พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกข้ออ้างในชั้นฎีกา: ประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ จำเลยที่ 2ก็ไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีรายละเอียดชัดเจน การตกลงชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นยังไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอม
หลังเกิดเหตุรถยนต์ชนกันโจทก์ที่2เจ้าของรถยนต์ฝ่ายหนึ่งได้เจรจากับ พ. คนขับรถยนต์คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายประมาท พ. ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดโดยการซ่อมรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีใช้การได้ดีเหมือนเดิมและยินดีชดใช้ค่าสินค้าที่บรรทุกมาซึ่งได้รับความเสียหายด้วยและทั้งสองฝ่ายตกลงกันอีกว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งอีกต่อไปเอกสารข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือที่ พ. ยอมรับสภาพต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระวิธีการชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีกจึงมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดกรณีมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างของพ. และจำเลยที่2ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่1หลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายหลังอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
หลังเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน โจทก์ที่ 2 เจ้าของรถยนต์ฝ่ายหนึ่งได้เจรจากับ พ. คนขับรถยนต์คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายประมาท พ.ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดโดยการซ่อมรถยนต์ให้อยู่ในสภาพดี ใช้การได้ดีเหมือนเดิมและยินดีชดใช้ค่าสินค้าที่บรรทุกมาซึ่งได้รับความเสียหายด้วย และทั้งสองฝ่ายตกลงกันอีกว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งอีกต่อไป เอกสารข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือที่ พ.ยอมรับสภาพต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระ วิธีการชำระอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก จึงมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด กรณีมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ พ. และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยคุ้มครองตลอด: การตีความขอบเขตความคุ้มครองและผลบังคับใช้
สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ในกรณีที่มีวินาศภัยดังที่ระบุไว้เกิดขึ้น และโจทก์ตกลงจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่าOPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้วสัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญา Open Cover คือสัญญาประกันภัยคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ แม้ชำระเบี้ยหลังสินค้าลงเรือ
สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ในกรณีที่มีวินาศภัยดังที่ระบุไว้เกิดขึ้น และโจทก์ตกลงจะจ่ายเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลย จึงเป็นสัญญาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 861
สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่า OPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยกันใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้ว สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ
สัญญาประกันภัยที่โจทก์กับจำเลยทำไว้ต่อกันมีชื่อเรียกว่า OPENCOVER เพื่อคุ้มครองการขนส่งทางทะเลสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งซื้อจากต่างประเทศโดยโจทก์มีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าที่สั่งซื้อทุกครั้งให้จำเลยทราบเพื่อให้จำเลยคำนวณเบี้ยประกันภัย ซึ่งโจทก์จะแจ้งจำเลยหลังจากสินค้าที่สั่งซื้อถูกขนลงเรือประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์ จำเลยรับชำระเบี้ยประกันภัยไว้ทุกครั้ง และออกใบรับรองตามสัญญาประกันภัยให้โดยมิได้มีการทำสัญญาประกันภัยกันใหม่ และจำเลยไม่คำนึงว่าขณะโจทก์ชำระเบี้ยประกันภัยสินค้าในเรือจะมีอยู่หรือเรือที่ขนส่งสินค้าจมทะเลไปแล้ว สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประกันภัยแบบคุ้มครองตลอดที่ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าของโจทก์ที่ขนส่งทางทะเลทุกเที่ยวโดยอัตโนมัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย: ผลของการลดระยะเวลาบอกล้างโดยจำเลย
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช.เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้
ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 191 (เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น
ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน2529 ฉะนั้น เมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2527จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว
ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 191 (เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น
ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน2529 ฉะนั้น เมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2527จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตหลังต่ออายุ และผลผูกพันตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้ ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 ฉะนั้นเมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นประกันภัย: เจตนาทุจริตฉ้อโกงไม่ใช่การลักทรัพย์
กรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอก และการที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส.และ พ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันไว้จาก บ. ซึ่ง บ.เช่าซื้อมาจากโจทก์และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ.บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจาก บ.แล้วคนร้ายไม่นำมาคืนนั้นเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนร้ายมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ.ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ.หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวข้างต้นไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหายจากฉ้อโกง แม้ใช้เอกสารปลอมเช่ารถ แต่เป็นการหลอกลวงตั้งแต่ต้น
กรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอก และการที่คนร้ายอ้างว่าชื่อส.และพ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันไว้จากบ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจาก บ.แล้วคนร้ายไม่นำมาคืนนั้นเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนร้ายมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ.ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์บ.หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวข้างต้นไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงเช่ารถยนต์และการรับประกันภัย: กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิด
การที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส.และพ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้จากบ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์โดยระบุโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบขออนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อบ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์ไปจากบ. แล้ว คนร้ายไม่นำมาคืนแสดงให้เห็นว่าคนร้าย มีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ. ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ. หลงเชื่อว่าเป็นความจริงจึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีประสงค์จะเช่ารถยนต์ การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ใช่ความผิดฐาน ลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์