พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมสิ้นผลจากมิได้ใช้สิบปี แม้ที่ดินว่างเปล่าก็เพียงพอแสดงเจตนาไม่ใช้สิทธิ
เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 15267 ซึ่งมีสิทธิภารจำยอมเกี่ยวกับทางเดินบางส่วนในที่ดินโฉนดเลขที่ 225609 และ 15269 ถูกปล่อยให้เป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีการหาผลประโยชน์ใด ๆ บนที่ดิน ความจำเป็นที่จะต้องเดินผ่านทางภารจำยอมพิพาทไปสู่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15267 จึงไม่มีตามไปด้วย เมื่อทางภารจำยอมไม่เคยใช้มาเกิน 10 ปี แล้วภารจำยอมจึงสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกคำขอของโจทก์ที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภารจำยอม เป็นการแก้ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้แล้วว่าภารจำยอมได้สิ้นผลไปแล้ว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ดังกล่าวจึงชอบแล้ว เพราะการวินิจฉัยดังกล่าวย่อมมีผลว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภารจำยอมที่กล่าวหาได้ศาลอุทธรณ์จึงต้องยกคำขอในส่วนนี้
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกคำขอของโจทก์ที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภารจำยอม เป็นการแก้ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้แล้วว่าภารจำยอมได้สิ้นผลไปแล้ว ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ดังกล่าวจึงชอบแล้ว เพราะการวินิจฉัยดังกล่าวย่อมมีผลว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภารจำยอมที่กล่าวหาได้ศาลอุทธรณ์จึงต้องยกคำขอในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8606/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการส่งมอบการครอบครองที่ดิน กรณีสัญญาซื้อขายและการทำกินต่างดอกเบี้ย
โจทก์ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาตั้งแต่เวลาทำสัญญาซื้อขายในลักษณะเป็นเจ้าของโดยจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าให้โจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย เท่ากับอ้างว่าสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังคงอยู่กับจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยเรื่องสิทธิครอบครองว่าเป็นของผู้ใด แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้เป็นว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าให้โจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทต่างดอกเบี้ย เท่ากับอ้างว่าสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังคงอยู่กับจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยเรื่องสิทธิครอบครองว่าเป็นของผู้ใด แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้เป็นว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ต้องอยู่ในอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้ถูกต้องได้
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ต้องระวางโทษประหารชีวิตจำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา288จำคุก10ปีลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา78คงจำคุก6ปี4เดือนจึงเป็นการลงโทษที่ผิดพลาดต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขโดยกำหนดโทษจำเลยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ และการลงลายมือชื่อในคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งพิพากษายกฟ้องโจทก์ ประกอบกับคดียังสามารถฎีกาต่อไปได้ คดีจึงยังไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ถือได้ว่าคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ตามมาตรา 42 วรรคแรก
ผู้ร้องไม่ได้เรียงคำร้องเอง แต่ก็ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเอง แสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องซึ่งผู้อื่นเรียบเรียงว่าเป็นของตนโดยชอบ การลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้เรียงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะในชั้นนี้เป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น ทั้งผู้ร้องเป็นผู้แก้อุทธรณ์ หาใช่โจทก์ไม่
ผู้ร้องไม่ได้เรียงคำร้องเอง แต่ก็ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเอง แสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องซึ่งผู้อื่นเรียบเรียงว่าเป็นของตนโดยชอบ การลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้เรียงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะในชั้นนี้เป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น ทั้งผู้ร้องเป็นผู้แก้อุทธรณ์ หาใช่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดก รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาท อันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้น หาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อจากน.ส.3ก. กรณีสิทธิร่วม และการยกคำขอเนื่องจากฎีกาต้องห้าม
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนด้วยการอ้างน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์รักษาโรค โดยหลอกลวงเรียกเก็บเงิน
จำเลยทั้งสองทำน้ำมันมนต์ให้แก่ประชาชนโดยอ้างว่ารักษาโรคได้และเก็บเงินจากประชาชนที่มารับน้ำมนต์ไปคนละ 12 บาท เป็นค่าครู ซึ่งจำเลยทั้งสองก็รู้ว่าน้ำมนต์นั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่จำเลยทั้งสองกลับอวดอ้างว่าเด็กชาย ว. บุตรของจำเลยทั้งสองเป็นอาจารย์น้อย เป็นคนมีบุญเทพให้มาเกิดทำนองว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าน้ำมนต์นั้นศักดิ์สิทธิรักษาโรคได้อันเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
เมื่อศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุว่าเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ศาลฎีกาจึงระบุเสียให้ถูกต้อง.
เมื่อศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุว่าเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ศาลฎีกาจึงระบุเสียให้ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนด้วยการอ้างน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์รักษาโรค และเรียกเก็บค่าครู
จำเลยทั้งสองทำน้ำมันมนต์ให้แก่ประชาชนโดยอ้างว่ารักษาโรคได้และเก็บเงินจากประชาชนที่มารับน้ำมนต์ไปคนละ 12 บาทเป็นค่าครู ซึ่งจำเลยทั้งสองก็รู้ว่าน้ำมนต์นั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่จำเลยทั้งสองกลับอวดอ้างว่าเด็กชาย ว. บุตรของจำเลยทั้งสองเป็นอาจารย์น้อย เป็นคนมีบุญ เทพให้มาเกิดทำนองว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าน้ำมนต์นั้นศักดิ์สิทธิรักษาโรคได้อันเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
เมื่อศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุว่าเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ศาลฎีกาจึงระบุเสียให้ถูกต้อง.
เมื่อศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุว่าเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ศาลฎีกาจึงระบุเสียให้ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ยิงผู้อื่นเสียชีวิตและทำร้ายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140, 288, 289, 80, 90, 91 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้ปืนยิง อ. และ พ. ซึ่งนั่งอยู่ด้วยกันก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ส่วน พ. ได้รับอันตรายสาหัสครั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้เห็นเหตุการณ์เข้าจับกุมจำเลยตามหน้าที่ จำเลยได้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นเพื่อขัดขวางการจับกุม จนเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน กล่าวคือที่ยิง อ. และ พ. นั้นเป็นกรรมหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, และ 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และที่ยิงต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจนั้นเป็นอีกกรรมหนึ่ง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138, 140 และ 289ประกอบด้วยมาตรา 80 เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ เฉพาะบทหนักอันเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เสียได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกประเด็นข้อนี้ขึ้น ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดหลายกรรมต่างกัน: การยิงผู้อื่นและขัดขวางการจับกุม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140,288,289,80,90,91 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ใช้ปืนยิง อ.และพ. ซึ่งนั่งอยู่ด้วยกันก่อน อ.ถึงแก่ความตายส่วนพ. ได้รับอันตรายสาหัสครั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้เห็นเหตุการณ์เข้าจับกุมจำเลยตามหน้าที่ จำเลยได้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นเพื่อขัดขวางการจับกุม จนเจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นได้รับอันตรายแก่กายการกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน กล่าวคือที่ยิง อ.และพ. นั้นเป็นกรรมหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, และ 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และที่ยิงต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจนั้นเป็นอีกกรรมหนึ่ง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138,140 และ 289ประกอบด้วยมาตรา 80 เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ เฉพาะบทหนักอันเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เสียได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดยกประเด็นข้อนี้ขึ้น ฎีกาด้วย