คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ โชติรัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 452 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1833/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความพยานในศาล ไม่ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล หากเป็นการตอบคำถามตามประเด็นคดี หรือคำถามของศาล
แม้คำเบิกความของพยานจะมีข้อความหมายให้เห็นไปในทำนองเสียดสีดูหมิ่นศาล แต่เมื่อข้อความตามคำเบิกความของพยานเกิดขึ้นจากการตอบคำถามของศาลหรือของโจทก์จำเลยอันเป็นประเด็นที่คู่ความนำสืบกันมาในคดี ดังนี้ จะถือว่าพยานถือโอกาสเบิกความก้าวร้าวเสียดสีดูหมิ่นศาลเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลยังไม่ได้ พยานจึงยังไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัว: การแย่งมีดและการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายจากผู้ที่ยังคงมีเจตนาทำร้าย
ผู้ตายเมาสุราใช้มีดปลายแหลมแทงด้วยเจตนาฆ่า ถูกจำเลยทางด้านหลังก่อนจำเลยจึงเข้าแย่งมีดมาได้ แล้วผู้ตายกลับเข้ากอดปล้ำแย่งมีดจากจำเลยอีก เช่นนี้ แสดงว่าผู้ตายยังติดตามคิดจะทำร้ายจำเลยให้ถึงตายตามที่มีเจตนาแต่แรก ดังนั้น การที่จำเลยเสือกมีดไปถูกผู้ตายเกิดบาดแผล 3 แผล ลึก 5 เซนติเมตรถึงแก่ความตายในขณะที่ผู้ตายกับจำเลยกำลังแย่งมีดกันอย่างชุลมุนในระยะกระชั้นชิดเช่นนี้ เป็นการที่จำเลยกระทำไปเพื่อให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จึงเป็นการกระทำป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัว: การแย่งมีดและการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากผู้ที่ยังคงมีเจตนาทำร้าย
ผู้ตายเมาสุราใช้มีดปลายแหลมแทงด้วยเจตนาฆ่า ถูกจำเลยทางด้านหลังก่อนจำเลยจึงเข้าแย่งมีดมาได้ แล้วผู้ตายกลับเข้ากอดปล้ำแย่งมีดจากจำเลยอีก เช่นนี้ แสดงว่าผู้ตายยังติดตามคิดจะทำร้ายจำเลยให้ถึงตายตามที่มีเจตนาแต่แรก ดังนั้น การที่จำเลยเสือกมีดไปถูกผู้ตายเกิดบาดแผล 3 แผล ลึก 5 เซนติเมตร ถึงแก่ความตายในขณะที่ผู้ตายกับจำเลยกำลังแย่งมีดกันอย่างชุลมุนในระยะกระชั้นชิดเช่นนี้ เป็นการที่จำเลยกระทำไปเพื่อให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จึงเป็นการกระทำป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงที่ศาลตัดสินในคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันมาในคำฟ้องฉบับเดียวกัน การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารที่โจทก์กล่าวหาในส่วนอาญาว่าจำเลยทำปลอมขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาชี้ขาดถึงที่สุดว่า เป็นใบมอบอำนาจเอกสารที่แท้จริงถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ดังนี้ คดีในส่วนแพ่งที่โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งทำลายนิติกรรมและเอกสารต่าง ๆ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาบังคับให้ตามคำขอได้ ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง: ศาลต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาชี้ขาด
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันมาในคำฟ้องฉบับเดียวกัน การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารที่โจทก์กล่าวหาในส่วนอาญาว่าจำเลยทำปลอมขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาชี้ขาดถึงที่สุดว่า เป็นใบมอบอำนาจเอกสารที่แท้จริงถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ดังนี้ คดีในส่วนแพ่งที่โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งทำลายนิติกรรมและเอกสารต่าง ๆ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาบังคับให้ตามคำขอได้ ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนตกอยู่ในบังคับการบังคับคดี
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่คนงานของรัฐฯ เงินเดือนบังคับคดีได้ตาม กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง
ลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่เป็นคนงานของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2514)
เมื่อลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยมิใช่คนงานของรัฐบาลเงินเดือนหรือค่าจ้างของบุคคลนั้นจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) ส่วนที่เกินกว่าเดือนละสี่สิบบาทอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามจำนวนที่ศาลจะกำหนดตามที่เห็นสมควรแก่พฤติการณ์แห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษาผ่านเอกสารสิ่งพิมพ์ โดยเชื่อมโยงกับการพิจารณาคดีที่ค้างอยู่
จำเลยถูกฟ้องคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยได้ประพันธ์ พิมพ์ และนำออกโฆษณา ทำให้แพร่หลายไปถึงประชาชนซึ่งเอกสารสิ่งพิมพ์ กล่าวถึงการกระทำของผู้ทำการแทนในตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าเป็นผู้จัดให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีและตัวผู้ทำการแทนฯ เองก็มีพฤติการณ์ให้การพิพากษาคดีดังกล่าวเป็นไปโดยรวบรัดไม่ชอบด้วยหลักยุติธรรมและกล่าวถึงการกระทำของศาลอาญาศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นว่า "พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย หลักความยุติธรรม ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจะวิ่งไปขอความยุติธรรมต่อศาลให้สิ้นเปลืองเงินทองเพื่อประโยชน์อันใด..." ดังนี้ เป็นข้อความที่เรียกได้ว่าจำเลยกล่าวในทำนองตำหนิศาลอาญา ศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะที่ทำการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ไม่เป็นที่พึ่งของประชาชน นับว่าเป็นการกระทำที่แสดงต่อศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีจึงเป็นถ้อยคำดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 แล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 136 อีก (อ้างฎีกาที่ 1456/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับฟังพยานหลักฐานใหม่ และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ในวันชี้สองสถานโจทก์แถลงขอสืบพยานในประเด็นว่าจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้จดข้อแถลงของโจทก์ไว้ในรายงานพิจารณา จึงขอให้ศาลชั้นต้นบันทึกไว้เป็นประเด็นและขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบพยานในข้อนี้ได้ โดยถือว่าเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีการผิดมาตรา 27 เป็นเรื่องกล่าวอ้างขึ้นใหม่นั้น เห็นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธว่าไม่มีเรื่องผิดระเบียบและปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์สืบพยานในประเด็นที่ไม่ได้กำหนดกันไว้ในวันนัดชี้สองสถาน จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องนี้ก่อนพิพากษาคดีเป็นเวลา 5 วัน โจทก์มีเวลาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์และกรณีไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(2) ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธคำขอสืบพยานเพิ่มเติมและการต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ในวันชี้สองสถานโจทก์แถลงขอสืบพยานในประเด็นว่าจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้จดข้อแถลงของโจทก์ไว้ในรายงานพิจารณา จึงขอให้ศาลชั้นต้นบันทึกไว้เป็นประเด็นและขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบพยานในข้อนี้ได้ โดยถือว่าเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีการผิดมาตรา 27 เป็นเรื่องกล่าวอ้างขึ้นใหม่นั้น เห็นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธว่าไม่มีเรื่องผิดระเบียบและปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์สืบพยานในประเด็นที่ไม่ได้กำหนดกันไว้ในวันนัดชี้สองสถาน จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228(2) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องนี้ก่อนพิพากษาคดีเป็นเวลา 5 วัน โจทก์มีเวลาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์และกรณีไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(2) ด้วย
of 46