คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 861

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องชัดเจนถึงการสละสิทธิเรียกร้องทั้งหมด มิฉะนั้นไม่ถือเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย
รถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับห้างฯ จำเลยที่ 2 เฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์เป็นเหตุให้มีคนตายถึง 3 คน ภายหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ทำหนังสือตกลงเรื่องค่าปลงศพของผู้ตายให้ไว้แก่ทายาทของผู้ตายทั้งสาม ส่วนค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ตกลงกันไม่ได้จึงนัดตกลงกันอีกครั้งหนึ่ง โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละสิทธิเรียกร้องอื่น แสดงว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนาตกลงเฉพาะเรื่องค่าปลงศพเท่านั้น หาได้รวมถึงค่าเสียหายอื่นไม่ ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7032/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง, การคิดดอกเบี้ย, อายุความค่าเบี้ยประกันภัย
ตามหนังสือให้ความยินยอมในการทำสัญญาประกันภัยของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารโจทก์ดำเนินการทำสัญญาประกันภัยหลักทรัพย์ที่เป็นประกันหนี้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งในการทำสัญญาหรือต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 1 ตกลงเป็นผู้ชำระค่าเบี้ยประกันภัยโดยให้โจทก์เป็นผู้ชำระแทน แล้วหักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 หรือเรียกเก็บจากจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ออกทดรองไปก่อน จึงเป็นการที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปชดใช้จากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 จำนวน 400,000 บาท และสัญญาจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่า จำเลยที่ 2 ตกลงจำนองที่ดินเป็นประกัน400,000 บาท จำเลยที่ 2 จึงมีความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองในต้นเงิน 400,000 บาท การที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในต้นเงิน 441,718.25 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดมากกว่าที่จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันยังคงอยู่ แม้จะมีการเรียกร้องค่าสินไหมจากประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อจะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของบริษัทผู้รับประกันภัยในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยระบุผู้รับประโยชน์: สิทธิยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อบรรษัท ง. เป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งผู้รับประโยชน์หาต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 ไม่ กรณีเช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ซึ่งบรรษัท ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนหากเกิดวินาศภัยต่อเมื่อได้แสดงเจตนาว่า จะขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์แล้ว ตามมาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์จะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทันที เมื่อบรรษัท ง. มิได้แสดงเจตนาเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของบรรษัท ง. ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยผู้เอาประกันภัยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมเป็นผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ จึงเป็นการได้รับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตามมาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยทำกับผู้เอาประกันภัยระบุว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย จำเลยเป็นผู้เอา ประกันภัย โดยมี ง. บุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์เป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ต่อเมื่อ ง. ได้แสดงเจตนาขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์ ตามป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์แล้วจะทำให้ ง. มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทันที
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่า ง. ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย ก่อนที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลย ดังนั้น ง. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ย่อมเป็น ผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์จึงเป็นการรับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการแจ้งความคดีรถหาย ทำให้ประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขกรมธรรม์
การที่ ฉ. เอารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปในครั้งเกิดเหตุแล้วไม่นำมาคืนภายในเวลาที่เคยยืมไปใช้ จำเลยที่ 1 ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของ ฉ. อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งความดำเนินคดีแก่ ฉ. โดยไม่ชักช้า แต่จำเลยที่ 1 กลับเพิ่งแจ้งความหลังจากที่ ฉ. เอารถยนต์ไปใช้แล้วนานถึง 6 เดือน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า จำเลยที่ 3 จึงอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นและการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประกันภัย
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535คงมีเพียงมาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ผู้รับประกันภัยและจำเลยผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้อีก
ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 16 ที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์นั้น ไม่เป็นการแตกต่างขัดกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ส. ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในฐานผิดสัญญาประกันภัยมิใช่เป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 31จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 31 อีก โจทก์ซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 40,000 บาทให้แก่ บ. ไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยซ้อน: หน้าที่แจ้งการเอาประกันภัยเพิ่ม และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยอาจทำสัญญาประกันภัยเป็นหลายรายในวัตถุเดียวกันได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งฝ่ายผู้รับประกันภัยจัดทำขึ้นเพราะเหตุที่ได้มีสัญญาประกันภัยต่อกัน
ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเงื่อนไขการรับประกันภัยว่า "ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการประกันภัยซึ่งได้มีไว้แล้วหรือที่จะมีขึ้นภายหลังในทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้นี้กับบริษัทประกันภัยอื่น เว้นแต่ได้มีการแจ้งข้อความจริงดังกล่าวและผู้รับประกันภัยได้บันทึกซึ่งรายการประกันภัยนั้นไว้ในกรมธรรม์ฉบับนี้ก่อนการเกิดสูญเสียหรือการเสียหายนั้น มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะพ้นจากความรับผิดอันจะพึงมีขึ้นตามกรมธรรม์ฉบับนี้" จึงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่เอาประกันภัยทรัพย์สินไว้แก่ผู้รับประกันภัยไปเอาประกันภัยเพิ่มแก่บริษัทประกันภัยอื่น จะต้องแจ้งข้อความจริงนั้นให้ผู้รับประกันภัยทราบ และจะต้องให้ผู้รับประกันภัยบันทึกรายการประกันภัยเพิ่มนั้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย การไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้งสองประการย่อมมีผลทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการอนุมัติกรมธรรม์ประกันชีวิต ทำให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา แม้กรมธรรม์ออกหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต
ธุรกรรมของจำเลยในการเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปยื่นคำขอเปิดบัญชีฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบร่มไทร โดยการจ่ายจำนวนเงินสงเคราะห์ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ยื่นคำขอ ก็คือการรับประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889
เมื่อ อ. พนักงานของจำเลยได้รับคำขอและเงินฝากงวดแรกจาก ช. อ. ต้องส่งเรื่องไปให้ผู้อำนวยการภาคของจำเลยเพื่อพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่ภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้รับเงินฝากงวดแรกของ ช. คือภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าผู้อำนวยการภาคของจำเลยได้พิจารณาอนุมัติให้ออกกรมธรรม์ให้แก่ ช. ย่อมแสดงชัดว่าจำเลยยอมรับว่า ช. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้ ส่วนข้อกำหนดในคำขอเปิดบัญชีฝากเงินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัวแบบร่มไทรที่ว่า "ข้าพเจ้ายอมรับว่าธนาคารยังไม่มีข้อผูกพันใด ๆ กับข้าพเจ้าจนกว่าธนาคารจะได้ออกกรมธรรม์การฝากเงินให้แล้ว..." นั้น ย่อมมีความหมายมุ่งเฉพาะกรณีผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยกำหนดไว้เท่านั้น
จำเลยผูกพันตนในการที่จะต้องพิจารณาอนุมัติตามคำขอหรือไม่ภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันรับฝากเงินคือภายในวันที่ 3 พฤศจิกายนซึ่งขณะนั้น ช. ยังมีชีวิตอยู่ อีกทั้ง ช. ยังได้ส่งเงินฝากงวดที่ 2 ให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนก่อนวันครบกำหนดคือวันที่ 3 ถึงสองวันด้วยกัน จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ได้ เพราะกรมธรรม์ออกให้แก่ ช. ล่าช้าเกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานจำเลยเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นข้อกำหนดในเรื่องการออกกรมธรรม์ไม่อาจถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในเรื่องความเป็นผลแห่งสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดกรมธรรม์ประกันภัย: การเคลือบสีไม่ใช่การซ่อม และอู่ตามพจนานุกรม
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่ ช. ขับไปชนรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไว้กับจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยเนื่องจากรถยนต์คันที่โจทก์ที่ 1 เอาประกันภัยไว้และรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 เสียหาย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ"เมื่อโจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการนำไปให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดค.ทำการซ่อมแล้วให้ช. ซึ่งเป็นบุคคลของห้างดังกล่าวใช้อันจะเป็นเหตุต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้โดยบุคคลของอู่เมื่อรถยนต์ได้มอบให้อู่ซ่อม
of 56