พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการต่อสู้: อำนาจจับกุมนอกเวลากลางวัน, ความสำคัญผิด, การใช้กำลังสมควรแก่เหตุ
ในคดีที่ข้อเท็จจริงมีเพียงว่า มีผู้แจ้งความ (ในข้อหาชิงทรัพย์) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 14 สิงหาคม 2508 สายลับแจ้งว่าจำเลยกลับมานอนบ้านเจ้าพนักงานจึงไปจับจำเลย เข้าจับเวลา 5.40 นาฬิกา ไม่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตพิเศษจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือไม่อาจขอได้ทันเพราะเหตุใด เช่นนี้ คดีไม่พอจะฟังว่าเป็นการฉุกเฉินอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานจับจำเลยในที่รโหฐานในเวลากลางคืนจึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ หากจำเลยต่อสู้ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน (ป.วิ.อ.มาตรา 96(2))
จำเลยให้การว่า ได้ทำร้ายเจ้าพนักงานจริง แต่ต่อสู้ว่า สำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายและได้ต่อสู้เช่นนี้มาตั้งแต่ชั้นสอบสวน เมื่อพิเคราะห์การกระทำของเจ้าพนักงานที่ขึ้นไปจับจำเลยบนเรือนในเวลากลางคืนขณะจำเลยยังนอนอยู่และทันทีที่รู้ตัวจำเลยก็ลุกขึ้นสู้เช่นนี้ น่าเชื่อว่าจำเลยไม่ทันเข้าใจว่าเป็นเจ้าพนักงาน และการกระทำของจำเลยเท่าที่ได้กระทำไปนั้น (มีดฟัน 1 ที) ก็พอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด (ป.อาญา มาตรา 68)
จำเลยให้การว่า ได้ทำร้ายเจ้าพนักงานจริง แต่ต่อสู้ว่า สำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายและได้ต่อสู้เช่นนี้มาตั้งแต่ชั้นสอบสวน เมื่อพิเคราะห์การกระทำของเจ้าพนักงานที่ขึ้นไปจับจำเลยบนเรือนในเวลากลางคืนขณะจำเลยยังนอนอยู่และทันทีที่รู้ตัวจำเลยก็ลุกขึ้นสู้เช่นนี้ น่าเชื่อว่าจำเลยไม่ทันเข้าใจว่าเป็นเจ้าพนักงาน และการกระทำของจำเลยเท่าที่ได้กระทำไปนั้น (มีดฟัน 1 ที) ก็พอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด (ป.อาญา มาตรา 68)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลฎีกาพิจารณาความผิดตามมาตรา 27 ทวิ และอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้นเมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์มิได้อ้าง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้น เมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้นำจับตาม พ.ร.บ.การพนัน: การแจ้งเบาะแสที่ระบุตัวผู้กระทำผิดและสถานที่ ถือเป็นผู้นำจับได้
ในคดีที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นพยานโจทก์เบิกความว่า ผู้ประสงค์เงินสินบนนำจับมาแจ้งว่า ที่บ้านจำเลยลักลอบเล่นการพนันได้ระบุถึงผู้เล่นและเล่นอยู่ตรงไหนของตัวบ้าน เจ้าพนักงานตำรวจอีกผู้หนึ่งก็ได้สอบถามผู้มาแจ้งตามข้อเท็จจริง เช่นนี้ถือได้ว่าผู้ที่มาแจ้ง นั้นเป็นผู้นำจับตามความในพระราชบัญญัติการพนันแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายสินบนนำจับคดีการพนัน: ผู้แจ้งความที่ระบุรายละเอียดผู้เล่นและสถานที่ ถือเป็นผู้นำจับ
ในคดีที่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นพยานโจทก์เบิกความว่า ผู้ประสงค์เงินสินบนนำจับมาแจ้งว่าที่บ้านจำเลยลักลอบเล่นการพนัน ได้ระบุถึงผู้เล่นและเล่นอยู่ตรงไหนของตัวบ้าน เจ้าพนักงานตำรวจอีกผู้หนึ่งก็ได้สอบถามผู้มาแจ้ง ตามข้อเท็จจริงเช่นนี้ถือได้ว่าผู้ที่มาแจ้งนั้นเป็นผู้นำจับตามความในพระราชบัญญัติการพนันแล้ว