คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 861

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยอาคารโรงงาน: ความเสียหายจากน้ำฝนภายในเกิดจากการป้องกันน้ำภายนอก มิใช่ความรับผิดของประกัน
จำเลยรับประกันภัยอาคารโรงงานและทรัพย์สินต่าง ๆ ในโรงงานของโจทก์ต่อมาภายในกำหนดเวลาประกันภัย ฝนตกหนัก น้ำฝนที่ไหลจากหลังคาโรงงานลงมาในบริเวณโรงงานไม่สามารถระบายออกไปสู่นอกโรงงานได้ เพราะโจทก์ก่อกำแพงและเอากระสอบทรายปิดกั้นท่อระบายน้ำไว้เพื่อป้องกันมิให้น้ำภายนอกโรงงานไหลเข้ามา เนื่องจากขณะนั้นเกิดเหตุน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้น้ำฝนดังกล่าวท่วมขังอาคารโรงงาน ทำให้ทรัพย์สินโจทก์เสียหายความเสียหายดังกล่าวหาใช่เกิดจากน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปในสิ่งปลูกสร้างจากการชำรุดของหลังคา ประตู หน้าต่าง ช่องลม ท่อน้ำหรือรางน้ำ และหาใช่ความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากอุบัติเหตุจากการล้นออกมาของน้ำจากท่อน้ำ อันจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การโอนสิทธิเรียกร้องต้องผูกพันตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
จำเลยทำสัญญารับประกันภัยกับ ท.โดยระบุให้ธนาคาร ก.จำกัดเป็นผู้รับประโยชน์ และตามกรมธรรม์ระบุว่า "ความเห็นแตกต่างกันที่เกิดขึ้นจากกรมธรรม์ดังกล่าวให้เสนอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด"การทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาประกันภัย เมื่อธนาคาร ก.จำกัดผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยมีความเห็นต่างกันในเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ต้องเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเสียก่อน โจทก์จะนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนไม่ได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การตกลงรับประกันภัยมีผลผูกพันตั้งแต่ตกลง แม้จะยังมิได้ออกกรมธรรม์
จำเลยเป็นนิติบุคคลอ้างตัวเองเป็นพยาน โดยไม่ระบุชัดเจนว่าผู้ใดจะมาเบิกความแทนจำเลย เมื่อจำเลยนำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยของจำเลยเข้าเบิกความไปแล้ว จำเลยจะย้อนไปนำส. กรรมการคนหนึ่งของจำเลยเข้าเบิกความอีกโดยไม่แสดงเหตุผลและความจำเป็น ที่จำเลยต้องนำ ส. เข้าเบิกความหลังพยานอื่นหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพื่อนำ ส.เข้าเบิกความ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว จำเลยขอเลื่อนคดีเพื่อจะนำ ว. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยเข้าเบิกความแต่จากการที่ศาลสอบโจทก์ปรากฏว่าโจทก์เคยร้องเรียนไปยังสำนักงานประกันภัยให้สั่งจำเลยใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแก่โจทก์ แต่สำนักงานประกันภัยแจ้งว่าสินค้าสูญหายก่อนที่จะออกกรมธรรม์ประกันภัย ไม่อาจสั่งให้จำเลยจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดสืบ ว. พยานจำเลยจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้วเช่นเดียวกัน การที่ศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปหรือเห็นว่าเพียงพอแล้วจะให้งดเสียหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งได้ตามควรแก่กรณีแห่งเรื่อง เพื่อให้คดี ดำเนิน ไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม โจทก์กับจำเลยเคยติดต่อทำสัญญาประกันภัยกันหลายครั้งโดยผ่านส.ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยโดยส. จะไปรับสำเนาหนังสือเลตเตอร์ออฟเครดิตจากโจทก์เพื่อกรอกข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับการประกันภัยสินค้ารายพิพาทโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา โดยในวันที่ 22 สิงหาคม 2528 โจทก์แจ้งให้ ส.ไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อทำประกันภัยสินค้ารายพิพาทเมื่อ ส. ได้รับมาแล้วได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบว่ามีประกันภัยทางทะเลของโจทก์ 3 ราย พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดให้ทราบด้วย เจ้าหน้าที่ของจำเลยจะส่งคนไปรับสำเนาเลตเตอร์ออฟเครดิตแต่ในวันนั้นไม่มีผู้ใดไปรับจนกระทั่งวันที่ 26 สิงหาคม 2528เจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไปรับและนำกรมธรรม์ประกันภัยรายพิพาทมามอบให้ ส.ส. มอบให้โจทก์ในวันที่ 28 สิงหาคม 2528แต่ปรากฏว่าเรือบรรทุกสินค้าได้อัปปาง ลงเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2528 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2528 โดยฝ่าย ส. ตัวแทนของจำเลย แม้จำเลยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยในภายหลัง ความรับผิดของจำเลยย่อมเริ่มตั้งแต่เมื่อได้เริ่มตกลงรับประกันภัยไว้เป็นต้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนประกันภัย, การต่ออายุสัญญา, ตัวการต้องรับผิด, ตัวแทนไม่ต้องรับผิด
โจทก์ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากจำเลยที่ 2 มีที่ดินและบ้านจำนองเป็นประกันระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้โจทก์เอาประกันบ้านดังกล่าวโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประโยชน์ในการประกันภัยผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 และพนักงานเป็นผู้เตรียมแบบพิมพ์เอกสารทำสัญญาประกันภัยกับชำระเบี้ยประกันภัยที่สำนักงานสาขาจำเลยที่ 2แทนจำเลยที่ 1 เมื่อออกกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้สาขาจำเลยที่ 2สาขาจำเลยที่ 2 จะส่งเฉพาะใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยสาขาจำเลยที่ 2 เป็นผู้เก็บไว้เองเมื่อกรมธรรม์ประกันภัยจะหมดอายุ สาขาจำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้แจ้งเตือนให้โจทก์ต่ออายุสัญญาประกันภัย พฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้เช็คหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการรับประกันภัยบ้านโจทก์ที่จำนองไว้เป็นประกันกับจำเลยที่ 2 แม้ตัวแทนจำเลยที่ 1 จะรับเบี้ยประกันภัยเพื่อต่ออายุสัญญาประกันภัย เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยขาดอายุแล้วก็ตามแต่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้โจทก์ผัดชำระเบี้ยประกันภัยได้และในกรณีเช่นนี้ตามปกติแล้วเมื่อตัวแทนจำเลยที่ 1 ติดต่อไปยังจำเลยที่ 1 ทางจำเลยที่ 1 ก็ต่ออายุสัญญาให้ ถือว่าคู่สัญญามีเจตนาต่ออายุสัญญาประกันภัยให้มีผลผูกพันต่อไปอีก 1 ปี ตามเงื่อนไขเดิม กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งสัญญาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน มีระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2 การที่ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองกับจำเลยที่ 1ย่อมมีผลให้จำเลยที่ 2 ได้หลักประกันที่มั่นคงยิ่งขึ้น ถือไม่ได้ว่าผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2หรือนอกเหนือขอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 มอบให้ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 กระทำแทน ในการเอาประกันภัยจำเลยที่ 2 ได้มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 2 ได้เอาประกันภัยบ้านของโจทก์ที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2โดยมีผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้ตั้งแต่ให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัย รับเบี้ยประกันภัยจากโจทก์ไปชำระให้จำเลยที่ 1 รับกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยจากจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ ลักษณะการกระทำของผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์ในการติดต่อทำนิติกรรมประกันภัยกับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนแม้จะประมาทเลินเล่อไม่ส่งเบี้ยประกันภัยในเวลาอันสมควรให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ในฐานะตัวการยอมไม่ได้รับความเสียหายเพราะความเสียหายได้หมดไปโดยโจทก์ย่อมบังคับเอาจากจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงสละสิทธิเรียกร้องหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า ผู้เอาประกันภัยจะไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นหมายถึงกรณีบุคคลอื่นเรียกร้องผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจผูกพันบริษัทที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกโดยบริษัทไม่ยินยอมหาใช่เป็นเงื่อนไขที่ห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยไม่ และการที่คนขับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน ก็มิใช่ยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามกรมธรรม์ดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยจึงไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย: การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายต้องไม่ผูกมัดบริษัทผู้รับประกันภัย
เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า "ผู้เอาประกันจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่า จะชดใช้ว่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น" มีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจจะส่งผลผูกพันบริษัทผู้รับประกันภัยในการที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยบริษัทผู้รับประกันภัยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยหรือเป็นเงื่อนไขที่มีความหมายในการป้องกันหรือห้ามมิให้ผู้เอาประกันสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ย ของบริษัทผู้รับประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่อยู่ในการครอบครองและดูแลรักษา: ผู้มีหน้าที่ดูแลมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2โดยขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3ชนสัญญาณไฟจราจรในขณะอยู่ในความครอบครองของโจทก์จนได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของสัญญาณไฟจราจรดังกล่าวแต่โจทก์มีหน้าที่จัดหา ติดตั้ง ครอบครองและบำรุงรักษาให้สัญญาณไฟจราจรที่ได้รับความเสียหายนั้นมีสภาพดีเช่นเดิม โจทก์จึงเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต่างจากฟ้องทำให้ศาลไม่รับฟังพยานหลักฐาน แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายที่เกิดแก่บริษัท อ. เนื่องจากการทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงาน จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาเงินของบริษัท อ. ระหว่างปี 2525-2527จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ. ไปจำนวน 424,783.22 บาท โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. แล้วจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องแต่ทางพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันความเสียหายอันเกิดจากการทำงานของพนักงานบริษัท อ.และบริษัทฟ. จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของบริษัท ฟ. เป็นการนำสืบต่างกับฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ.ตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต้องตรงกับฟ้อง แม้โจทก์จะรับช่วงสิทธิจากผู้เสียหาย แต่การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคำฟ้องเป็นเหตุให้รับฟังพยานหลักฐานไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายที่เกิดแก่บริษัท อ. เนื่องจากการทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงาน จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาเงินของบริษัท อ. ระหว่างปี 2525 - 2527 จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ. ไปจำนวน 424,783.22 บาท โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. แล้วจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องแต่ทางพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันความเสียหายอันเกิดจากการ ทำงานของพนักงานบริษัท อ. และบริษัท ฟ. จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของบริษัท ฟ. เป็นการนำสืบต่างกับฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของบริษัท อ.ตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดเจ็บป่วยก่อนทำประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ จำเลยมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
ช. ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังอยู่ในขณะที่ทำคำขอเอาประกันชีวิตแต่ ช. กลับระบุในคำขอดังกล่าวว่าตนสุขภาพสมบูรณ์ดี ในระหว่างสองปีที่แล้วมาไม่เคยเข้าสถานพยาบาลทำการรักษาตัวความจริงเกี่ยวกับสุขภาพของ ช. ดังกล่าวเป็นข้อสำคัญสำหรับประกอบการวินิจฉัยของจำเลยผู้รับประกันภัยว่าจะรับประกันชีวิตหรือไม่ เมื่อ ช. ปกปิดข้อความจริงดังกล่าว สัญญาประกันชีวิตช. จึงเป็นโมฆียะ และข้อความจริงดังกล่าวมิใช่เรื่องที่ตัวแทนของจำเลยจะรู้ได้เอง จึงถือไม่ได้ว่าตัวแทนของจำเลยรู้หรือจำเลยควรจะรู้หากใช้ความระมัดระวัง จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าวต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 แล้ว สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะ.
of 56