คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ โชติรัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 452 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913-1915/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้จะรวมพิจารณาคดีแล้ว โทษจำคุกรวมต้องไม่เกิน 20 ปี
แม้โจทก์จะแยกฟ้องจำเลยเป็นสามสำนวน. โดยขอให้นับโทษจำเลยทุกสำนวนต่อกันก็ตาม. แต่เมื่อศาลได้รวมพิจารณาคดีทั้งสามสำนวนเข้าด้วยกัน และปรากฏว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดทั้งสามสำนวน. ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามรายสำนวนก็ได้.แต่ทั้งนี้โทษจำคุกทั้งสิ้นของจำเลยในคำพิพากษาฉบับเดียวกันนี้จะต้องไม่เกิน 20 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา.มาตรา 91.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 828-830/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าจ้างเพื่อเป็นค่าปรับก่อนฟ้องล้มละลาย ไม่ถือเป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
ลูกหนี้ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างตึกพร้อมครุภัณฑ์โดยมีข้อสัญญาว่า หากลูกหนี้ก่อสร้างไม่เสร็จภายในกำหนดเวลา ยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวัน วันละ 2,500 บาท และผู้ว่าจ้างมีอำนาจยึดและหักเงินค่าจ้างที่ค้างชำระไว้เพื่อเป็นค่าทดแทนได้ ปรากฏว่าลูกหนี้ผิดสัญญาก่อสร้างล่าช้าไป ซึ่งต้องถูกปรับ ผู้ว่าจ้างจึงหักเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายที่จะจ่ายให้ลูกหนี้ไว้เป็นค่าเบี้ยปรับตามสัญญา ทั้งนี้ภายในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ลูกหนี้ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าจ้างขอให้ระงับการปรับแต่ผู้ว่าจ้างไม่ยินยอม แม้ลูกหนี้จะยอมทำหลักฐานให้ผู้ว่าจ้างไว้ว่าได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายครบถ้วนเต็มจำนวนแล้วก็ถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้ว่าจ้างเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับก่อนล้มละลาย ไม่เป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
ลูกหนี้ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างตึกพร้อมครุภัณฑ์โดยมีข้อสัญญาว่าหากลูกหนี้ก่อสร้างไม่เสร็จภายในกำหนดเวลา ยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวัน วันละ 2,500 บาท และผู้ว่าจ้างมีอำนาจยึดและหักเงินค่าจ้างที่ค้างชำระไว้เพื่อเป็นค่าทดแทนได้ ปรากฏว่าลูกหนี้ผิดสัญญาก่อสร้างล่าช้าไป ซึ่งต้องถูกปรับ ผู้ว่าจ้างจึงหักเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายที่จะจ่ายให้ลูกหนี้ไว้เป็นค่าเบี้ยปรับตามสัญญา ทั้งนี้ภายในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ลูกหนี้ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าจ้างขอให้ระงับการปรับ แต่ผู้ว่าจ้างไม่ยินยอม แม้ลูกหนี้จะยอมทำหลักฐานให้ผู้ว่าจ้างไว้ว่าได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายครบถ้วนเต็มจำนวนแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้ว่าจ้างเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าจ้างเพื่อเป็นค่าปรับตามสัญญา และผลกระทบต่อเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย
ลูกหนี้ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างตึกพร้อมครุภัณฑ์โดยมีข้อสัญญาว่า. หากลูกหนี้ก่อสร้างไม่เสร็จภายในกำหนดเวลา. ยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวัน วันละ 2,500 บาท และผู้ว่าจ้างมีอำนาจยึดและหักเงินค่าจ้างที่ค้างชำระไว้เพื่อเป็นค่าทดแทนได้. ปรากฏว่าลูกหนี้ผิดสัญญาก่อสร้างล่าช้าไป ซึ่งต้องถูกปรับ. ผู้ว่าจ้างจึงหักเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายที่จะจ่ายให้ลูกหนี้ไว้เป็นค่าเบี้ยปรับตามสัญญา. ทั้งนี้ภายในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ลูกหนี้ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าจ้างขอให้ระงับการปรับ.แต่ผู้ว่าจ้างไม่ยินยอม. แม้ลูกหนี้จะยอมทำหลักฐานให้ผู้ว่าจ้างไว้ว่าได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายครบถ้วนเต็มจำนวนแล้ว.ก็ถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ.โดยมุ่งหมายให้ผู้ว่าจ้างเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะและการลดหย่อนผ่อนโทษทางอาญา: การกระทำของบุตรต่อบิดาที่ถูกข่มเหง
จำเลยใช้เท้าถีบฝาเรือนใส่หน้าบิดา เป็นการกระทำที่บุตรไม่น่าจะทำต่อบิดาก็จริง แต่บิดาก็เป็นฝ่ายผิดอยู่มากที่เอามีดดาบขนาดใหญ่เข้าไปจะแทงจำเลย เป็นการใช้สิทธิความเป็นบิดาเกินควร ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยตีมีดดาบหลุดจากมือบิดาไปแล้วก็หยิบมีดดาบนั้นมาทำร้ายบิดาในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดติดกันนั่นเอง ถือได้ว่ากระทำลงโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
แม้จำเลยให้การรับสารภาพและไม่ได้ยกเรื่องบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่ามีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ ศาลก็ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ลดหย่อนผ่อนโทษในคดีทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้เท้าถีบฝาเรือนใส่หน้าบิดา เป็นการกระทำที่บุตรไม่น่าจะทำต่อบิดาก็จริง แต่บิดาก็เป็นฝ่ายผิดอยู่มากที่เอามีดดาบขนาดใหญ่เข้าไปจะแทงจำเลย เป็นการใช้สิทธิความเป็นบิดาเกินควร ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยตีมีดดาบหลุดจากมือบิดาไปแล้วก็หยิบมีดดาบนั้นมาทำร้ายบิดาในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดติดกันนั่นเอง ถือได้ว่ากระทำลงโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
แม้จำเลยให้การรับสารภาพและไม่ได้ยกเรื่องบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่ามีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ ศาลก็ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะและการลดหย่อนผ่อนโทษในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ชีวิต ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
จำเลยใช้เท้าถีบฝาเรือนใส่หน้าบิดา. เป็นการกระทำที่บุตรไม่น่าจะทำต่อบิดาก็จริง. แต่บิดาก็เป็นฝ่ายผิดอยู่มากที่เอามีดดาบขนาดใหญ่เข้าไปจะแทงจำเลย. เป็นการใช้สิทธิความเป็นบิดาเกินควร. ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม. จำเลยตีมีดดาบหลุดจากมือบิดาไปแล้วก็หยิบมีดดาบนั้นมาทำร้ายบิดาในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดติดกันนั่นเอง. ถือได้ว่ากระทำลงโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72.
แม้จำเลยให้การรับสารภาพและไม่ได้ยกเรื่องบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้. เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่ามีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ. ศาลก็ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ต้องพิจารณาเจ้ากรรมสิทธิ์ หากที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติ โจทก์ไม่มีสิทธิอื่นใด ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างเป็นเจ้าของที่พิพาทฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าเพราะเหตุสัญญาเช่าครบกำหนดเวลา จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและโจทก์ไม่มีสิทธิอื่นใดในที่พิพาท โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย (อ้างฎีกาที่ 948/2501)
เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานในประเด็นข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามที่จำเลยต่อสู้หรือไม่ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามให้พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่: จำเป็นต้องตรวจสอบสถานะที่ดินสาธารณสมบัติก่อนพิจารณา
โจทก์อ้างเป็นเจ้าของที่พิพาทฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าเพราะเหตุสัญญาเช่าครบกำหนดเวลา จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและโจทก์ไม่มีสิทธิอื่นใดในที่พิพาทโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย (อ้างฎีกาที่ 948/2501)
เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานในประเด็นข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามที่จำเลยต่อสู้หรือไม่ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามให้พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ต้องพิจารณาควบคู่กับสถานะกรรมสิทธิ์ของที่ดิน หากเป็นสาธารณสมบัติ โจทก์ต้องมีสิทธิอื่นจึงจะมีอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างเป็นเจ้าของที่พิพาทฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าเพราะเหตุสัญญาเช่าครบกำหนดเวลา. จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง. หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและโจทก์ไม่มีสิทธิอื่นใดในที่พิพาท. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.(อ้างฎีกาที่ 948/2501).
เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานในประเด็นข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามที่จำเลยต่อสู้หรือไม่. ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามให้พิจารณาพิพากษาใหม่.
of 46