลงโทษและกำหนดโทษใหม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลเกี่ยวกับวิธีการบำบัดฟื้นฟูเด็กแทนการลงโทษ
การที่ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กโดยอาศัยอำนาจตามความในบทบัญญัติมาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้มิใช่การพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ก็เป็นการสั่งใช้วิธีการที่เบากว่าโทษจำคุกจึงต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 218 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้กำหนดระยะเวลาที่จะให้จำเลยไปอยู่ฝึกและอบรม จำเลยกลับฎีกาอ้างเหตุมาว่า ถูกคุมขังในระหว่างอุทธรณ์มาเกินกำหนดระยะเวลาแล้ว ถือว่าเป็นการลงโทษและจำเลยได้รับโทษตามคำพิพากษาแล้ว ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่า ขังมาพอกับโทษและให้ปล่อยตัวไป เช่นนี้เท่ากับจำเลยฎีกาคัดค้านดุลพินิจของศาลและขอให้เปลี่ยนจากใช้วิธีการที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มาเป็นการลงโทษและกำหนดโทษใหม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิจำนองหลังขายทอดตลาด: ผู้ร้องยื่นคำร้องพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
การขอหักเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อเอาเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอันเกิดจากการจำนองเป็นกรณีใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ซึ่งวรรค 2 กำหนดระยะเวลาให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาภายหลังจากที่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไปเสร็จสิ้นแล้ว ชอบที่ศาลจะต้องยกคำร้องเพราะเป็นคำร้องขอที่ยื่นมาพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิจำนองหลังการขายทอดตลาด: คำร้องพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
การขอหักเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อเอาเงินชำระต้นเงินและดอกเบี้ยอันเกิดจากการจำนองเป็นกรณีใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ซึ่งวรรคสองกำหนดระยะเวลาให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาภายหลังจากที่ได้ขายทอดตลาดทรัพย์นั้นไปเสร็จสิ้นแล้ว ชอบที่ศาลจะต้องยกคำร้องเพราะเป็นคำร้องขอที่ยื่นมาพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้เรื่องประกันหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายด้วยมูลหนี้สัญญากู้ เมื่อศาลยกฟ้องแล้วโจทก์นำสัญญากู้นั้นมาฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยอีก ดังนี้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ไว้ให้โจทก์จริงและในสัญญามีข้อความว่าได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่จะให้จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ แต่ได้ทำสัญญากู้ไว้เพื่อเป็นประกัน ป. ลูกหนี้ของโจทก์ ดังนี้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
of 46