คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 861

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 560 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยเมื่อมีการจำนองและโอนทรัพย์สิน สิทธิจะตกเป็นของผู้ใด
ที่ดินและตึกแถวเป็นของ ศ. ซึ่งได้จำนองแก่ธนาคารและได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยระบุให้ธนาคารเป็นผู้รับประโยชน์ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 231 สิทธิจำนองย่อมครอบไปถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้รับประกันภัย อันมีความหมายว่าค่าสินไหมทดแทนที่ธนาคารผู้รับจำนองจะพึงเรียกได้จากจำเลยผู้รับประกันภัยก็ตกอยู่ในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกับทรัพย์ที่จำนองดังนั้นหากเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวในระหว่างการจำนอง ธนาคารย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยแทนตึกแถวจากจำเลยได้โดยตรง จึงเป็นกรณีที่ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้จำนองรับช่วงทรัพย์อันได้แก่สิทธิเรียกร้องของ ศ. ลูกหนี้ที่เอาประกันภัยที่มีอยู่กับจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยตามมาตรา 226 วรรค 2 เมื่อตึกแถวมิได้ถูกเพลิงไหม้ในระหว่างการจำนองและ ศ. ได้จดทะเบียนไถ่จำนองโดยโจทก์เป็นผู้ชำระหนี้แก่ธนาคารแทน ศ.แล้วศ. ได้จดทะเบียนโอนขายให้โจทก์โดยปลอดการจำนอง จึงทำให้สิทธิจำนองระงับไปและธนาคารผู้รับจำนองหมดสิทธิที่จะได้รับช่วงทรัพย์อันได้แก่สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ ศ. มีอยู่ต่อจำเลยอีกต่อไปตามมาตรา 231 สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรมธรรม์ประกันภัยจึงกลับมาเป็นของ ศ. ผู้เอาประกันภัยตามเดิม ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ตึกแถวโจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ได้รับช่วงสิทธิด้วยอำนาจกฎหมายจากธนาคารผู้รับจำนองเพราะโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์และเอาเงินราคาค่าซื้อให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์สินเสร็จไปตามมาตรา 229(2) การที่ ศ. โอนตึกแถวให้โจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในสัญญาประกันภัยของ ศ. จะโอนมาเป็นของโจทก์ด้วยหรือไม่นั้นต้องบังคับตามมาตรา 875 วรรคสอง เมื่อ ศ. ผู้เอาประกันภัยไม่ได้บอกกล่าวการโอนให้จำเลยทราบเพราะไม่ทราบเงื่อนไขจนกระทั่งเกิดเพลิงไหม้ตึกแถว สิทธิในสัญญาประกันภัยจึงไม่โอนตามไปด้วยและตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ว่าสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมระงับสิ้นไปเมื่อทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยวิธีอื่นนอกจากทางพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อ, การประกันภัย, ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง แม้ตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อและดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เมื่อรถยนต์เสียหายโจทก์ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต่อจำเลยที่ 2 แม้จะตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัย แม้ระบุผู้รับประโยชน์อื่น และความยินยอมการซ่อม
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อและดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย เมื่อรถยนต์เสียหายโจทก์ยังคงต้องรับผิดใช้ค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบ โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต่อจำเลยที่ 2 แม้จะตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อรับผลประโยชน์ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาประกันภัยโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันภัย, การพิสูจน์สัญญา, และประเด็นการพิจารณาของศาลเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นศาลล่าง
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นชี้สองสถาน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา แต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อ ส.ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส.ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว
การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2510มาตรา 27 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องบังคับจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยแต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้วดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 (เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์-ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้วโจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้
ที่ ป.พ.พ.มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้น เป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้ จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว
เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่ เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้
กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์-ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกัน และกรมธรรมม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่
จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติหากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6 จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลย คำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตาม คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุอัคคีภัย การปฏิเสธความรับผิดของจำเลย และการพิสูจน์เหตุผล
ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ไว้ในชั้นสอบสวน ซึ่งจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลอุทธรณ์แล้ว เมื่อจำเลยได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงประเด็นดังกล่าวรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะในคดีอันถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะหากฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ จำเลยย่อมไม่ต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาแต่เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ แม้ตามทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะต้องยื่นคำขอประกันภัยตามแบบของบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทพิจารณาก่อน แต่กรณีดังกล่าวก็เป็นกรณีที่กระทำผ่านมาจากตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทรับประกันภัย ส่วนกรณีของโจทก์ตัวแทนของโจทก์ได้ทำคำเสนอต่อส. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยได้โดยตรง จึงไม่ได้มีแบบพิธีที่จะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาก่อน เมื่อ ส. ไปตรวจสอบสินค้าเครื่องจักรเป็นที่พอใจก็สนองรับคำเสนอของตัวแทนโจทก์ผู้อยู่เฉพาะหน้า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้ว การที่จำเลยได้ยื่นแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยสำหรับสต็อกสินค้าเครื่องจักรของโจทก์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรณีที่จำเลยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 มาตรา 27 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกันอัคคีภัยเมื่อบริษัททำสัญญาประกันอัคคีภัยรายใดให้บริษัทยื่นรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประกันอัคคีภัยรายนั้น ดังนี้ การกระทำของจำเลยแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทำสัญญารับประกันอัคคีภัยสำหรับสินค้าของโจทก์แล้ว กรมธรรมประกันภัยเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อมีลายมือชื่อผู้แทนของจำเลยผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญในตารางแห่งกรมธรรม์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์อ้างจึงเป็นพยานหลักฐานฟ้องยังคับจำเลยได้ โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งจำเลยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความตรงตามสัญญาประกันภัยและส่งมอบให้โจทก์ผู้เอาประกันภัย แต่กรมธรรม์ประกันภัยไม่ใช่เอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องแนบมาท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งที่โจทก์อ้างอิงตามที่ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องเท่านั้น ส่วนหลักฐานที่มีเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้บังคับได้หรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบอยู่แล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นโดยใช้ถ้อยคำว่าสัญญาประกันภัยท้ายฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่ย่อมหมายความเพียงว่า สัญญาประกันภัยตามฟ้องใช้บังคับได้หรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์นำสืบโดยส่งสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล และจำเลยนำสืบยอมรับว่าต้นฉบับของเอกสารดังกล่าวมีอยู่จริงและมีลายมือชื่อของผู้แทนจำเลยพร้อมประทับตราของบริษัทถูกต้อง จึงเท่ากับโจทก์นำสืบว่าสัญญาประกันภัยตามฟ้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 867 แล้ว โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอันดับที่ 9 ระบุแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยกรมธรรม์เลขที่ 86/338057 จากสำนักงานประกันภัยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานประกันภัยได้ส่งเอกสารต่าง ๆ เป็นชุดมารวม 12 ฉบับ มีสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์อันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นส่วนหนึ่งของแบบรายการเกี่ยวกับการรับประกันอัคคีภัยของจำเลยตามกรมธรรม์ดังกล่าวรวมอยู่ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ระบุอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88(เดิม) แล้ว เอกสารดังกล่าวจึงรับฟังได้ เมื่อจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยไว้ แม้ว่าขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยจากจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยนั้นก็มีอยู่ที่จำเลยก่อนโจทก์ฟ้องคดีแล้ว โจทก์ย่อมกล่าวอ้างถึงและใช้เอกสารดังกล่าวฟ้องบังคับคดีได้ ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 บัญญัติว่า บุคคลผู้ชำระหนี้ชอบที่จะได้รับใบเสร็จเป็นสำคัญจากผู้รับชำระหนี้นั้นเป็นกรณีที่ผู้รับชำระหนี้จะไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระหนี้จึงให้สิทธิผู้ชำระหนี้เรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จรับเงินได้ ซึ่งต่างกับกรณีที่จำเลยออกใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันไว้แล้ว แต่ยังไม่ส่งมอบให้โจทก์แม้ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลย ก็ฟังว่าโจทก์ชำระเบี้ยประกันแล้วได้ไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยกลับเพิกเฉย เพราะมีกรณีที่จำเลยอ้างเหตุโต้แย้งกับโจทก์ในปัญหาที่ว่ามีการทำสัญญาประกันภัยแล้วหรือไม่เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยยังอยู่ที่จำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยไม่ได้สนใจหรือติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารรายการละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่วินาศหรือเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะจำเลยจะไม่พิจารณาชดใช้ให้อยู่แล้ว โดยจำเลยถือว่าไม่มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย อีกทั้งจำเลยจะไปสำรวจความเสียหายหรือไม่ก็ได้ดังนั้น เมื่อจำเลยถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีสัญญาประกันภัยต่อกันและจำเลยไม่ติดใจให้โจทก์ส่งเอกสารดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อนี้อีกได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่า จำเลยจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีนี้จำเลยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์โดยหักเบี้ยประกันสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน เมื่อสัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและจำเลยได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยตามสำเนาภาพถ่ายตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัย โดยโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันให้แก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัย จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามกรมธรรม์นี้ เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหนังสือไปยังโจทก์ สัญญาประกันภัยจึงยังไม่เลิกกันและกรมธรรม์ประกันภัยยังมีสภาพบังคับอยู่ จำเลยให้การว่า สาเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ หากแต่เกิดขึ้นในสถานที่ที่โจทก์ครอบครอง และโจทก์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเหตุตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้เพียงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพราะโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 2 และ 6จริงหรือไม่เท่านั้น ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงประเด็นตามคำให้การจำเลยคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบในประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาท และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา อย่างไรก็ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นว่าที่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเหตุตามกฎหมายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบเองนั้นเป็นเหตุอะไรเพราะเหตุที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองตามกฎหมายนั้นต้องเป็นวินาศภัยที่เกิดเพราะความทุจริต หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือเพราะความไม่สมประกอบในเนื้อแห่งวัตถุที่เอาประกันภัยตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 879 เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นจำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบ และปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงตามประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดไว้ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ที่จำเลยฎีกาว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากการวางเพลิง โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยนั้น ปรากฏว่าข้อนี้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัยกรณีระเบิดจากเครื่องจักร: ประกันภัยไม่คุ้มครอง
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยจะต้องรับผิดในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยในกรณีที่ทรัพย์สินต้องสูญเสียหรือเสียหายเนื่องจากเพลิงไหม้ (ไม่ว่าจะเกิดจากการระเบิดหรือไม่ก็ตาม) หรือ ฟ้าผ่าหรือการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่สำหรับกรณีวินาศภัยที่เกิดจากการระเบิดมีข้อยกเว้น เหตุแห่งการสูญเสียและการเสียหายซึ่งไม่รวมอยู่ในการประกันภัย คือ การระเบิดทุกชนิด (ไม่ว่าการระเบิดจะเกิดจากเพลิงไหม้หรือไม่ก็ตาม) เว้นแต่ส่วนที่ระบุในสัญญาว่าให้คุ้มครองเงื่อนไขที่เป็นที่ยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องรับผิดในเหตุแห่งการสูญเสียและการเสียหายจากการระเบิดจึงมีความหมายถึงการระเบิดที่เกิดจากเพลิงไหม้ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเครื่องจักรตีแป้งที่เอาประกันภัยไว้กำลังทำงาน ชิ้นส่วนโลหะภายในเครื่องเกิดหลุดหรือหักออกทำให้ชิ้นส่วนโลหะดังกล่าวกระทบกันเกิดเป็นประกายไฟลุกติดกับผงละอองแป้งภายในเครื่องตีแป้งแล้วลุกเป็นไฟลามไปตามท่อจนถึงถังรองรับไซโคลน ทำให้มีการเผาไหม้ภายในถังรองรับไซโคลน เกิดแรงอัดสูงสุดจนระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้สินค้าแป้งข้าวจ้าวและเครื่องจักรที่โจทก์เอาประกันภัยไว้สูญเสียหรือเสียหาย ความสูญเสียหรือเสียหายจึงมีสาเหตุโดยตรงมาจากการระเบิดในถังรองรับไซโคลน การสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย เพราะได้รับการยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ผู้ขับไม่มีใบอนุญาต แต่จำเลยต้องรับผิดหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าอุบัติเหตุเกิดจากความประมาทของผู้ขับ
ตามสัญญาประกันภัย คู่สัญญาตกลงยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยว่าการประกันภัยจะไม่คุ้มครองการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุแต่การยกเว้นดังกล่าว จะไม่นำมาใช้กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่าในขณะเกิดอุบัติเหตุผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้จะไม่มีหรือไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อผู้รับประกันภัยไม่ได้ต่อสู้ว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้เอาประกันภัยแล้วผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์หลังเกิดอุบัติเหตุ และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนให้โจทก์หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์พิพาทในส่วนที่ยังค้างชำระให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่ารถยนต์พิพาทได้รับความเสียหายเพราะชนกับรถยนต์บุคคลอื่น ต่อมาได้เกิดไฟลุกไหม้ และในทางพิจารณาก็ได้ความว่ารถยนต์พิพาทชนกับรถยนต์อื่นจนเสียหายใช้การไม่ได้จริงเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี ซึ่งหากจำเลยทั้งสองต้องชำระราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยร่วม และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของรถยนต์พิพาทจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามที่จำเลยทั้งสองขอดังกล่าวแล้ว ศาลล่างทั้งสองย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยร่วมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้โจทก์ได้จะถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้แทนเรือและผู้ขนส่งร่วม กรณีสินค้าเสียหายระหว่างขนถ่าย
บริษัทผู้ขนส่งสินค้าเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทอ.โดยตรงให้เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเล จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขนสินค้าหรือร่วมขนสินค้าจากเรือเดินทะเลลงเรือเล็ก ลำพังแต่การดำเนินการทางเอกสาร หรือปฏิบัติพิธีการเกี่ยวกับการนำเรือเข้าเทียบท่าในราชอาณาจักร หรือแจ้งกำหนดเวลาเรือเข้าต่อกรมศุลกากร หรือแจ้งต่อเจ้าของสินค้า รวมถึงกำหนดวันขนถ่ายสินค้า ตลอดจนวิธีการที่แจ้งให้เจ้าของสินค้านำใบตราส่งไปแลกกับใบปล่อยสินค้าจากนายเรือตามทางปฏิบัติของการขนส่งทางทะเลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ขนส่งร่วมกับบริษัทผู้ขนส่งสินค้าและผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิจากเจ้าของสินค้าผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าเสียหายในกรณีที่สินค้าสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยอาคารโรงงาน: ความเสียหายจากน้ำฝนภายในเกิดจากการป้องกันน้ำภายนอก มิใช่ความรับผิดของประกัน
จำเลยรับประกันภัยอาคารโรงงานและทรัพย์สินต่าง ๆ ในโรงงานของโจทก์ต่อมาภายในกำหนดเวลาประกันภัย ฝนตกหนัก น้ำฝนที่ไหลจากหลังคาโรงงานลงมาในบริเวณโรงงานไม่สามารถระบายออกไปสู่นอกโรงงานได้ เพราะโจทก์ก่อกำแพงและเอากระสอบทรายปิดกั้นท่อระบายน้ำไว้เพื่อป้องกันมิให้น้ำภายนอกโรงงานไหลเข้ามา เนื่องจากขณะนั้นเกิดเหตุน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้น้ำฝนดังกล่าวท่วมขังอาคารโรงงาน ทำให้ทรัพย์สินโจทก์เสียหายความเสียหายดังกล่าวหาใช่เกิดจากน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปในสิ่งปลูกสร้างจากการชำรุดของหลังคา ประตู หน้าต่าง ช่องลม ท่อน้ำหรือรางน้ำ และหาใช่ความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากอุบัติเหตุจากการล้นออกมาของน้ำจากท่อน้ำ อันจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยไม่
of 56