คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, ผลกระทบต่อการรับคำคู่ความ, สิทธิอุทธรณ์, การวินิจฉัยของศาลฎีกา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันมีคำสั่ง
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัวและขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งหลังศาลฎีกาพิพากษาให้พิจารณาใหม่ และการไม่ถือว่าเป็นการล่วงเลยการพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง คำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ จึงเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) เมื่อคู่ความยื่นคำร้องและศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามมาตรา 180คำสั่งนี้จึงมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18ซึ่งทำให้ประเด็นที่โจทก์ตั้งขึ้นโดยคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเสร็จไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามมาตรา 228(3) เพราะไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นงดสืบพยาน แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ทำการชี้สองสถานหรือทำการสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องและขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้กรณีไม่ใช่ล่วงเลยการชี้สองสถานและวันสืบพยานจนศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นการพิจารณาไปแล้ว เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกคำพิพากษาศาลฎีกายกเสียแล้ว การขอแก้ไขคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะขอแก้ไขได้แม้เป็นการเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงหรือสละข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อหาที่ตั้ง ไว้เดิม แต่ยังคงให้จำเลยรับผิดตามเดิม ส่วนการขอแก้ไขคำให้การ แก้ฟ้องแย้ง แม้จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ ย่อมกระทำได้ ตามมาตรา 179(2)(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำคู่ความและการพิจารณาคดีใหม่ตามคำสั่งศาลฎีกา การแก้ไขคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป
คำร้องขอแก้ไขฟ้อง คำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ จึงเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) เมื่อคู่ความยื่นคำร้องเข้ามาและศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 คำสั่งนี้จึงมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 ซึ่งทำให้ประเด็นที่โจทก์ตั้งขึ้นโดยคำร้องแก้ไขคำฟ้องและคำร้องแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งเสร็จไป โจทก์อุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามมาตรา 228 (3) คำสั่งของศาลที่สั่งยกคำร้องจึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ซึ่งโจทก์ได้ยื่นภายหลังจากที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้โดยศาลฎีกาไม่ได้กำหนดประเด็นและไม่ได้กำหนดหน้าที่นำสืบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ศาลชั้นต้นดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกา ก็ชอบที่จะปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้ทำการชี้สองสถานหรือทำการสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องและขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้ กรณีไม่ใช่ล่วงเลยการชี้สองสถานและวันสืบพยานจนศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นการพิจารณาไปแล้ว เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ถูกคำพิพากษาศาลฎีกายกเสียแล้ว
การขอแก้ไขคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะขอแก้ไขได้แม้เป็นการเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงหรือสละข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อหาที่ตั้งไว้เดิมบริบูรณ์ แต่ยังคงให้จำเลยรับผิดตามเดิม ส่วนการขอแก้ไขคำให้การแก้ฟ้องแย้งแม้จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ย่อมกระทำได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 (2)(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4876-4878/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เบิกความต่อสู้คดี ถือเป็นการกล่าวแก้กรรมสิทธิ์ได้หรือไม่
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ได้อ้างตนเองเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์นั้นเป็นเรื่องสิทธิของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การพึงกระทำได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 199วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันมีเจตนารมณ์เพื่อให้จำเลยมีโอกาสอ้างตนเองเป็นพยานเพื่อเสนอข้อเท็จจริงที่จะเป็นการหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์เพราะจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเกิดเมื่อถูกเลิกจ้าง และอายุความในการฟ้องเรียกร้อง
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างหามีสิทธิจะเรียกร้องไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ลูกจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้นับแต่วันถูกเลิกจ้าง โจทก์ถูกเลิกจ้าง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์ฟ้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พ.ศ.2526 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9)
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้องทำงานในปีต่อไปจนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า พนักงานที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงาน เมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใด ในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15 วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528).
ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคารแล้ว ให้สั่งลูกจ้างออกจากงานได้ จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้วจำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 วรรคสาม และข้อ 47(1) ถึง (6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใดประการหนึ่งทั้งสิ้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีก ส่วนความในตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เองที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลย อันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภทเดียวกับค่าชดเชยหรือไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์ได้รับไปแล้วเป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การ ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็นตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่ จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็นประเด็นในคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อถูกเลิกจ้าง และการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้ ถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างหามีสิทธิจะเรียกร้องไม่ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้ ก็ต่อเมื่อถูกเลิกจ้างแล้วกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือลูกจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้นับแต่วันถูกเลิกจ้างโจทก์ถูกเลิกจ้าง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 โจทก์ฟ้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้อง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี พ.ศ.2526 จึงไม่ขาด อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำงานครบตามที่ กำหนดในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยหาจำต้อง ทำงานในปีต่อไป จนครบ1 ปีไม่ ระเบียบการของจำเลย ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กำหนดว่า พนักงาน ที่มีเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปลาหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 15 วันทำงานเมื่อโจทก์ทำงานครบ 5 ปีในปีใดในปีต่อไปย่อมเกิดสิทธิ แก่โจทก์ที่จะหยุดพักผ่อนได้15วันทำงานได้ทันทีจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 22 กุมภาพันธ์2528 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ประจำปี 2528 ได้ 15 วัน(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2206/2528). ระเบียบการของธนาคารจำเลยมีว่า กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่การงานของตนได้โดยสม่ำเสมอแต่ไม่ ถึงทุพพลภาพ ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ออกจากธนาคาร แล้วให้สั่งลูกจ้าง ออกจากงานได้จำเลยจึงมีอำนาจ เลิกจ้างโจทก์ได้ตามระเบียบการนี้ แต่เมื่อเลิกจ้างแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ จะต้อง พิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งมีข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ46 วรรคสามและข้อ47(1) ถึง(6) การเจ็บป่วยไม่มีประสิทธิภาพไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นดังกล่าวประการใด ประการหนึ่งทั้งสิ้นจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ คำให้การของจำเลยตอนแรกมีความหมายเป็นนัยว่า เมื่อโจทก์ ออกจากงานได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนมากกว่าค่าชดเชย อยู่แล้ว เหตุใดจึงมาเรียกค่าชดเชยซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าอยู่อีกส่วนความใน ตอนหลังปฏิเสธที่จะไม่จ่าย ค่าชดเชยเพราะเกี่ยวด้วยด้านตัวโจทก์เอง ที่ฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ กำหนดไว้ส่วนข้อที่เงินบำเหน็จซึ่งจำเลยจ่ายให้โจทก์รับไปแล้วเป็นเงินประเภท เดียวกับ ค่าชดเชยหรือไม่โจทก์ฟ้องเรียกเงินประเภท เดียวซ้ำกันมาอีกหรือไม่ หามีในคำให้การไม่การที่ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเงินบำเหน็จที่ โจทก์ได้รับไปแล้ว เป็นเงินต่างประเภทกับค่าชดเชยจึง เป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็นตามคำให้การไม่เป็นเหตุที่ จำเลยจะอุทธรณ์นอกประเด็น ตามคำคู่ความได้ และไม่เป็นการ ผูกพันศาลฎีกาจะต้องรับวินิจฉัย ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ข้อที่ว่าโจทก์ได้ทวงถามแล้วหรือไม่จำเลยมิได้ ปฏิเสธให้เป็น ประเด็นในคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับแก้ไขคำให้การ และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด
หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม มาตรา 228 (3) ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับแก้ไขคำให้การ และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด
หลังจากศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องจำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจึงไม่รับ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 228(3) ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ดำเนินการต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามมาตรา 236 วรรคแรก โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การหลังขาดนัด: ศาลไม่ต้องสั่งไม่รับคำให้การหากไม่อนุญาตขยายเวลา
การขออนุญาตยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา197 วรรคแรกแล้ว จำเลยที่ 2 จึงขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้วการที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่ จำเลยที่2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณา เกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับ คำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็น ระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การหลังขาดนัด และขอบขยายเวลา ศาลไม่ต้องสั่งไม่รับคำให้การ หากไม่ขยายเวลา
การขออนุญาตยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคแรกแล้ว จำเลยที่ 2 จึงขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้
คำร้องของจำเลยที่ 2 บรรยายไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2525 และพ้นกำหนดที่จำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำให้การแก้คดีแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ จึงเท่ากับเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งกรณีนี้เมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะถึงขั้นพิจารณาเกี่ยวกับการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การ หากศาลสั่งไม่อนุญาตก็ไม่ต้อง พิจารณาถึงการสั่งรับหรือไม่รับคำให้การต่อไป ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้น ไม่ขยายระยะเวลายื่นคำให้การให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (5) เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาจึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความและเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
of 5