พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ครอบครองรถยนต์และบริษัทประกันภัยต่อความเสียหายจากละเมิดของลูกจ้างผู้ขับขี่
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ คันเกิดเหตุได้ ให้จำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นลูกจ้างขับรถคันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 3 จะนำรถไปประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 ซึ่ง มีใบอนุญาตประกอบการขนส่งก็ตาม ยังถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ใช้ ให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถคันเกิดเหตุไปบรรทุกหินซึ่ง เป็นกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ในระหว่างทางแม้จำเลยที่ 1 จะรับจ้างบุคคลอื่นนำคนป่วยไปส่งโรงพยาบาลตามลำพังโดย ไม่ได้ขออนุญาตจำเลยที่ 3 เสียก่อนก็ตามแต่ เมื่อการรับจ้างนั้นอยู่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้ กระทำไป จำเลยที่ 3 ได้ เช่าซื้อ รถคันพิพาทจากบริษัท ช. แต่ ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในรถจึงยังเป็นของบริษัท ช. เมื่อบริษัท ช. ประกันภัยรถคันพิพาทไว้กับจำเลยที่ 4 ตกลงกันว่าจำเลยที่ 4 จะถือ บุคคลใด ซึ่ง ขับขี่รถยนต์ โดย ได้รับความยินยอมจากบริษัท ช. ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองซึ่ง หมายความว่า นอกจากรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำละเมิดต่อ ผู้อื่นแล้ว จำเลยที่ 4 ยังยอมรับผิดในกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้ทำละเมิดโดย ผู้นั้นได้ ขับขี่รถคันที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้โดย ความยินยอมของผู้เอาประกันภัยจำเลยที่ 4 จึงต้อง ร่วมรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยต่อการกระทำของลูกจ้างและผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอม
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุได้ให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถคันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 3 จะนำรถไปประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีใบอนุญาตประกอบการขนส่งก็ตามยังถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถคันเกิดเหตุไปบรรทุกหินซึ่งเป็นกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ในระหว่างทาง แม้จำเลยที่ 1 จะรับจ้างบุคคลอื่นนำคนป่วยไปส่งโรงพยาบาลตามลำพังโดยไม่ได้ขออนุญาตจำเลยที่ 3 เสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อการรับจ้างนั้นอยู่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไป จำเลยที่ 3 ได้เช่าซื้อรถคันพิพาทจากบริษัท ช. แต่ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในรถจึงยังเป็นของบริษัท ช. เมื่อบริษัท ช. ประกันภัยรถคันพิพาทไว้กับจำเลยที่ 4 ตกลงกันว่าจำเลยที่ 4 จะถือบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากบริษัทช. ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่านอกจากรับผิดในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำละเมิดต่อผู้อื่นแล้ว จำเลยที่ 4 ยังยอมรับผิดในกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้ทำละเมิดโดยผู้นั้นได้ขับขี่รถคันที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน: การยกเว้นความรับผิดเมื่อใช้รถรับจ้าง
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 3 ตามกรมธรรม์ประกันภัย มีข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในกรณีการใช้รถยนต์คันดังกล่าว คือ ห้ามรับจ้างหรือให้เช่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ใช้รถยนต์คันดังกล่าวไปรับจ้างบรรทุกของโดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ แล้วจำเลยที่ 1 ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัย เช่นนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อโจทก์ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าว ข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยมีผลใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย และมีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกัน หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอา บทบัญญัติ พระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วยซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อน เท่านั้นและต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรงสัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตยังไม่เกิดผล หากผู้รับประกันยังไม่ได้สนองรับคำเสนอและออกกรมธรรม์
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจ เป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันโดยตรง หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส.นายจ้างเดิมของพ.ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียว แม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง บริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา แม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ.เท่านั้น ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส. นายจ้างเดิมของ พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอัน เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียวแม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิด ขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างบริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ. เท่านั้นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4631/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาทและการรับประกันภัย การคิดดอกเบี้ยจากค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลยที่ 3มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้นจำเลยที่ 3 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป.
โจทก์ผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าว จึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป.